จารึกพระกกุสันธโพธิสัตว์

จารึก

จารึกพระกกุสันธโพธิสัตว์

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2567 11:46:10 )

ชื่อจารึก

จารึกพระกกุสันธโพธิสัตว์

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

อย. 32 จารึกพระกกุสันธโพธิสัตว์, อย. 32

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 9 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินอ่อน สีขาว

ลักษณะวัตถุ

แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 94.5 ซม. สูง 14 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อย. 32 จารึกพระกกุสันธโพธิสัตว์”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 กำหนดเป็น "หลักที่ 205 จารึกบนหินอ่อน แผ่นที่ 3”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

พระอุโบสถ วัดชุมพลนิกายาราม ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดชุมพลนิกายาราม ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สำรวจ 22-24 กุมภาพันธ์ 2565)

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 40-41.

ประวัติ

จารึกนี้มีการตีพิมพ์ลงในประชุมศิลาจารึกภาคที่ 6 ตอนที่ 2 เมื่อพ.ศ. 2521 โดยเรียกว่า “หลักที่ 205 จารึกบนหินอ่อน แผ่นที่ 3” อ่านโดย นายประสาร บุญประคอง ภายในอุโบสถของวัด นอกจากพบจารึกหลักนี้แล้ว ยังมีจารึกอีก 7 หลักที่มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ เป็นจารึกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า 7 องค์ ได้แก่ วิปัสสี สิขี เวสสภู กกุสันธะ โกนาคม กัสสปะ และอังคีรส (โคตมะ) พระพุทธเจ้า 6 องค์แรกเป็นอดีตพุทธ ส่วนองค์ที่ 7 (โคตมะ) เป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงประวัติของพระกกุสันธะ ซึ่งเป็นอดีตพุทธในภัทรกัลป์ และการพยากรณ์ถึงพระพุทธเจ้าโคตมะ

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกนี้ไม่ปรากฏศักราชเช่นเดียวกับจารึกอื่นๆภายในอุโบสถซึ่งกล่าวถึงอดีตพุทธและพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากรูปแบบตัวอักษรและอักขรวิธีรวมถึงวัสดุที่ใช้ในจารึกกลุ่มดังกล่าวแล้ว พบว่ามีความคล้ายคลึงกับจารึกที่เจดีย์วัดชุมพลนิกายารามซึ่งระบุศักราชตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นอย่างมาก นอกจากนี้พระอุโบสถของวัดยังได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยดังกล่าวอีกด้วย ดังปรากฏหลักฐานจากข้อความในจารึกที่เจดีย์วัดชุมพลนิกายาราม จึงมีความเป็นไปได้ว่าจารึกนี้น่าจะถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เช่นเดียวกัน

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 205 จารึกบนหินอ่อนแผ่นที่ 3,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 40-41.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 26 เมษายน 2550