จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 17 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2393, อายุ-จารึก พ.ศ. 2393-2411, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 24, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 4, วัตถุ-จารึกบนหินอ่อน, วัตถุ-จารึกบนหินอ่อนสีดำ, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-ประวัติและตำนาน-พระตำหนักปั้นหย่า, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ-กระทำสัตย์สาบาน, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ-สาปแช่ง, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 4, บุคคล-พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,

จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า 4

จารึก

จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า 4

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2566 20:50:33 )

ชื่อจารึก

จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า 4

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 174 จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2393-2411

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 21 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินอ่อนสีดำ

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

ขนาดวัตถุ

กว้างด้านละ 37 ซม. หนา 1 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 174 จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (สำรวจเมื่อ 10 พฤษภาคม 2558)

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 77-78.

ประวัติ

ศิลาจารึกนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 ใน พ.ศ. 2517 โดยเรียกว่า “หลักที่ 174 จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า” ปัจจุบันอยู่ที่พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวปฏิญาณว่า ตนซึ่งเป็นภิกษุ ไม่เคยทำให้อสุจิเคลื่อน และกอดจูบกับสามเณร หรือศิษย์วัดด้วยราคะ หากสิ่งที่ตนกล่าวเป็นความจริง ขอให้ตนได้อยู่ที่เสนาสนะนี้ต่อไป ถ้าใครอยู่ที่แห่งนี้แล้ว ไม่ได้ปล่อยใจไปตามราคะ ขอให้ผู้นั้นรวมทั้งบริวาร ญาติพี่น้อง และลูกหลานมีอายุยืนนาน มีความสุขสมปรารถนา ตอนท้ายสาปแช่งผู้ที่ตั้งใจทำให้อสุจิเคลื่อน กอดจูบกัน หรือทำลายจารึกนี้

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 4) แห่งราชวงศ์จักรี

การกำหนดอายุ

-

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 174 จารึกที่พระตำหนักปั้นหย่า,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 77-78.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน),สำรวจเมื่อ 10 พฤษภาคม 2558