จารึกบนหินอ่อนด้านหลังพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐ์ฯ

จารึก

จารึกบนหินอ่อนด้านหลังพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐ์ฯ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2566 18:31:49 )

ชื่อจารึก

จารึกบนหินอ่อนด้านหลังพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐ์ฯ

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2408

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 81 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินอ่อนสีขาว

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 78 ซม. สูง 202 ซม. หนา 3 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 กำหนดเป็น “หลักที่ 193 ศิลาจารึกวัดราชประดิษฐ์ฯ”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 9-16.

ประวัติ

ศิลาจารึกนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 ใน พ.ศ. 2521 โดยเรียกว่า “หลักที่ 193 ศิลาจารึกวัดราชประดิษฐ์” จารึกวัดราชประดิษฐ์นี้มีด้วยกัน 10 หลัก เป็นจารึกบนสีมา 9 หลัก (ดูรายละเอียดได้ใน จารึกบนสีมาวัดราชประดิษฐ์ 1-9) วัดราชประดิษฐ์ฯ ตั้งอยู่ข้างสวนสราญรมย์ ติดถนนเลียบคลองคูเมืองเดิม สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2407 เป็นวัดแห่งแรกที่รัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้างขึ้นสำหรับพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตโดยเฉพาะ

เนื้อหาโดยสังเขป

คำประกาศพัทธสีมาวัดราชประดิษฐ์ กล่าวถึงความเป็นมา วัตถุประสงค์ กฏเกณฑ์และขอบเขตของสีมา โดยเน้นถึงการเป็นที่ของภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

การกำหนดอายุ

จารึกหลักนี้แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกถูกจารึกขึ้นใน พ.ศ. 2407 ส่วนตอนที่ 2 ตั้งแต่บรรทัดที่ 43 ลงไป จารึกขึ้นใน พ.ศ. 2408 (สมัยรัชกาลที่ 4) โดยมีเนื้อหาเหมือนกัน แตกต่างกันเพียงช่วงท้ายเท่านั้น

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 193 ศิลาจารึกวัดราชประดิษฐ์,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 9-16.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521)