ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินอ่อน, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑ์พระพุทธบาท สระบุรี, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระพุทธรูป,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2566 21:00:01 )
ชื่อจารึก |
จารึกบนแผ่นหินอ่อน ในพิพิธภัณฑ์พระพุทธบาท 2 |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
บาลี |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 20 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินอ่อน สีขาว |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 31 ซม. สูง 70.5 ซม. หนา 3 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติกำหนดเป็น "สบ. 4" |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งพระพุทธบาท สระบุรี ตำบลพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี |
พิมพ์เผยแพร่ |
ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 27-28. |
ประวัติ |
ศิลาจารึกนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 ในพ.ศ. 2517 โดยเรียกว่า "หลักที่ 141 จารึกบนแผ่นหินอ่อนในพิพิธภัณฑ์พระพุทธบาท" |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณ โดยมีการยกข้อความจากพระไตรปิฏกมาประกอบ ตอนท้ายกล่าวถึงการสร้างและประดิษฐานพระพุทธรูป |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
รศ. ดร. สุภาพรรณ ณ บางช้าง กล่าวถึงจารึกหลักนี้ในหนังสือ "วิวัฒนาการงานเขียนภาษาบาลีในประเทศไทย : จารึก ตำนาน พงศาวดาร สาส์น ประกาศ" สันนิษฐานว่าน่าจะจารึกขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 หรือ 5 โดยพิจารณาจากอักขรวิธีการเขียนภาษาบาลี รวมถึงวัสดุที่ใช้ คือ หินอ่อนซึ่งได้รับความนิยมในช่วงเวลาดังกล่าว |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517) |