ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวด โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร


ชื่อเรียกอื่น:
พิพิธภัณฑ์เครื่องเคลือบโบราณ อำเภอบ้านกรวด โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร
ที่อยู่:
โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร เลขที่ 144 หมู่ 4 ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ 31180
โทรศัพท์:
0-4467-9098, 0922769979
วันและเวลาทำการ:
กรุณานัดหมายล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
่bv_144ssbr32@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2526
ของเด่น:
เครื่องเคลือบดินเผา
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวด โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคา...

โดย: ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวด โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร

วันที่: 24 สิงหาคม 2564

ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวด โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคา...

โดย: ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวด โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร

วันที่: 24 สิงหาคม 2564

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวด

คุณครูสุวรรณา บาลโสง รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคารในขณะนั้น เป็นบุคลากรในท้องถิ่นท่านหนึ่ง ที่เป็นผู้พบเห็นเหตุการณ์การทำลายโบราณสถาน โบราณวัตถุมาตลอดมา และด้วยความรักและหวงแหนในสิ่งที่เป็นรากเหง้าของท้องถิ่นทำให้เกิดแรงบันดาลใจ ความกล้าที่จะปรับความรู้สึกต่อชุมชนให้เห็นว่า ที่กำลังทำลงไปนั้นเป็นสิ่งที่ชุมชนควรตระหนักถึงคุณค่าของมัน ถ้าเราเห็นแต่เพียงประโยชน์อันน้อยนิดไม่นาน สมบัติของชาติ ของท้องถิ่น ของชุมชน ที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ก็จะหมดไป

ในที่สุดคุณครูสุวรรณา บาลโสง ได้ชักชวนคณะครูในโรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคารทุกคน ดำเนินงานรวบรวมโบราณวัตถุจากชุมชน โดยเริ่มจากใกล้บ้านไปไกลบ้าน และขอความร่วมมือแบบให้เปล่าบ้าง ให้สินน้ำใจบ้าง แล้วเราก็มีศูนย์รวมร่องรอยอารยธรรมโบราณในท้องถิ่น ที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนรวมของชุมชนขึ้นมา

โดยช่วงแรกจะเก็บรักษาและบริการเข้าชมอยู่ที่ อาคารเรียนโรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร พิพิธภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นบ้านกรวด มีที่ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร เลขที่ 144 หมู่ 4 ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ โดยคณะทำงานของโรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร ได้ดำเนินการเมื่อพ.ศ. 2547  ซึ่งลักษณะของอาคารเป็นแบบร่วมสมัย เริ่มก่อสร้างและแล้วเสร็จ ระหว่าง ปี พ.ศ.2547-2548  และดำเนินงานบริการตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา บนพื้นฐานการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมตามผังบริหาร ภายใต้กลยุทธ์ในการพัฒนาการให้บริการ ร่วมกับชุมชนในการวางแผนการพัฒนา และได้ตั้งเป้าหมายให้เป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นที่มีส่วนร่วมอย่างเต็มรูปแบบภายในปีพ.ศ. 2565 และพิพิธภัณฑ์อำเภอบ้านกรวดเปิดให้เข้าชมและศึกษาแหล่งเรียนรู้ดังกล่าว ตั้งแต่เวลา 8.30-16.00 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ โดยมีเจ้าหน้าที่บริการข้อมูลทั้งจากชุมชนและเจ้าหน้าที่จากโรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร

ชื่อผู้แต่ง:
ณัฐกฤตา สิริวงษ์สุวรรณ

รีวิวของศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวด

พื้นที่ในอำเภอบ้านกรวดในจังหวัดบุรีรัมย์และอำเภอใกล้เคียงจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี เป็นดินแดนของอีสานตอนใต้ติดเขตกัมพูชา มีภูเขาดงเล็กเป็นเส้นกั้นอาณาเขต ในอดีตท้องถิ่นอำเภอบ้านกรวดเป็นชุมชนเขมรดั้งเดิม เรียกว่าเขมรป่าดง บ้านกรวดมีลักษณะพิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือเป็นอำเภอเล็ก ๆ ที่อยู่ติดแนวชายแดนไม่มีอะไรนอกจากป่าไม้ดงดิบที่ทึบหนา ประมาณ ปี พ.ศ.2503 ทางการได้ไปจัดนิคมให้ประชาชน  ทำให้มีคนจากทุกสารทิศไหล่บ่าเข้าไปจับจองที่ทำมาหากิน มีการขุดโค่นต้นไม้ถางป่า  หลังจากนั้นก็มีการขุดพบเครื่องเคลือบคือ จำพวกไห คนโท ฯลฯ
 
ในอดีตบ้านกรวดเคยเป็นแหล่งผลิตเครื่องเคลือบที่ใหญ่ที่สุดของอาณาจักรขอมโบราณ  ในท้องที่อำเภอบ้านกรวด อำเภอละหานทราย อำเภอประโคนชัย และบางส่วนของอำเภอกาบเชิงรวมกัน  พบเตาเผาเครื่องเคลือบประมาณ 300 กว่าเตา  แต่ในกัมพูชาเองกลับไม่พบร่องรอยของการเผาหรือเตาเผา  ซึ่งนักโบราณคดีสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-19 โดยเตาเผาเหล่านี้ ได้ผลิตเครื่องถ้วยเขมร เพื่อเป็นสินค้าป้อนให้กับเมืองต่างๆ ในกัมพูชา และในภูมิภาคต่างๆ โดยมีการทำอุตสาหกรรมขนาด ใหญ่โต และขยายขอบเขตการผลิตไปยังพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย 
คุณพิมาน บาลโสง เจ้าหน้าที่ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวดเล่าว่า หลังจากที่มีการขุดค้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2522 คนทั่วไปเริ่มรู้จักบ้านกรวดมากขึ้น มีการเข้ามาขุดค้นและขายโบราณวัตถุอย่างเป็นล่ำเป็นสัน  บรรทุกกันจริง ๆ เป็นคันรถ 10 ล้อ  ขนออกไปไม่รู้เท่าไรต่อเท่าไร หลังจากนั้นมาของดี ๆ คนเขาก็เอาไปจำหน่ายกัน  ส่วนของที่เหลือ ๆ ไม่มีคนซื้อแล้ว คุณพิมานและภรรยาได้พยายามช่วยกันเก็บอนุรักษ์ไว้  คุณพิมานบอกว่ารู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นผู้เริ่มต้นเก็บรวบรวมเมื่อประมาณ พ.ศ. 2526 ปัจจุบันมีทั้งสิ้นประมาณไม่ต่ำกว่า 500 ชิ้น เก็บไว้ที่โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร  

การที่ได้เก็บรวบรวมและรักษาเอาไว้นี้ก่อให้เกิดผลตามมาหลายอย่างคือ  สยามสมาคมได้นำชาวต่างประเทศเข้ามาเยี่ยมชม ทำให้บ้านกรวดเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เพราะที่บ้านกรวดเป็นแหล่งผลิตเครื่องเคลือบที่ใหญ่ที่สุดของอาณาจักรขอม  ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้นำคณะคณาจารย์แล้วก็คณะนักเรียนนายร้อย จปร. เข้าเยี่ยมชม เป็นความภูมิใจของชาวบ้านที่เกิดขึ้นหลังจากเมื่อครั้งแรกเคยขุดได้ขาย อันไหนขายไม่ได้ เหยียบทิ้งทำลายทิ้งไป  เราก็ไปเก็บมาไว้ นาน ๆ เข้า ชาวบ้านเริ่มรู้เห็นคุณค่าของสิ่งของเหล่านี้  ขณะนี้ทุกคนในท้องถิ่นเกิดความภาคภูมิใจร่วมกัน  มีการจัดงานประจำปีที่ยิ่งใหญ่ของอำเภอบ้านกรวดนั่นคือ "งานเครื่องเคลือบพันปีประเพณีบ้านกรวด" จัดมา 11 - 12 ปีแล้ว 
 
นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรท้องถิ่นสอนทำเครื่องปั้นดินเผาสำหรับนักเรียน โดยอาศัยรูปแบบเดิม ๆ มาปั้นแล้วเผา ขณะนี้ได้ทำเป็นของชำร่วย ของที่ระลึก ในอนาคตหวังว่าจะส่งเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนต่อไป  
 
การปรับปรุงและขยายพิพิธภัณฑ์เริ่มต้นขึ้นในปีพ.ศ.2548 โดยก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ด้วยงบประมาณ CEO  ซึ่งนายทวีศักดิ์ คิดบรรจง เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้น เปิดทำการเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2550 โดยผู้ว่าราชการจังหวัด นายก้องเกียรติ อัครประเสริฐกุล พิพิธภัณฑ์ยังทำหน้าที่เช่นเดิมคือเป็นแหล่งเก็บเครื่องเคลือบดินเผาโบราณ จากกลุ่มเตาเผาต่างๆ โดยยังคงตั้งอยู่ภายในโรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคารได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้จัดสร้างเตาเผาเครื่องเคลือบดินเผา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครและมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้บริจาคเครื่องมือผลิตและแหล่งให้ความรู้โดยมีบุคลากรที่ให้ความรู้คือ นายพิทยา จารุวงษ์เสถียร ตำแหน่งครู คศ.2 ชำนาญการ 
 
ข้อมูลจาก:
การประชุมเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร วันที่27 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2546  ณ โรงแรมตักสิลา และสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช สถานีปฏิบัติการนาดูน  จังหวัดมหาสารคาม
แผ่นพับประชาสัมพันธ์ ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวด
ชื่อผู้แต่ง:
-