พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น


พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติวิทยานับตั้งแต่การกำเนิดโลกสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยผู้เข้าชมสามารถมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเอง ผ่านชิ้นงานทางวิทยาศาสตร์และสื่อประสมที่สามารถโต้ตอบกับผู้เข้าชมได้ โดยเนื้อหาการจัดแสดงเน้นการนำเสนอข้อมูลทรัพยากรสำคัญที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยขอนแก่นสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มาตั้งแต่ พ.ศ.2540 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา เมื่อวันพุธที่ 23 มีนาคม 2559 พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นสนับสนุนงบประมาณในการสร้างนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ในการจัดแสดงนิทรรศการส่วน Taxidermy (ศิลปะการคงรูปสัตว์ให้เหมือนมีชีวิต) รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากนักวิจัย นักวิชาการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการระดมสมองและพืชพันธุ์ไม้สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำมาจัดแสดง

ที่อยู่:
บึงศรีฐาน ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
โทรศัพท์:
0942784222
โทรสาร:
043-202155
วันและเวลาทำการ:
อังคาร-อาทิตย์ 09.30-17.30 น.
ค่าเข้าชม:
ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 10 บาท นักเรียน/นักศึกษา 20 บาท
เว็บไซต์:
อีเมล:
kkumuseum@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2555
ของเด่น:
รูปปั้นไดโนเสาร์ และ แหล่งความรู้ทางด้านธรรมชาติวิทยา นิทรรศการประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติวิทยานับตั้งแต่การกำเนิดโลกสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ ข้อมูลทรัพยากรสำคัญที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จัดการโดย:

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น...

โดย: พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันที่: 24 สิงหาคม 2564

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น...

โดย: พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันที่: 24 สิงหาคม 2564

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น...

โดย: พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันที่: 24 สิงหาคม 2564

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น...

โดย: พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันที่: 24 สิงหาคม 2564

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น...

โดย: พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันที่: 24 สิงหาคม 2564

โดย:

วันที่: 23 มีนาคม 2559

ไม่มีข้อมูล

โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ชื่อผู้แต่ง: มหาวิทยาลัยขอนแก่น | ปีที่พิมพ์:

ที่มา:

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 29 มีนาคม 2559


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ถ้าคุณเป็นคนชอบธรรมชาติ  รู้สึกสนุกอยากรู้อยากเห็นกับวิชาวิทยาศาสตร์ เบิกบานกับเด็กๆที่ตื่นตาตื่นใจกับไดโนเสาร์ตัวโตๆ ให้เข้ามาที่นี่ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น แล้วจะรู้ว่าประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่การวิจัยในภาคอีสาน มีผลงานวิจัยการค้นพบพืชพันธุ์ใหม่  สัตว์ชนิดใหม่และจุลินทรีย์ชนิดใหม่ของโลก
           
คุณมนตรี อยู่เจริญ นักวิชาการศึกษา เป็นผู้บรรยายนำชม ด้วยความคล่องแคล่วกระตือรือร้น พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เกิดขึ้นมาภายใต้แนวคิดการนำเสนอผลงานวิจัยในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี(อพ.สธ.) การศึกษาครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดของภาคอีสานใน 5 พื้นที่ได้แก่ โคกภูตากา จ.ขอนแก่น เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เขื่อนจุฬาภรณ์  จ.ชัยภูมิ  เขื่อนท้ายกุ่ม จ.ชัยภูมิ เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี  การจัดแสดงมี 2 ชั้น ชั้นล่างคือโซน A-F  ชั้น 2 เป็นโซน G-J  และสวนหย่อมขนาดใหญ่กลางแจ้งในวงล้อมของอาคาร เรียกว่า สวนจำลองยุคดึกดำบรรพ์ ได้มีไดโนเสาร์ตัวโตสองตัวยืนตระหง่านท่ามกลางแมกไม้
           
เริ่มด้วยโซน A จะมีการเกริ่นนำด้วยวีดีทัศน์แนะนำพิพิธภัณฑ์ โซน B เป็นนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ(อพ.สธ.) เมื่อเข้าโซน C ผลงานวิจัยที่สะดุดตาชนิดแรกคือ การจัดแสดงโมเดลของเห็ดเรืองแสง สร้างความฉงนสนใจว่า มีเห็ดแบบนี้ด้วยหรือ ในคำบรรยายเห็ดเรืองแสง ได้มีการค้นพบครั้งแรกในประเทศไทย โดยรศ.ดร.วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์และคณะ สำรวจพบที่โคกภูตากา ลักษณะของเห็ดมีสีขาว เปล่งแสงสีเขียวอมเหลืองส่องสว่างยามค่ำคืน ในการวิจัยสามารถสร้างประโยชน์ได้ทั้งวงการเกษตรและวงการแพทย์ โดยสามารถสกัดสารจากเห็ดไปใช้ควบคุมไส้เดือนรากปมที่ทำให้เกิดโรครากปมในมะเขือเทศและพริก และมีการค้นพบสารเคมีตัวใหม่ที่สามารถออกฤทธิ์ต่อต้านเชื้อมาเลเรียและเชื้อสาเหตุวัณโรค อีกทั้งยังสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งบางชนิดได้ด้วย
           
จากนั้นก็เข้าสู่โซน D และ E ในการเล่าเรื่องมีการเกริ่นมาตั้งแต่นอกโลก กำเนิดสุริยจักรวาล กำเนิดโลก กำเนิดสิ่งมีชีวิต แล้วจึงมาสู่ยุคของไดโนเสาร์ที่กลายเป็นจุดเด่นทำให้จดจำได้ของจังหวัดขอนแก่นและภาคอีสาน  หลังค้นพบว่าเป็นแหล่งใหญ่ถิ่นที่อยู่ของไดโนเสาร์ในยุคดึกดำบรรพ์ คุณมนตรีบอกว่าตอนนี้ทางพิพิธภัณฑ์ได้มีการประสานงานกับทางกรมทรัพยากรธรณีว่า จะขอนำกระดูกไดโนเสาร์มาจัดแสดงที่นี่ เพื่อให้ผู้เข้าชมได้มีโอกาสเห็นของจริง และยังจะมีการนำโมเดลไดโนเสาร์ขนาดใหญ่มาจัดแสดงเพิ่มเติมในโถงด้านในอาคารด้วย ในโซนนี้ยังเอ่ยถึงประวัติศาสตร์สำคัญยุคต่างๆของภาคอีสาน  มีแบบจำลองการทำเหมืองเกลือหิน การขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ และมีตัวอย่างหิน สินแร่ต่างๆ
           
จากเรื่องราวของโลกในอดีตกาลและสิ่งที่อยู่ใต้ดิน ในโซน F ทั้งหมดเป็นการนำเสนอเรื่องของระบบนิเวศและป่าแบบต่างๆที่พบในภาคอีสาน ซึ่งเรียงลำดับได้ตามระดับความสูงจากน้ำทะเลปานกลาง ได้แก่ ป่าบุ่งป่าทาม ที่ราบ(ทุ่งกุลาร้องไห้) ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา โซนนี้มีการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ต่างๆ ที่แตกต่างกันมาใส่ขวดเทียบให้ดูถึงความหลากหลาย  เมื่อเงยหน้ามองตรงแผนที่โลก ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยอยู่ในเขตอบอุ่น มีแสงแดดมาก ส่งผลให้พืชสังเคราะห์แสงได้ดี ทำให้สังคมป่ามีความหลากหลายสมบูรณ์ในห่วงโซ่อาหาร  สิ่งมีชีวิตทั้งพืชสัตว์น้อยใหญ่เหล่าแมลงต่างมีมากมายหลากหลายสายพันธุ์มาอยู่ร่วมกัน
           
ในพื้นที่การวิจัย ป่าบุ่งป่าทาม น่าจะเป็นชนิดของป่าที่เราไม่ค่อยคุ้นชินคำเรียก  ป่าชนิดนี้ก็คือพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) นั่นเอง อยู่บริเวณพื้นที่รอยต่อพื้นที่บกและพื้นที่น้ำ ลักษณะของป่าในหน้าแล้งดินแตกระแหงแต่ต้นไม้ไม่ตาย หน้าฝนมีน้ำท่วม แต่ละปีจะมีดินตะกอนที่น้ำพัดพามาทับถมช่วงน้ำหลาก จึงเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ  สำหรับชาวบ้านที่ตั้งชุมชนอยู่อาศัยใกล้เคียง ป่าบุ่งป่าทามคือ แหล่งอาหารที่มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถทำนา ปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ เป็นแหล่งพืชสมุนไพร มีสัตว์ต่างๆเช่น ไก่ป่า กบ เขียด หนู หอยโข่ง หอยขม งู และแมลงต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นแหล่งอาหารพื้นบ้านที่มีโปรตีนสูง
           
สำหรับตัวอย่างที่เห็นเป็นต้นไม้ตัดให้ดูเป็นท่อน สะดุดตาที่เปลือกไม้หนา ตรงนี้เป็นป่าเต็งรัง เนื่องจากในหน้าแล้งป่าเต็งรังมักมีไฟไหม้ป่าเกิดขึ้นบ่อย ต้นไม้จึงมีการปรับสภาพให้มีเปลือกหนา เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับโครงสร้างภายในต้นไม้  อันได้แก่ท่อลำเลียงน้ำท่อลำเลียงอาหาร
           
พอขึ้นมาชั้นสองเป็นโซน Gเป็นนิทรรศการเปิดโลกมหัศจรรย์สิ่งมีชีวิต มุมที่สะดุดตาน่าสนใจเริ่มด้วย  สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอย่างแมลง ด้วยการจัดแสดงที่น่าสนใจ มีแมลงตัวเล็กๆลอยอยู่ในของเหลวกลางขวด ซึ่งเป็นเทคนิคพิเศษจากการผสมสารเคมี มีทั้งแมลงน้ำ แมลงที่อยู่ในป่าและแมลงเกษตร ตัวอย่างเช่น เหรียญน้ำ มวนวน มวนจิงโจ้น้ำเล็ก มวนคางคก มวนกิ่งไม้ ด้วงน้ำไหล ด้วงสี่ตา  ตัวอ่อนแมลงช้างปีกใส ตัวอ่อนแมลงสโตนฟลาย  เป็นต้น เนื่องจากขนาดที่เล็ก คุณมนตรีจึงชี้ให้ดูภาพวาดรายละเอียดของตัวแมลง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาเช่นเดียวกับภาพถ่าย  การนำเสนอตรงนี้ถือเป็นเทคนิคการจัดแสดงด้วยภาพวาดเชิงชีววิทยา รายละเอียดจากการวาดภาพขยายขนาดนี้เอง ทำให้สามารถแยกชนิดความแตกต่างของแมลงชนิดใหม่ๆ ได้  เทคนิคอีกอย่างในการแสดงตัวอย่างสัตว์คือการสตัฟฟ์  ในนี้มีทั้งสัตว์ป่าอย่างกวาง ลิง สัตว์เลื้อยคลานพวกเต่า สัตว์ปีกหายากแบบนกกระเรียน  ที่เป็นสัตว์ใหญ่เป็นช้างทั้งตัวก็มีให้ดูในส่วนของนิทรรศการหมุนเวียนหัวข้อพาเหรดสัตว์
           
อีกโซนหนึ่งที่จะทำให้เราเห็นภาพชัดขึ้นว่าการจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ บุคลากรในตำแหน่งช่างศิลป์มีความสำคัญมาก พวกเขาจะต้องทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ ในโซน H ให้ชื่อว่าสถาปัตยกรรมธรรมชาติ  โมเดลจอมปลวกดูน่าสนใจมาก ทำให้เห็นโครงสร้างทางเดินในรัง ได้เห็นตัวอ่อนและนางพญา โซนนี้ยังรวมเรื่องวิถีชีวิตของคนอีสานที่มีการเลี้ยงไหม แล้วนำไปทอเป็นผ้าไหมผืนงาม
           
ขณะที่เดินชมนิทรรศการชั้นบน มองลงไปตามเสียง เห็นการจัดกิจกรรมในบรรยากาศคึกคักมีวิทยากรและเก้าอี้นั่งหลายแถว  คุณมนตรีอธิบายว่าในวันเสาร์-อาทิตย์  ได้จัดกิจกรรม Science Show เป็นประจำ  มีการเลือกการทดลองในวิชาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ มาแสดงให้เด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้และเข้ามามีส่วนร่วมด้วยตนเองอย่างสนุกสนาน กิจกรรมอื่นๆ ในแผนงานยังมีอีกหลายอย่าง  เช่น One Day Camp เป็นการเข้าค่ายกิจกรรมเพียงหนึ่งวัน โดยกำหนดหัวข้อความรู้ที่น่าสนใจ อย่างเดือนกรกฎาคมคือเรื่อง “เปิดโลกธรรมชาติ:โลกของแมลงน้ำ”จะมีการนำตัวอย่างแมลงตัวสำคัญที่ค้นพบใหม่หรือมีลักษณะเด่นมาให้ดู โดยเชิญ รศ.ดร.นฤมล แสงประดับ ผู้เชี่ยวชาญด้านแมลงน้ำมาเป็นวิทยากรบรรยาย เดือนสิงหาคมเป็นเรื่อง “เปิดโลกธรรมชาติ:บอกกล่าวเล่าเรื่องเห็ด”  ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ทราบประโยชน์และโทษของเห็ด จะสังเกตอย่างไรว่าเห็ดแบบไหนกินได้แบบไหนกินไม่ได้ และได้หัดเขี่ยเชื้อเห็ดด้วยตัวเอง
           
ต่อมาเป็นโซน I ดุลยภาพระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ  มีการนำเสนอเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  จัดแสดงรถพลังงานไฟฟ้า รถไฮโดรเจน การทำเกษตรอินทรีย์ ตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง อีกส่วนหนึ่งคือ โซน J เป็นส่วนจัดกิจกรรมสำหรับเยาวชน เรียกว่า ห้องปฏิบัติการนักชีววิทยาน้อยและศูนย์ข้อมูลลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
           
อีกส่วนหนึ่งที่มีพื้นที่กว้างขวางพอสมควรคือ ส่วนจัดนิทรรศการหมุนเวียน ปัจจุบันจัดแสดงนิทรรศการพาเหรดสัตว์ โดยมีบรรดาสัตว์สตัฟฟ์หลายชนิดตั้งไว้ และภาพถ่ายสัตว์ป่าที่สวยงามตามธรรมชาติที่ดูแล้วตื่นตาตื่นใจ เป็นผลงานของท่านเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อดีตปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
           
ในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ช่วงวันหยุด  จะมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้รับการอบรม มายืนเป็นมัคคุเทศก์ประจำในแต่ละโซน คอยอธิบายเรื่องราวความรู้ให้กับผู้เข้าชม

การเดินทาง :  จากกรุงเทพฯใช้เส้นทางถนนมิตรภาพไปจนถึงจังหวัดขอนแก่น ระยะทาง 449 กม. พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถนนมะลิวัลย์ ทางเข้าอยู่ทางฝั่งบึงสีฐานทิศตะวันตก ปากทางจะผ่านหอศิลปวัฒนธรรม
----------------------------------------------------

สาวิตรี  ตลับแป้น   ผู้เขียน

ข้อมูลจาก  : 
สำรวจภาคสนามเมื่อ 18 มิถุนายน 2559
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มข.(Natural History Museum). ใบสมัครกิจกรรม One Day Camp (ค่ายกิจกรรม) “เปิดโลกธรรมชาติ:โลกของแมลงน้ำ”(ออนไลน์)แหล่งที่มา  rspg.kku.ac.th/?p=400(27 สิงหาคม 2559).
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มข.(Natural History Museum).  ใบสมัครกิจกรรม One Day Camp (ค่ายกิจกรรม) “เปิดโลกธรรมชาติ:บอกกล่าวเล่าเรื่องเห็ด”(ออนไลน์) แหล่งที่มา  rspg.kku.ac.th/?p=439(27 สิงหาคม 2559).
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติวิทยานับตั้งแต่การกำเนิดโลกสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ  โดยผู้เข้าชมสามารถมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเอง ผ่านชิ้นงานทางวิทยาศาสตร์และสื่อประสมที่สามารถโต้ตอบกับผู้เข้าชมได้ โดยเนื้อหาการจัดแสดงเน้นการนำเสนอข้อมูลทรัพยากรสำคัญที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ทั้งนี้มหาวิทยาลัยขอนแก่นสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มาตั้งแต่ พ.ศ.2540  ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา เมื่อวันพุธที่ 23 มีนาคม 2559

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นสนับสนุนงบประมาณในการสร้างนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)ในการจัดแสดงนิทรรศการส่วน Taxidermy (ศิลปะการคงรูปสัตว์ให้เหมือนมีชีวิต) รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากนักวิจัย นักวิชาการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการระดมสมองและพืชพันธุ์ไม้สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำมาจัดแสดง 

อาคารพิพิธภัณฑ์ มี 2 ชั้น แบ่งได้  9 โซน ได้แก่

โซนเอโถงต้อนรับและประชาสัมพันธ์

โซนบีแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และกิจกรรมของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ หรือ อพ.สธ.

โซนซีแสดงงานวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้ชุดโครงการ อพ.สธ.- มข. ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยความหลากหลายของทรัพยากร พืช สัตว์ จุลินทรีย์ และการนำไปใช้ประโยชน์  มีงานวิจัยเด่น คือ เรื่อง เห็ดเรืองแสง

โซนดีแสดงการกำเนิดสุริยจักรวาล ระบบสุริยะ และการกำเนิดของโลก

โซนอีแสดง วิวัฒนาการของภาคอีสาน เช่น การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก การยกตัวของพื้นดินขึ้นจากทะเล การเกิดภูเขาเพชรบูรณ์ ดงพญาเย็น และพนมดงรัก การเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของไดโนเสาร์ และการจัดแสดงหินมีค่า สินแร่ ที่สำคัญในภาคอีสาน
 
โซนเอฟแสดงระบบนิเวศและสังคมป่าแบบต่าง ๆ ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ป่าบุ่งป่าทาม  ที่ราบ  ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ  ป่าดิบแล้ง และป่าสนเขา โซนนิทรรศการหมุนเวียน นำเสนอผลงานวิจัยเด่นๆ ได้แก่ งานวิจัยอนุกรมวิธานพืช เรื่องพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย งานวิจัยไรน้ำนางฟ้า ที่พบในประเทศไทย  งานวิจัยเห็ดป่าเมืองไทย : ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์  งานวิจัยพืชสมุนไพรและการใช้ประโยชน์ 

โซนจี เปิดโลกมหัศจรรย์ของสิ่งมีชีวิต
 
โซนเอช สถาปัตยกรรมธรรมชาติ

โซนไอ ดุลยภาพระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ห้องปฏิบัติการนักชีววิทยาน้อย และศูนย์ข้อมูลลายพิมพ์

ข้อมูลจาก: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. “เคาะประตู ดูพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มข. แหล่งเรียนรู้ของคนอีสาน” https://www.kku.ac.th/news/v.php?q=0012040&l=th
ชื่อผู้แต่ง:
-