จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 17 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2460, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 25, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, วัตถุ-จารึกบนหินอ่อน, ลักษณะ-จารึกแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดป่าโมกข์ อ่างทอง, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระอุโบสถ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-ชะลอพระพุทธรูป, เรื่อง-การสร้างพระอุโบสถ, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงศรีอยุธยา, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงศรีอยุธยา-พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ, บุคคล-พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ, บุุคคล-พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, บุคคล-กรมพระสมมติอมรพันธุ์,

จารึกในพระวิหารพระนอนวัดป่าโมก

จารึก

จารึกในพระวิหารพระนอนวัดป่าโมก

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2566 11:22:25 )

ชื่อจารึก

จารึกในพระวิหารพระนอนวัดป่าโมก

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

อท.2, หลักที่ 282 จารึกบนหินอ่อน

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2460

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 63 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินอ่อนสีขาว

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 122 ซม. สูง 162 ซม. หนา 3 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) หอสมุดแห่งชาติกำหนดเป็น “อท.2”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 กำหนดเป็น “หลักที่ 282 จารึกบนหินอ่อน”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วิหารพระนอนวัดป่าโมกวรวิหาร ตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วิหารพระนอนวัดป่าโมกวรวิหาร ตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 220-230.

ประวัติ

จารึกหลักนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 ใน พ.ศ. 2521 โดยเรียกว่า “หลักที่ 282 จารึกบนหินอ่อน”

เนื้อหาโดยสังเขป

โคลงเรื่องการชะลอพระพุทธไสยาสน์จำนวน 69 บท ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเมื่อครั้งยังเป็นกรมพระราชวังบวร โดยตอนต้นกล่าวถึงประวัติการสร้างจารึกนี้ว่าถูกสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2460 โดยพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เนื่องจากเมื่อคราวตามเสด็จรัชกาลที่ 5 พร้อมกับพระเจ้าบรมวงษ์เธอกรมพระสมมติอมรพันธุ์ ทอดพระเนตรเห็นรอยกรอบข้างพระขนองพระพุทธไสยาศน์ แต่ไม่ปรากฏจารึก ต่อมาพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ได้พบหนังสือเก่าเป็นโคลงดังกล่าวจึงคัดสำเนาส่งให้หอสมุดวชิรญาณ พระเจ้าบรมวงษ์เธอทั้ง 2 ทรงวิเคราะห์แล้วพบว่าน่าจะเป็นโคลงบนจารึกที่หายไปนั่นเอง จึงได้สร้างจารึกขึ้นใหม่โดยใช้หินอ่อนซึ่ง นายคลูเซอร์ ชาวอิตาลีถวาย ทรงอุทิศส่วนพระราชกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และกรมพระสมมติอมรพันธุ์ อนึ่ง ต่อมามีการพบจารึกที่หายไป ประสาร บุญประคอง ระบุว่าจารึกหลักนี้มีข้อความผิดแปลกไปจากจารึกดังกล่าว ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระราชวังจันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้สร้าง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏในบรรทัดแรกของจารึกว่า “พระพุทธสาสนกาลล่วงแล้ว 2460 พรรษา” ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 6)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 282 จารึกบนหินอ่อน,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 220-230.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521)