โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2567 10:47:16 )
ชื่อจารึก |
จารึกบนหินทรายแดง วัดบางยี่ขัน |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
หลักที่ 277 จารึกบนหินทรายแดง |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
บาลี |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 18 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินทรายสีแดง |
ลักษณะวัตถุ |
รูปทรงคล้ายพานหรือชาม (อักษรจารึกอยู่บนหน้าตัดรูปวงกลมด้านบน) |
ขนาดวัตถุ |
เส้นผ่านศูนย์กลาง 50 ซม. เส้นรอบวง 160 ซม. สูง 12 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ธบ. 11” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พระอุโบสถวัดบางยี่ขัน แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 209-211. |
ประวัติ |
จารึกหลักนี้นาย ประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 ใน พ.ศ. 2521 โดยเรียกว่า “หลักที่ 277 จารึกบนหินทรายแดง” ปัจจุบันอยู่ภายในพระอุโบสถวัดมุขราชธาราม (วัดบางยี่ขัน) แขวงบางยี่ขัน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวนมัสการพระรัตนตรัยและเจดีย์ธรรมทั้ง 5 อนุโมทนาแด่ผู้ที่มานมัสการพระพุทธรูปในวิหารได้รับกุศลทั้ง พระสงฆ์ เทพ มนุษย์ และสัตว์ ตอนท้ายขอให้พระศาสนายั่งยืนตลอด 5,000 ปี และขอให้ตนได้รู้แจ้งพระสัพพัญญุตญาณ |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
รศ. ดร. สุภาพรรณ ณ บางช้าง กล่าวถึงจารึกหลักนี้ในหนังสือ “วิวัฒนาการงานเขียนภาษาบาลีในประเทศไทย : จารึก ตำนาน พงศาวดาร สาส์น ประกาศ” โดยสันนิษฐานว่า น่าจะถูกสร้างขึ้นในระหว่างรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 โดยเทียบเคียงจากจารึกที่สร้างด้วยวัสดุชนิดเดียวกัน คือ จารึกหลักเมืองกาญจนบุรี (กจ. 1) ระบุ พ.ศ. 2378 (สมัย ร. 3) อีกทั้งอักขรวิธีและการจารึกด้วยภาษาบาลีทั้งหลัก หรือ บางส่วนก็เป็นที่นิยมในช่วงเวลาดังกล่าว |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก: |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521) |