จารึกวัดมหาธาตุ สุโขทัย

จารึก

จารึกวัดมหาธาตุ สุโขทัย

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2568 15:57:54 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดมหาธาตุ สุโขทัย

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 243 ศิลาจารึก วัดมหาธาตุ

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2450

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 41 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 21 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 20 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวนสีเขียว

ลักษณะวัตถุ

แผ่นหินรูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 36 ซม. สูง 95 ซม. หนา 7 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 กำหนดเป็น “หลักที่ 243 ศิลาจารึก วัดมหาธาตุ”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดมหาธาตุ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ผู้พบ

พระราชประสิทธิคุณ (ทิม) วัดราชธานี

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 129-130.

ประวัติ

ศิลาจารึกนี้ถูกพบที่วัดมหาธาตุ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย พระราชประสิทธิคุณ (ทิม) วัดราชธานี มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง นายเทิม มีเต็ม เป็นผู้อ่าน และนายประสาร บุญประคอง ตรวจแก้ โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 ใน พ.ศ. 2521 โดยเรียกว่า “หลักที่ 243 ศิลาจารึก วัดมหาธาตุ”

เนื้อหาโดยสังเขป

พ.ศ. 2450 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธมกุฎราชกุมาร ประพาสเมืองสุโขทัย ทรงสันนิษฐานว่า วัดมหาธาตุเดิมเป็นวัดสังฆาวาสและน่าจะสร้างขึ้นระหว่างมหาศักราช 1276-1283 (สมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 ลิไทย) โดยใช้หลักฐานจากจารึกสมัยสุโขทัย

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 5) แห่งราชวงศ์จักรี

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏบนจารึกว่า “พุทธสาสนากาลได้ 2450 พรษา” คือ พ.ศ. 2450 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 5)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 243 ศิลาจารึก วัดมหาธาตุ,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 129-130.
2) นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร = Guide to Sukhothai, Si Satchanalai and Kamphaeng Phet Historical Parks (ม.ป.ท. : ประชาชน, 2542).
3) ประเสริฐ ณ นคร, “ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย,” ใน สารนิพนธ์ประเสริฐ ณ นคร (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2541).
4) ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น, 2546).

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2566