จารึกฐานพระพุทธรูปทิดไสหง

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปทิดไสหง

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 09:09:08 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปทิดไสหง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 37 จารึกบนฐานพระพุทธรูป ปางมารวิชัย สัมฤทธิ์, จารึกฐานพระพุทธรูปทิดไสหง พุทธศตวรรษที่ 20

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

โลหะ

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูป

ขนาดวัตถุ

หน้าตักกว้าง 75 ซม. สูง 102 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “กพช.ล. 4044”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 เรียกจารึกนี้ว่า “หลักที่ 37 จารึกบนฐานพระพุทธรูป ปางมารวิชัย สัมฤทธิ์”
3) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “จารึกฐานพระพุทธรูปทิดไสหง พุทธศตวรรษที่ 20”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

(เป็นสมบัติของกระทรวงการคลังมาแต่เดิม) กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2518), 23-24.
2) จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 138-140.

ประวัติ

จารึกนี้เป็นจารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย จารึกอยู่บนฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย สัมฤทธิ์ ศิลปะแบบสุโขทัย ด้านหน้าจำนวน 1 บรรทัด จารึกเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 (พ.ศ. 1901-2000) แต่เดิมพระพุทธรูปองค์นี้ เป็นสมบัติของกระทรวงการคลัง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานวันเดือนปีที่พบ สถานที่พบ และผู้พบ ต่อมาเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 กระทรวงการคลังได้ส่งมาให้เป็นสมบัติของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

เนื้อหาโดยสังเขป

เรื่องที่จารึก ได้จารึกบอกนามผู้สถาบกพระพุทธรูป จำนวน 2 คน คือ ทิดไสหง และนางแก้ว

ผู้สร้าง

ทิดไสหง, นางแก้ว

การกำหนดอายุ

หอสมุดแห่งชาติได้กำหนดไว้ว่าจารึกนี้อายุพุทธศตวรรษที่ 20

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “จารึกฐานพระพุทธรูปทิดไสหง พุทธศตวรรษที่ 20,” ใน จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 138-140.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 37 จารึกบนฐานพระพุทธรูป ปางมารวิชัย สัมฤทธิ์,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 23-24.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508)