หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ที่อยู่:
สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
โทรศัพท์:
0-4333-2035
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 8.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2539
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์หมอลำหมอแคน : มูนมังในฝันของนครขอนแก่น

ชื่อผู้แต่ง: สุริศรา บัวนิล | ปีที่พิมพ์: 2545

ที่มา: เปิดผ้าม่านกั้ง : เปิดจิตวิญญาณอีสานสู่จิตวิญญาณสากล,2545

แหล่งค้นคว้า: ศมส.,สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

สังคมและวัฒนธรรมอีสาน เอกสารประกอบนิทรรศการถาวร "อีสานนิทัศน์"

ชื่อผู้แต่ง: ชลิต ชัยครรชิต และคณะ | ปีที่พิมพ์: 2549

ที่มา: ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของหอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หอศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2539 รัฐบาลในสมัย ฯพณฯ ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้อนุมัติงบประมาณแผ่นดิน มาดำเนินการก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น บริเวณบึงสีฐานฝั่งตะวันตก อาคารเป็นทรงเล้าข้าวของชาวอีสาน จัดแสดงนิทรรศการและทำกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทำพิธีเปิดเมื่อปี พ.ศ. 2541 และได้จัดตั้งหน่วยงาน "หอศิลปวัฒนธรรม" เป็นหน่วยงานในกำกับของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักศิลปวัฒนธรรม" 

ห้องนิทรรศการถาวรตั้งอยู่บริเวณชั้น 2 ของอาคาร นิทรรศการและการนำเสนอข้อมูลเป็นรูปแบบ "พิพิธภัณฑ์การศึกษา (Educational Museum)" ในลักษณะของพิพิธภัณฑ์ที่ใช้สื่อปฏิสัมพันธ์(Interactive Museum) จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับภูมิภาคอีสาน นิทรรศการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีและสื่อที่ทันสมัย ทั้ง แสง เสียง ภาพนิ่ง ภาพจำลองสามมิติ ภาพเคลื่อนไหว และการสืบค้นข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัส พื้นที่ในการจัดแสดงประกอบไปด้วย 

ส่วนที่ 1 โถงต้อนรับและห้องบรรยาย บริเวณโถงต้อนรับจัดแสดงพานบายศรีอันเป็นสัญลักษณ์พิธีกรรมการต้อนรับผู้มาเยือนของชาวอีสาน ด้านในเป็นห้องบรรยายประดับตกแต่งด้วยลวดลายศิลปะที่มีลักษณะเป็นท้องถิ่นภูมิภาคอีสานและความงดงามของสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นในมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ส่วนที่ 2 ภูมิศาสตร์กายภาพ นิทรรศการประกอบ แสง สี เสียง ประกอบไปด้วยเนื้อหา ภูมิศาสตร์กายภาพอีสานโครงสร้างทางธรณีวิทยา แหล่งน้ำ ป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม การตั้งถิ่นฐานของประชาคมอีสานตามเขตพื้นที่ลุ่มแม่น้ำต่างๆ

ส่วนที่ 3 ประวัติศาสตร์และโบราณคดี นิทรรศการอีสานยุคโบราณ วัฒนธรรมยุคโบราณในแต่ละยุคสมัย แผนที่ที่ตั้งแหล่งโบราณคดีและชุมชนโบราณ ในส่วนนี้มีคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัส สามารถสืบค้นข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ได้โดยละเอียด

ส่วนที่ 4 ชาติพันธุ์วิทยา แผนที่แสดงที่ตั้งกลุ่มชนต่างๆในอีสาน ภาพลายเส้นลักษณะการแต่งกาย หุ่นจำลองสามมิติ(Diorama)แสดงวิถีชีวิตและการตั้งบ้านเรือนของคนกลุ่มต่างๆ พร้อมทั้งคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัสข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคอีสาน

ส่วนที่ 5 ประเพณีวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมอีสาน ประกอบไปด้วยนิทรรศการ 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง เป็นเนื้อหาสถาปัตยกรรมอีสาน วรรณกรรมโบราณอีสาน ส่วนที่สอง เป็นหุ่นจำลองพร้อมคำบรรยายฮีตสิบสอง-คองสิบสี่ คอมพิวเตอร์ระบบสัมผัสข้อมูลวัฒนธรรมประเพณีอีสาน หุ่นจำลองสามมิติประกอบแสง สี และคำบรรยายตำนานกำเนิดประเพณีบั้งไฟ

ส่วนที่ 6 ดนตรีและการแสดง นิทรรศการประกอบภาพวิดีทัศน์ ดนตรีและศิลปการแสดงพื้นบ้านอีสาน

ส่วนที่ 7 ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน นิทรรศการผ้าอีสาน ศิลปหัตถกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมทั้งคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัส ที่รวบรวมข้อมูลศิลปหัตถกรรมและภูมิปัญญาของชาวอีสาน

ส่วนที่ 8 อีสานยุคปัจจุบัน แสดงภาพพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวอีสาน อันมีความสัมพันธ์กับประเทศกลุ่มประชาคมลุ่มแม่น้ำโขง

ส่วนที่ 9 มุมสืบค้น นิทรรศการภาพรวมอีสานทั้ง 19 จังหวัด รวมทั้งคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้นข้อมูลทางวัฒนธรรม

ข้อมูลจาก: http://cac.kku.ac.th/2006/index.php[accessed20070216]

ชื่อผู้แต่ง:
-