จารึกวิหารจันทรอาราม

จารึก

จารึกวิหารจันทรอาราม

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2566 15:56:48 )

ชื่อจารึก

จารึกวิหารจันทรอาราม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชร. 1 จารึกวิหารจันทรอาราม พ.ศ. 2011, ชร. 1

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2011

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 29 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 14 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 15 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 28.5 ซม. สูง 54.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชร. 1”
2) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ชร. 1 จารึกวิหารจันทรอาราม พ.ศ. 2011”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดศรีสุทธาวาส ตำบลสันสลี อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ไม่ปรากฏ (จากการสำรวจเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2557 สอบถามข้อมูลจากพระครูคัมภีร์ธรรโมภาส (บรรพต) เจ้าอาวาสวัดศรีสุทธาวาส ท่านกล่าวว่า อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เมื่อสำรวจครั้งต่อมาวันที่ 29 สิงหาคม 2561 เจ้าหน้าที่แจ้งว่าไม่พบจารึกดังกล่าว คาดว่าอาจส่งคืนไปแล้ว)

พิมพ์เผยแพร่

จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 1-2.

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความในจารึกกล่าวถึงบุคคลชื่อ เจ้าหมื่นทาว ซึ่งมีความปรารถนาในโพธิสมภาร ได้สร้างวิหารจันทรอารามขึ้น และบริจาคที่ดินจำนวนมากแก่วัด ตอนท้ายของจารึกมีการสาปแช่งผู้ที่มาเบียดบังที่ดินและสมบัติของวัดให้ตายและอย่าให้ได้พบพระรัตนตรัย

ผู้สร้าง

เจ้าหมื่นทาว

การกำหนดอายุ

วงดวงชาตา ใน จารึกด้านที่ 1 ระบุ จ.ศ. 830 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2011 อันเป็นสมัยที่พระเจ้าติโลกราชปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 1984-2030)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, "ชร. 1 จารึกวิหารจันทรอาราม พ.ศ. 2011," ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 1-2.

ภาพประกอบ

1) ภาพจำลองอักษร (ด้านที่ 1) : พงศธร บัวคำปัน
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 8 กันยายน 2566