ชุดข้อมูลจารึกที่เกี่ยวข้องกับการกัลปนา

ชุดข้อมูลจารึกที่เกี่ยวข้องกับการกัลปนา

QR-code edit Share on Facebook
เวลาที่โพส
โพสต์เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2564 22:02:29 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2565 16:55:29 )

    "กัลปนา" มาจากภาษาสันสกฤต คำว่า "กลฺปน" โดยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2545 ให้ความหมายไว้ ดังนี้ 

     1) คำกริยา หมายถึง เจาะจงให้
     2) คำนาม หมายถึง การเตรียม, การกระทำ, ความดำริ ความสำเร็จ ที่ซึ่งเจ้าของอุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัด
     และ 3) คำนาม หมายถึง ส่วนบุญที่ผู้ทำอุทิศให้แก่ผู้ตาย

     ระริวรรณ ภาคพรต ได้ค้นหาคำว่า "กัลปนา" พบว่าคำนี้ปรากฏในศิลาจารึกอักษรขอมโบราณ ภาษาเขมร ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ศิลาจารึกเหล่านี้จะมีข้อความเกี่ยวกับการพระราชทานคน สัตว์ สิ่งของ ที่ดิน และผลประโยชน์จากที่ที่ดิน เช่น ข้าวสาร ผลไม้ ให้แก่ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์1 จำนวน 17 หลัก
    และพบการใช้ "กัลปนา" ในศิลาจารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย จำนวน 3 หลัก ศิลาจารึกอักษรไทยอยุธยา ภาษาไทย จำนวน 3 หลัก และศิลาจารึกอักษรไทยรัตนโกสินทร์ 1 หลัก โดยข้อความกล่าวถึงการอุทิศที่ดิน สิ่งของ รวมถึงผู้คน เพื่อเป็นผลประโยชน์แก่วัดและพุทธศาสนา

     นอกจากคำว่า "กัลปนา" ที่มีความหมายอย่าที่กล่าวไปแล้วในข้างต้น ยังพบการใช้คำที่มีลักษณะการให้ การอุทิศให้ เช่นคำว่า โอย โอยทาน จำนำ ถวาย เป็นต้น 

------------------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง
ภาพปก จารึกแผ่นดีบุก วัดมหาธาตุ 
ระวิวรรณ ภาคพรต . การกัลปนา ในลานนาไทย ตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 20 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2526. 10.