จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 16 คำ

ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 3, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร, เรื่อง-การปกครองส่วนหัวเมือง, เรื่อง-การปกครองส่วนหัวเมือง-ลับแล, เรื่อง-การปกครองส่วนหัวเมือง-ปากเหือง, เรื่อง-การปกครองส่วนหัวเมือง-น้ำปาด, เรื่อง-การปกครองส่วนหัวเมือง-สวางคบุรี, เรื่อง-การปกครองส่วนหัวเมือง-ตรอนตรีศิลป์, เรื่อง-การปกครองส่วนหัวเมือง-บางโพ, เรื่อง-การปกครองส่วนหัวเมือง-ขุนกัน, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองปากเหือง, บุคคล-พระอณะพินาศ,

จารึกทำเนียบหัวเมืองและผู้ครองเมือง ทิศเหนือ (เมืองลับแล เมืองปากเหือง เมืองน้ำปาด เมืองสวางคบุรี เมืองตรอนตรีศิลป์ เมืองบางโพ เมืองขุนกัน)

จารึก

จารึกทำเนียบหัวเมืองและผู้ครองเมือง ทิศเหนือ (เมืองลับแล เมืองปากเหือง เมืองน้ำปาด เมืองสวางคบุรี เมืองตรอนตรีศิลป์ เมืองบางโพ เมืองขุนกัน)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2555 14:45:56 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2566 17:41:02 )

ชื่อจารึก

จารึกทำเนียบหัวเมืองและผู้ครองเมือง ทิศเหนือ (เมืองลับแล เมืองปากเหือง เมืองน้ำปาด เมืองสวางคบุรี เมืองตรอนตรีศิลป์ เมืองบางโพ เมืองขุนกัน)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกทำเนียบหัวเมืองและผู้ครองเมือง 25

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 1 ด้าน (ไม่ทราบจำนวนบรรทัด)

วัตถุจารึก

หิน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ไม่ปรากฏหลักฐาน

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 280.
2) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 282.

ประวัติ

จารึกทำเนียบหัวเมืองและผู้ครองเมือง ปรากฏอยู่บนคอสองเฉลียงพระระเบียงล้อมอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามทั้ง 4 ทิศ ได้แก่ ทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศเหนือ ตามลำดับ ในโคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ระบุว่า มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปหัวเมืองขึ้นของกรุงเทพมหานคร 474 หัวเมืองไว้คู่กับจารึก เมื่อคราวรัชกาลที่ 3 โปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ แต่ในปัจจุบันภาพดังกล่าวลบเลือนไปจนหมดสิ้นแล้ว หลงเหลือเพียงจารึกจำนวนหนึ่ง ซึ่งในประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฉบับตีพิมพ์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2544 ระบุว่า มีการตรวจสอบพบจารึกจำนวน 77 แผ่น ทำเนียบเมือง 194 หัวเมือง แล้วนำไปสอบทานกับชื่อเมืองในประกาศพระราชพิธีตรุษพบว่าตรงกัน จึงสันนิษฐานว่าเดิมมีการจารชื่อเมืองตามประกาศดังกล่าวทั้งหมด ส่วนทำเนียบข้าราชการคงใช้ตามที่เป็นอยู่ในเวลานั้น โดยมีการจัดเรียงตำแหน่งจารึกหัวเมืองต่างๆ ไว้ตามทิศ เช่น หัวเมืองทิศเหนือ จารึกไว้บนคอสองระเบียงอุโบสถทางทิศเหนือ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากจารึกจำนวน 77 แผ่น ตามที่ปรากฏในประชุมจารึกวัดพระเชตุพนแล้ว จากการสำรวจโดยคณะทำงานโครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ยังได้พบจารึกส่วนหนึ่งที่ไม่ปรากฏในประชุมจารึกดังกล่าว เช่น เมืองฉะเชิงเทรา และเมืองขุขันธ์ เป็นต้น

เนื้อหาโดยสังเขป

ระบุนามหัวเมืองขึ้นของพิชัย อาทิ เมืองลับแล เมืองปากเหือง เมืองน้ำปาด เป็นต้น

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากประวัติการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งมีหลักฐานปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน(ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก :
1) “การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 75-91.
2) “ทำเนียบหัวเมืองและผู้ครองเมือง,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 275-284.
3) “ทำเนียบหัวเมืองและผู้ครองเมือง,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 277-286.