จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images
  • images
  • images

จารึกอนุสาวรีย์ทหารอาสา

จารึก

จารึกอนุสาวรีย์ทหารอาสา

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2567 20:24:33 )

ชื่อจารึก

จารึกอนุสาวรีย์ทหารอาสา

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 283 จารึกบนหินอ่อน

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2462

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 191 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 50 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 54 บรรทัด ด้านที่ 3 มี 40 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 47 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินอ่อน สีขาว

ลักษณะวัตถุ

สี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านบนแหลมคล้ายหน้าจั่ว

ขนาดวัตถุ

กว้าง 61 ซม. สูง 226 ซม. หนา 5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 กำหนดเป็น “หลักที่ 283 จารึกบนหินอ่อน”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1 แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1 แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 231-232.

ประวัติ

จารึกหลักนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 ใน พ.ศ. 2521 โดยเรียกว่า “หลักที่ 283 จารึกบนหินอ่อน” อนุสาวรีย์นี้มีชื่อเต็มว่า อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1 สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 6) เพื่อเป็นที่บรรจุอัฐิของทหารอาสาที่เสียชีวิตในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งประเทศไทยได้ประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร มีทหารและพลเรือนเป็นอาสาสมัครเข้าร่วมปฏิบัติการในยุโรปเมื่อ พ.ศ. 2461 จนสงครามสงบโดยที่ฝ่ายพันธมิตรเป็นผู้ชนะ กองทหารอาสาจึงเดินทางกลับสู่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2462 สำหรับผู้ที่เสียชีวิตได้มีการเผาศพในยุโรปแล้วนำอัฐิบรรจุลงในกล่องรูปปลอกกระสุนปืนใหญ่ ตั้งบนแท่น มีกองทหารเป็นกองเกียรติยศเชิญอัฐิมาทำพิธี ณ พระอุโบสถวัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ แล้วจึงอัญเชิญไปที่อนุสาวรีย์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้วางพวงมาลา อนุสาวรีย์ดังกล่าวตั้งอยู่กลางสนามสามเหลี่ยม ที่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของสนามหลวง รูปทรงคล้ายศาสนสถานของชวา ทำจากหินสีขาว ฐานเป็นรูปพานย่อมุม หน้าบันประดับด้วยปูนปั้นลายช่อดอกไม้ กินรี และเหรา ส่วนยอดเป็นเจดีย์ทรงกลม

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 และรายชื่อ ทหารอาสาที่ชีวิตระหว่างการปฏิบัติหน้าที่

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 6)

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากศักราชล่าสุดที่ปรากฏในจารึก คือ พ.ศ. 2462 ในสมัยรัชกาลที่ 6

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) กองโบราณคดี กรมศิลปากร “อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1,” ใน นำชมกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพ : งานเผยแพร่ สำนักงานเลขานุการกรมศิลปากร. 2525), 296-297.
2) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 283 จารึกบนหินอ่อน,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 231-232.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521)