จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

จารึกหน้าศาลหลักเมืองกาญจนบุรี

จารึก

จารึกหน้าศาลหลักเมืองกาญจนบุรี

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2566 22:23:55 )

ชื่อจารึก

จารึกหน้าศาลหลักเมืองกาญจนบุรี

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

กจ. 1

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2378

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 32 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีแดง

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 32 ซม. สูง 100 ซม. หนา 17 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “กจ. 1”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 142 ศิลาจารึกหลักเมืองกาญจนบุรี”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

หน้าศาลหลักเมือง ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

หน้าศาลหลักเมือง ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 29-31.

ประวัติ

นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่านจารึกหลักนี้ โดยมีการตีพิมพ์ลงในประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 ใน พ.ศ. 2517 โดยเรียกว่า “หลักที่ 142 ศิลาจารึกหลักเมืองกาญจนบุรี” ปัจจุบันอยู่ที่หน้าศาลหลักเมือง ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จารึกหลักนี้มีเนื้อหาตรงกันกับจารึกบนแผ่นไม้สัก ที่ศาลหลักเมืองกาญจนบุรี ซึ่งมีข้อความสมบูรณ์กว่า คาดว่าจะเป็นการคัดลอกไปจากจารึกหลักนี้ เนื่องจากบรรทัดแรกของจารึกบนแผ่นไม้สัก มีข้อความว่า อักษรจารึกหลัก “ศิลา” เมืองกาญจนบุรี (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน "จารึกบนแผ่นไม้สักที่ศาลหลักเมืองกาญจนบุรี” อนึ่ง เมืองกาญจนบุรีเดิม ตั้งอยู่ในบริเวณเขาชนไก่ ต่อมารัชกาลที่ 3 โปรดให้ย้ายมาที่ปากแพรก ริมฝั่งตะวันออกของลำน้ำ 2 สาย คือ แควใหญ่และแม่กลอง เนื่องจากที่ตั้งเดิมลำบากในด้านการเดินทาง ส่วนที่ปากแพรกสามารถค้าขายกับราชบุรีได้สะดวก กำแพงเมืองที่ปากแพรกนี้ เดิมเป็นแค่การปักเสาระเนียดบนเชิงเทิน ต่อมาจึงมีการสร้างกำแพงก่ออิฐถือปูน ดังที่ปรากฏในจารึก ในปัจจุบัน ป้อมและกำแพงดังกล่าวเหลือให้เห็นเพียงประตูด้านหน้า ซึ่งมีอักษรจารึกว่า “เมืองกาญจนบุรี พ.ศ. 2374”, แนวกำแพงด้านริมน้ำ, แนวกำแพงด้านหลังที่โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์และป้อมมุมเมืองด้านวัดไชยชุมพลชนะสงครามเท่านั้น เนื่องจากส่วนใหญ่ถูกน้ำท่วมพังลงมาในสมัยรัชกาลที่ 5 และมีการรื้อเพื่อสร้างเป็นโรงงานกระดาษ ใน พ.ศ. 2481

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงประวัติการสร้างเมือง ป้อม และกำแพงเมืองกาญจนบุรี รวมถึงการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดในเมืองและในกรุงเทพมหานครโดย พระยาประสิทธิสงคราม เจ้าเมืองกาญจนบุรี

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

คำนวณจากวันเดือนปีล่าสุดที่ปรากฏในบรรทัดที่ 5 ของ จารึกว่า “...วัน 6 ฯ 1 (ขึ้น) 8 ค่าปีรกา สัพศก...” ซึ่ง ประสาร บุญประคอง ได้คำนวณไว้ว่าตรงกับ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2378 แต่แท้จริงแล้วตรงกับปีมะแม ไม่ใช่ปีระกาตามที่ระบุไว้ในจารึก ช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 3) แห่งราชวงศ์จักรี (ครองราชย์ พ.ศ. 2367-2393)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 142 ศิลาจารึกหลักเมืองกาญจนบุรี,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 29-31.
2) วรวุธ สุวรรณฤทธิ์, ประวัติศาสตร์เมืองกาญจนบุรี (กาญจนบุรี : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี, 2542).
3) ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์, 2546).

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517)