Blog

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

อินทขีล อินทขิล?

อินทขีล อินทขิล?

QR-code edit Share on Facebook
เวลาที่โพส
โพสต์เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2560 เวลา 17:40:27
บทความโดย : ทีมงาน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 พิมพ์ครั้งที่ 1 (2556 : 1414) ระบุว่า อินทขีล น. เสาหรือหลักหน้าประตูเมือง, หลักเมือง, เสาเขื่อน เป็นคำภาษาบาลี-สันสกฤต มาจากคำว่า อินฺทฺร + กีล 
 
ในจารึกวิหารจันทรอาราม ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 14 ปรากฏคำว่า อินทขิน โดยโครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา พ.ศ. 2534 ให้ความหมายว่า หลักเมือง ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกับ อินทขีล
 
สำหรับคำว่า อินทขิน นั้น ปัจจุบันก็ยังมีการใช้คำนี้อยู่ หากแต่เขียน อินทขิล ใช้ ล เป็นตัวสะกด (มาตราสะกดแม่กน) 

บางคนอาจเกิดความสงสัยว่านิยมใช้กันมาแค่ไหน ผู้เขียนได้ลองไปค้นหา อินทขิล คำนี้ในเว็บไซต์เสิร์ชเอนจินยอดนิยมเว็บหนึ่ง พบผลการค้นหาประมาณ 335000 รายการ ส่วนคำว่า อินทขีล ซึ่งเป็นคำที่ถูกเขียนถูกต้องนั้น พบผลการค้นหาประมาณ 20400 รายการ อาจกล่าวได้ว่าคนทางเหนือได้หยิบยืมและปรับใช้ให้ง่ายต่อการพูดให้มากที่สุดหรืออาจเป็นคำที่เข้าใจผิดมาตลอดก็เป็นได้

---------------------------- 

อ้างอิงจาก
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 (กรุงเทพ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2556) หน้า 1414.
จารึกวิหารจันทรอาราม 

ผู้เขียน : นิสา เชยกลิ่น

คำสำคัญ : อินทขีล อินทขิน อินทขิล จารึกวิหารจันทอาราม