จารึกเหรียญเงินทวารวดี (อู่ทอง 3)

จารึก

จารึกเหรียญเงินทวารวดี (อู่ทอง 3)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2566 22:00:53 )

ชื่อจารึก

จารึกเหรียญเงินทวารวดี (อู่ทอง 3)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

เหรียญลวปุระ, จารึกบนเหรียญเงินพบที่เมืองอู่ทอง, Silver Coin from Ūthong, Lavapura Coin

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 12

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 2 บรรทัด ด้านละ 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

เงิน

ลักษณะวัตถุ

เหรียญทรงกลมแบน มีจารึกทั้ง 2 ด้าน

ขนาดวัตถุ

เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.80 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) ในวารสาร The Journal of the Siam Society vol. LV part 1 (January 1967) กำหนดเป็น “Silver Coin from Ūthong” or “Lavapura Coin”
2) ในหนังสือ เหรียญกระษาปณ์ในประเทศไทย กำหนดเป็น “เหรียญลวปุระ”
3) ในวารสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 11 ฉบับที่ 7 (พฤษภาคม 2533) กำหนดเป็น “จารึกบนเหรียญเงินพบที่เมืองอู่ทอง”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ในไหบรรจุเหรียญเงิน บริเวณเมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

1) The Journal of the Siam Society vol. LV part 1 (January 1967), 113-116.
2) เหรียญกระษาปณ์ในประเทศไทย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2516), 24-27.
3) วารสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 11 ฉบับที่ 7 (พฤษภาคม 2533), 106-109.

ประวัติ

เหรียญเงินนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพบเมื่อใด ทราบแต่เพียงว่าเป็นเหรียญเงินเหรียญหนึ่ง ที่พบในไหบรรจุเหรียญเงินจำนวนมาก ขุดพบในบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง และได้ตกมาเป็นสมบัติของเฉลิม ยงบุญเกิด ซึ่งต่อมาก็ได้มอบให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในปี พ.ศ. 2509 เฉลิม ยงบุญเกิด และ เจ เจ โบลส์ (J. J. Boeles) ได้รวมกันศึกษาเหรียญเงินนี้ พบว่า ทั้ง 2 ด้านของเหรียญมีอักษรปัลลวะจารึกอยู่ ด้านหนึ่งอ่านว่า “ลว” อีกด้านหนึ่งอ่านว่า “ปุระ” และเพื่อความถูกต้องทางวิชาการ ทั้งสองจึงได้ขอให้ ศ. ยอร์ช เซเดส์ ตรวจคำอ่านซึ่งท่านก็ยืนยันถึงความถูกต้อง ต่อมา เจ เจ โบลส์ จึงเขียนบทความเกี่ยวกับเหรียญเงินนี้ลงใน วารสารสยามสมาคม เล่มที่ 55 ส่วนที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) เรื่อง “A Note on the Ancient City Called Lavapura” พ.ศ. 2516 ฉวีวรรณ วิริยะบุศย์ เรียบเรียงหนังสือชื่อ “เหรียญกระษาปณ์ในประเทศไทย” และได้กล่าวถึงเหรียญเงินนี้ด้วย โดยจัดให้เป็นเหรียญเงินของอาณาจักรลพบุรี และสันนิษฐานว่า เหรียญลวปุระนี้อาจเป็นเหรียญที่ระลึกทำขึ้นในสมัยลพบุรี

เนื้อหาโดยสังเขป

“ลวปุระ” เป็นชื่อของเมืองโบราณ ปัจจุบันคือเมืองลพบุรี

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุตามรูปแบบอักษรปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) J. J. Boeles, “A Note on the Ancient City called Lavapura,” The Journal of the Siam Society LV, 1 (January 1967) : 113-116.
2) ฉวีวรรณ วิริยะบุศย์, เหรียญกระษาปณ์ในประเทศไทย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2516), 12-13.
3) ภูธร ภูมะธน, “ทวารวดี ชื่อกษัตริย์? หรือ ชื่อเมือง?,” ศิลปวัฒนธรรม 11, 7 (พฤษภาคม 2533) : 104-113.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : เหรียญกระษาปณ์ในประเทศไทย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2516)