พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์


ที่อยู่:
อาคารศาลากลางหลังเก่า อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 46000
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 8.00-17.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์

ชื่อผู้แต่ง: ไพโรจน์ เพชรสังหาร | ปีที่พิมพ์: -

ที่มา: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

การนำเสนอระบบการจัดการพิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ เพื่อการศึกษาของชุมชน

ชื่อผู้แต่ง: สิรินยา จุรุเทียบ | ปีที่พิมพ์: 2546

ที่มา: กรุงเทพฯ:วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งค้นคว้า: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์

พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2545 โดยปรับปรุงอาคารศาลากลางหลังเก่า เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ผ้าไหมแพรวากาฬสินธุ์ ซึ่งในขณะนั้นได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐและเอกชนรวมถึงภาคประชาชนเป็นอย่างดี รูปแบบการจัดแสดงเป็นการจัดนิทรรศการแบบสหวิทยาการอย่างเรียบง่าย ที่เน้นการสร้างความเข้าใจในวิถีชีวิตของชุมชน โดยมุ่งให้ประชาชนเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน โดยถ่ายทอดผ่านสื่อพื้นบ้านที่หาได้ในชุมชนผสมผสานกับสื่อที่ทันสมัยในปัจจุบัน 

อาคารชั้นล่างซ้ายมือ ประกอบด้วยห้องบรรยายสรุป และห้องวิถีชีวิตชาวภูไท ภายในห้องนี้แบ่งออกเป็น2 ส่วนย่อย ส่วนแรก จัดแสดงในรูปแบบของเรือนภูไทแบบต่างๆเช่น เรือนเกย เรือนแฝด และแสดงประโยชน์ใช้สอยในส่วนต่างๆของรูปเรือน ส่วนที่สอง จัดแสดงการแต่งกายของสตรีภูไทและการสาธิตการทอผ้าไหมแพรวา

ส่วนอีกห้องหนึ่งของตัวอาคารชั้นล่างด้านซ้าย คือห้องพิพิธภัณฑ์ผ้าไหมแพรวา ห้องแพรวาราชินีแห่งไหม แบ่งการแสดงออกเป็นอีกสามส่วนคือ ส่วนที่หนึ่ง แสดงประวัติความเป็นมาของผ้าแพรวา ส่วนที่สอง แสดงวิวัฒนาการของผ้าแพรวาและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผ้าแพรวา ส่วนที่สาม เป็นห้องเฉลิมพระเกียรติพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าฯ บรมราชินีนาถ ที่มีต่อจังหวัดกาฬสินธุ์ 

ส่วนของอาคารชั้นล่างขวามือ มีห้องจัดแสดง 5 ห้อง ห้องแรก คือ ห้องพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ โดยเป็นการเล่าเรื่องราวของการขุดพบซากไดโนเสาร์และวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเมื่อ 150-200 ล้านปีที่ผ่านมาในจังหวัดกาฬสินธุ์ ส่วนห้องที่สองคือห้องผลิตภัณฑ์จากอ้อย จัดแสดงกระบวนการปลูกอ้อย จนถึงผลิตผลที่ทำมาจากอ้อยที่ส่งออกจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ในพื้นที่ของห้องที่สามเป็นห้องผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง จัดแสดงกระบวนการผลิต การปลูก และการแปรรูปไปเป็นผลิตพันธ์ต่างๆ ส่วนห้องที่สี่นั้นเป็นห้องจำหน่ายของดีเมืองกาฬสินธุ์ จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองในราคาขายส่ง ตลอดจนสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และห้องสุดท้าย เป็นห้องที่จัดแสดงผลงานจิตรกรรมของกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ อาทิเช่น ภาพพระอาทิตย์ทรงรถ ภาพจิตรกรรมไทยเรื่องทศชาติชาดก ภาพชาดก ที่มีการจัดองค์ประกอบของภาพและการลงสีน้ำเงินแบบศิลปะตะวันตก เป็นต้น

ส่วนตัวอาคารชั้นบนห้องทางด้านซ้ายมีทั้งหมดสี่ห้อง ห้องที่หนึ่ง ห้องแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง ห้องที่สองห้องวัฒนธรรม นิทรรศการจัดแบ่งห้องออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่หนึ่งแสดงวิถีชีวิตของชุมชนที่มีวัด พระสงฆ์ และหลักธรรมทางศาสนาเป็นข้อชี้นำ และในส่วนที่สองภายในห้องนี้ แสดงสภาพทางภูมิศาสตร์ของจังหวัด แหล่งน้ำที่สำคัญ การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ เครื่องมือที่ใช้ในการยังชีพ เครื่องมือล่าสัตว์ เครื่องมือการทำงานหัตถกรรมของสตรี ห้องที่สาม คือห้องตั้งเมืองและห้องที่สี่ก็คือ ห้องของเจ้าคณะจังหวัด

ในส่วนตัวอาคารชั้นบนด้านขวามีการจัดแสดงทั้งหมดห้าห้องได้แก่ ห้องเมืองฟ้าแดดสงยาง เมืองโบราณในสมัยทวาราวดี ที่มีความงดงามของรูปจำหลัก และพุทธประวัติ ห้องที่สอง เป็นห้องที่เล่าชีวประวัติของเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ตั้งแต่ยุคต้นราชวงศ์จักรี พร้อมทั้งสิ่งของพระราชทานต่างๆ ห้องที่สามห้องปลอดยาเสพติด เป็นห้องที่แสดงถึงแผนกลยุทธ์ของจังหวัดในการต่อสู้กับยาเสพติด ห้องที่สี่ ห้องคนดีศรีกาฬสินธุ์ รวบรวมประวัติบุคคลในจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ได้รับการยกย่องเชิดชู ส่วนห้องสุดท้ายห้องที่ห้า ห้องพุทธมิ่งเมืองกาฬสินธุ์ เป็นห้องที่มีการจัดแสดงพระเครื่องและวัตถุมงคลต่างๆที่สร้างไว้ในกาฬสินธุ์มากกว่า100ปี

ข้อมูลจาก : แผ่นพับพิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์

ชื่อผู้แต่ง:
-