อายุ-จารึก พ.ศ. 1517, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 16, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร-พระเจ้าชัยวรมันที่ 5, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนแท่งสี่เหลี่ยม, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายสิ่งของ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-กัลปนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-สถาปนาเทวรูป,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 21:27:37 )
ชื่อจารึก |
จารึกปราสาทเมืองแขก 3 |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
นม. 53, นม. 50 |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมโบราณ |
ศักราช |
พุทธศักราช 1517 |
ภาษา |
เขมร |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 17 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินทราย |
ลักษณะวัตถุ |
แท่งสี่เหลี่ยม |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 38 ซม. สูง 132 ซม. หนา 26 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นม. 50” |
ปีที่พบจารึก |
11 มกราคม 2535 |
สถานที่พบ |
ปราสาทเมืองแขก บ้านกกกอก ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา |
ผู้พบ |
นางสาวสิริพรรณ ธิรศริโชติ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (บันทึกข้อมูลวันที่ 29/11/2563) |
พิมพ์เผยแพร่ |
วารสาร ศิลปากร ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2537) : 99-112. |
ประวัติ |
ได้มีการขุดพบศิลาจารึกที่บริเวณโคปุระ กำแพงชั้นนอกปราสาทเมืองแขก ถึง 3 ชิ้นด้วยกัน รูปอักษรมีลักษณะอย่างเดียวกัน ยุคสมัยเดียวกัน ข้อความของจารึกก็สอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกัน ฉะนั้น จึงรวมจารึกทั้งสามหลักซึ่งพบในสถานที่เดียวกันนี้ เข้าเป็นชื่อเดียวกัน คือ จารึกปราสาทเมืองแขก และแยกเป็น 3 หลัก คือ จารึกปราสาทเมืองแขก 1, 2 และ 3 |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ข้อความเกือบทั้งหมดเป็นรายชื่อทาส ตอนท้ายมีรายการสิ่งของที่ถวาย |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
เนื้อหาจารึกต่อเนื่องกับจารึกปราสาทเมืองแขก 1 ซึ่งระบุศักราช คือ 896 ตรงกับ พุทธศักราช 1517 จึงจัดจารึกปราสาทเมืองแขก 3 นี้ ให้อยู่ในปีเดียวกัน |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก : |