จารึกปราสาทหินพิมาย 13

จารึก

จารึกปราสาทหินพิมาย 13

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 21:16:22 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพิมาย 13

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 129 แผ่นทองอาถรรพ์ พบที่ปราสาทหินพิมาย นครราชสีมา

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

แผ่นทองอาถรรพ์

ลักษณะวัตถุ

แผ่นสี่เหลี่ยม

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นม. 36”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 กำหนดเป็น “หลักที่ 129 แผ่นทองอาถรรพ์ พบที่ปราสาทหินพิมาย นครราชสีมา”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2497

สถานที่พบ

ปราสาทหินพิมาย บ้านพิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้พบ

มานิต วัลลิโภดม

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 266.

ประวัติ

แผ่นทองอาถรรพ์นี้ บรรจุอยู่ในหม้อสัมฤทธิ์ 6 ใบ ซึ่งแต่ละใบบรรจุแผ่นทองแผ่นเงินไว้ภายใน แล้วฝังอยู่เบื้องล่างตรงข้างฐานหน้ามุขของปราสาทหินองค์ใหญ่ ในหม้อสัมฤทธิ์นั้น นอกจากจะมีแผ่นเงินแผ่นทองซึ่งผุกร่อนไปตามธรรมชาติ เหลือแผ่นที่ดีอยู่ไม่กี่แผ่นแล้ว ยังมีซากเมล็ดข้าวเปลือกติดอยู่ก้นหม้อสัมฤทธิ์แต่ละหม้ออีกด้วย สันนิษฐานว่าเป็นหม้อบรรจุอาถรรพ์ฝังไว้ตามลัทธิพราหมณ์ศิวะเวท ด้านหนึ่งของแผ่นทองมีรอยดุนเป็นรูปเลขยันต์ ลายดอกจันทน์ ลายสังข์ ลายเศียรนาค อีกด้านหนึ่งมีอักษรขอมจารึกไว้

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกมี 3 คำ คือ ลาภ ชัย และฤทธิ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นคำอธิษฐานขอให้ได้รับสิ่งดังกล่าว

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
ปรีดา ศรีชลาลัย, “หลักที่ 129 แผ่นทองอาถรรพ์ พบที่ปราสาทหินพิมาย นครราชสีมา,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 266.