อายุ-จารึก พ.ศ. 2421, อายุ-จารึก พ.ศ. 2411, อายุ-จารึก พ.ศ. 2399, อายุ-จารึก พ.ศ. 2403, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 25, อายุ-จารึกสมัยพุทธศตวรรษที่ 25, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 24-25, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, วัตถุ-จารึกบนหินอ่อน, ลักษณะ-จารึกสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดนิเวศธรรมประวัติ พระนครศรีอยุธยา., ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระพุทธรูป, เรื่อง-การบันทึกเหตุการณ์, เรื่อง-การบันทึกเหตุการณ์-การอัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐาน, บุคคล-กำนันอิน, บุคคล-นายยัง, บุคคล-พระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, บุคคล-พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2567 12:58:48 )
ชื่อจารึก |
จารึกพระพุทธรูปนิรันตราย |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
อย. 73, อย. 73 จารึกพระพุทธรูปนิรันตราย, หลักที่ 179 จารึกที่ผนังพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
พุทธศักราช 2421 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 37 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินอ่อนสีขาว |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 33 ซม. สูง 73 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อย. 73 จารึกพระพุทธรูปนิรันตราย” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดนิเวศธรรมประวัติ ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สำรวจ 22-24 กุมภาพันธ์ 2565) |
พิมพ์เผยแพร่ |
ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 86-89. |
ประวัติ |
จารึกหลักนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 ใน พ.ศ. 2517 โดยเรียกว่า “หลักที่ 179 จารึกที่ผนังพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ” วัดนิเวศธรรมประวัติ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับพระราชวังบางปะอิน ร. 5 โปรดให้สร้างพระอุโบสถตามแบบโบสถ์คริสต์ ในศิลปะโกธิค (Gothic) ยุคกลางของยุโรป ประตู, หน้าต่างประดับด้วยกระจกสี เหนือประตูพระอุโบสถมีพระบรมรูป ร. 5 ทรงเครื่องต้นทำจากกระจกสีเช่นเดียวกัน วัดแห่งนี้สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2421 ร. 5 โปรดให้เป็นวัดฝ่ายธรรมยุติกนิกาย |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึงการอัญเชิญพระนิรันตรายประดิษฐานไว้บนหิ้งหน้าเรือนแก้ว ภายในพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ ใน พ.ศ. 2421 (สมัยรัชกาลที่ 5) โดยมีการกล่าวประวัติของพระนิรันตรายอย่างละเอียด กล่าวคือ ใน พ.ศ. 2399 กำนันอินและนายยังพบพระพุทธรูปองค์นี้ที่ชายป่าแขวงเมืองปราจีนบุรี จึงนำเข้าถวายรัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงอัญเชิญไปเก็บไว้ที่หอเสถียรธรรมปริตกับพระกริ่งทองคำซึ่งองค์เล็กกว่า แต่เมื่อมีผู้ร้ายลักลอบเข้าไป กลับไม่ถูกขโมยทั้งที่เป็นทองคำและองค์ใหญ่กว่าพระกริ่ง จึงเป็นที่น่าอัศจรรย์อันเป็นมูลเหตุของการพระราชทานนาม “นิรันตราย”(ปราศจากอันตราย) นอกจากนี้ยังมีการหล่อพระพุทธรูปทองคำสวมพระนิรันตรายองค์ดังกล่าวอีกชั้น หนึ่ง และหล่อพระพุทธรูปเงินไว้คู่กัน ต่อมาใน พ.ศ. 2411 รัชกาลที่ 4 โปรดให้หล่อพระพุทธรูปพิมพ์เดียวกับพระนิรันตรายด้วยทองเหลืองแล้วกะไหล่ ด้วยทองคำ 18 องค์ เท่ากับจำนวนปีที่ทรงครองราชสมบัติแล้วดำริว่าจะทรงหล่อปีละ 1 องค์โดยถวายพระนามพระพุทธรูปว่าพระนิรันตรายทั้งสิ้น แต่ยังดำเนินการไม่เสร็จ พระองค์ก็สวรรคต รัชกาลที่ 5 จึงโปรดให้ช่างดำเนินการกะไหล่ทองพระพุทธรูปทั้งหมดจนเสร็จแล้วพระราชทานแด่ วัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายตามพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 4 |
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) แห่งราชวงศ์จักรี |
การกำหนดอายุ |
กำหนดจากศักราชที่ปรากฏจารึกว่า “พระพุทธสาสนกาลล่วงแล้ว 2421” คือ พ.ศ. 2421 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 5) แห่งราชวงศ์จักรี (ครองราชย์ พ.ศ. 2411-2453) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 26 เมษายน 2550 |