ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้


ที่อยู่:
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ถ.จิระ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ 31000
โทรศัพท์:
0-4461-1221 ต่อ 149, 044-601618
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ 08.00-19.00 น.วันเสาร์-อาทิตย์ เปิดถึง 16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2525
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้

ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้  ตั้งอยู่ด้านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเป็นแหล่งรวบรวมและตั้งแสดงตัวอย่างของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีในแถบอีสานใต้  โดยมีที่มาจากการจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอีสานใต้” ปี พ.ศ. 2525  จากนั้นจึงมีการเสนอโครงการและแผนต่อจังหวัดเพื่อผลักดันโครงการสร้างหอวัฒนธรรมในแผนหลักของจังหวัด จนนำไปสู่การก่อตั้งเป็นศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ ภายในม.ราชภัฏบุรีรัมย์  ประกอบด้วยอาคารหลังแรกเป็นอาคารหอวัฒนธรรมสองชั้น ที่มีสถาปัตยกรรมแบบปราสาทหินเขาพนมรุ้งที่ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ หลังที่สองเป็นหอประชุม 
 
พื้นที่อีสานใต้  ในที่นี้ได้แก่บริเวณลุ่มแม่น้ำมูล  หรือแอ่งโคราช  หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  แถบทุ่งกุลาร้องไห้  อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดต่างๆคือ  นครราชสีมา  บุรีรัมย์  สุรินทร์  ศรีสะเกษ  อุบลราชธานี  และบางอำเภอของจังหวัดยโสธร  ร้อยเอ็ด  มหาสารคาม  ขอนแก่น  และชัยภูมิ   พื้นที่เหล่านี้มีชุมชนโบราณที่หนาแน่นที่สุด  และเป็นพื้นที่ที่มีอิทธิพลของวัฒนธรรมขอมแทรกกระจายอยู่อย่างหนาแน่น  มีหลักฐานสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่าปราสาทกระจายอยู่ทั่วไป  ที่สำคัญเช่น  ปราสาทหินพิมาย  ปราสาทหินพนมรุ้ง  ปราสาทเขาพระวิหาร  เป็นต้น นอกจากที่ตั้งชุมชนโบราณแล้วยังพบแหล่งเตาเครื่องเคลือบ  หรือเครื่องปั้นดินเผาแบบเคลือบซึ่งมีอายุประมาณ  800-1,200 ปี  หรืออยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-19  กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์  โดยเฉพาะที่อำเภอบ้านกรวดพบมากกว่า  200  เตา  
การจัดแสดงชั้นล่างประกอบด้วย  นิทรรศการภูมิศาสตร์แสดงสภาพภูมิศาสตร์บริเวณอีสานใต้และจังหวัดบุรีรัมย์  ซึ่งในบริเวณนี้เคยมีภูเขาไฟมาก่อน   นิทรรศการแหล่งที่ตั้งชุมชนโบราณของจังหวัดบุรีรัมย์  นิทรรศการโบราณวัตถุสมัยต่างๆ เช่น  สมัยก่อนประวัติศาสตร์  สมัยทวารวดีและสมัยลพบุรี    นิทรรศการประวัติศาสตร์ จังหวัดสุรินทร์  นอกจากนี้ตรงมุมหนึ่งยังมีโครงกระดูกช้าง  เป็นช้างของชาวบ้านที่ล้มลงแล้วนำมาบริจาคให้ที่นี่จัดแสดง  เพราะสำหรับคนในแถบนี้โดยเฉพาะชาวกูย  วิถีชีวิตของพวกเขาผูกพันอยู่กับช้าง   ส่วนห้องอื่นๆ เป็นห้องจำหน่ายของที่ระลึก  ห้องคลังโบราณวัตถุและห้องสมุด
 
การจัดแสดงชั้นบนประกอบด้วย  นิทรรศการช้างกับส่วย  จัดแสดงอุปกรณ์และเครื่องมือจับช้างป่าและเครื่องประกอบพิธีกรรมของหมอช้าง  ได้แก่  เชือกปะกำ  เครื่องรางของขลัง  เป็นต้น   นิทรรศการศาสนาและความเชื่อ  จัดแสดงพระพุทธรูปและเทวรูปสำริด  นิทรรศการผ้าและวิถีชีวิต  จัดแสดงผ้าทอฝีมือของชาวอีสานใต้  เป็นพวกผ้าลายมัดหมี่ชนิดต่างๆ  ห้องเตาเผาและเครื่องเคลือบดินเผา  โดยจำลองเตาเผาแบบโบราณที่มีค้นพบในอำเภอบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ ภายในอาคารนี้บริเวณห้องโถงกลาง  เหนือขึ้นไป  สิ่งที่โดดเด่นด้านบนคือภาพจิตรกรรมฝาผนัง  ที่เล่าเรื่องบประเพณีทั้งสิบสองเดือนของชาวอีสานใต้หรือที่เรียกว่าฮีตสิบสอง  
 
มีนิทรรศการส่วนที่จะทำให้เราได้รู้จักวิถีชีวิตในอดีตของชาวบุรีรัมย์  ซึ่งประกอบด้วย  ไทยลาว  ไทยเขมร  ไทยส่วย  และไทยโคราช  โดยจำลองวิถีชีวิตโดยใช้หุ่น  อย่างเช่น ส่วนของวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ส่วนหนึ่งของชาวบ้าน  นำเสนอเป็นหุ่นจำลองของกลุ่มเด็กเลี้ยงควาย  ที่หลังจากกินข้าวเช้าก็จะปล่อยควายออกไปเล็มหญ้า  โดยเด็กเลี้ยงควายจะมีหน้าที่ดูแลไม่ให้ควายเข้าไปกินพืชผักที่ปลูกไว้  ในช่วงมีเวลาว่าง  เด็กๆ เหล่านี้ก็จะใช้เวลาในการวิดปลา  ยิงนก ขุดหาสัตว์หรือดักสัตว์  ถัดไปก็เป็นการจำลองสภาพหมู่บ้านและสถาปัตยกรรมของบ้านอีสาน(โดยใช้ดินเผาในการจำลอง)  จากนั้นก็เป็นการจัดแสดงสภาพของครัวแบบอีสาน  โดยชาวอีสานเรียกครัวว่าเรือนไฟ  เพราะใช้ถ่านและฟืนเป็นเชื้อเพลิง  ซึ่งครัวจะแยกออกจากเรือนใหญ่  ฝาครัวนิยมสร้างให้โปร่งโดยใช้ไม้ไผ่จักสาน  นอกจากนี้ก็มีการจัดแสดงเครื่องดนตรีอีสาน  อีกส่วนหนึ่งก็เป็นเครื่องมือล่า  ดัก  จับสัตว์ของชาวอีสาน    นอกจากนี้ยังมีวัตถุโบราณที่มีการขุดค้นพบในบริเวณจังหวัดบุรีรัมย์วางจัดแสดง  ได้แก่  เครื่องปั้นดินเผาจำพวกไห  เทวรูปแกะสลักจากหิน  เครื่องถ้วย   เป็นต้น   
 
สำหรับส่วนจัดแสดงวัตถุโบราณซึ่งส่วนใหญ่เป็นไหดินเผาวางตั้งไว้อยู่เป็นจำนวนมาก   ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์มีความกังวลเรื่องความปลอดภัยของวัตถุโบราณเหล่านี้ที่ตั้งไว้โดยไม่มีตู้กระจกที่ปลอดภัย  และจำนวนคนที่ดูแลที่นี่ก็มีเพียงสามคนที่ต้องผลัดเปลี่ยนกัน ในอนาคตได้วางแผนเอาไว้ว่าจะเพิ่มเติมในส่วนการจัดแสดงเรื่องประวัติศาสตร์บุรีรัมย์  โดยงบประมาณจะได้มาจากมหาวิทยาลัยและทางจังหวัด 
 
สาวิตรี  ตลับแป้น /ผู้เขียน 
ข้อมูลจาก  :  
สำรวจภาคสนามเมื่อวันที่  28   เดือนมกราคม  พ.ศ.2553
http://intranet.m-culture.go.th/buriram/central.html[accessed20070216]
ชื่อผู้แต่ง:
-