ชื่อผู้แต่ง: ณัฐพงศ์ (ศุภชัย) อรชร | ปีที่พิมพ์: 7 สิงหาคม 2554
ที่มา: บ้านเมือง
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
จ. นครราชสีมา
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดโคกศรีสะเกษ
วัดโคกศรีสะเกษเป็นวัดเก่าแก่ อุโบสถเก่าสร้างขึ้นในราวพ.ศ. 2332 ล้อมรอบพระอุโบสถมีใบเสมาจารึกเป็นภาษาขอม ใกล้กันมีศาลาไม้ที่ภาพจิตรกรรมเขียนไว้บนเพดาน ฝีมือช่างพื้นบ้านที่บรรจงเขียนภาพสีธรรมชาติ เป็นภาพเกี่ยวกับจินตนาการสัตว์ป่าหิมพานต์ ตรงมุมหลังคาด้านหนึ่งมีสลักจารึกไม่ปรากฏนามศิลปิน มีเฉพาะปีที่วาดภาพคือ พ.ศ.2446 ศาลาไม้หลังนี้อยู่ระหว่างอาคารพิพิธภัณฑ์และอุโบสถเก่า ชาวบ้านเรียกศาลานี้ว่า หอแจก หรือโรงทานท่านเจ้าอาวาสเล่าว่าก่อนหน้าปีพ.ศ. 2544 ทางวัดใช้กุฏิเก่าเป็นที่เก็บพระพุทธรูปโบราณ พระพุทธรูปคู่บ้าน กับเครื่องทองเหลืองและวัตถุโบราณมีค่าอื่นๆ แต่ก็เกิดความขัดแย้งระหว่างวัดกับชาวบ้าน ด้วยว่าชาวบ้านส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยที่ทางวัดจะนำสิ่งของโบราณออกมาจัดแสดง เนื่องจากกังวลว่าจะถูกลักขโมย แต่แล้วทุกฝ่ายก็ต้องสูญเสียโบราณวัตถุเนื่องจากอัคคีภัย ดังนั้นสิ่งที่เก็บอยู่ในอาคารพิพิธภัณฑ์ ณ ปัจจุบัน จึงเป็นวัตถุบางชิ้นที่เหลืออยู่ซึ่งมีไม่มาก สิ่งของเหล่านี้เก็บรวมกับของใหม่ที่ท่านพระครูไปหามาและมีคนนำมาบริจาคให้ อย่างเช่น ถ้วยชามลายเบญจรงค์ ตะลุ่มสำหรับใส่สำหรับอาหารถวายพระ ขันสำหรับพิธีรดน้ำ ตะคุใส่น้ำ อูบใส่อาหาร กระติบข้าวเหนียว เครื่องปั้นดินเผาของอำเภอด่านเกวียน สิ่งที่สะดุดตามากที่สุดเมื่อเดินเข้าไปในพิพิธภัณฑ์คือ ธรรมาสน์ ซึ่งมีทั้งเก่าและใหม่ ใช้ในงานเทศน์มหาชาติ นอกจากนี้ยังมีกระเชอขนาดใหญ่ ใช้สำหรับใส่ข้าวเปลือกข้าวสาร ส่วนของใช้พื้นบ้านสมัยก่อนที่เราไม่เห็นใครใช้กันแล้วจะเก็บอยู่ในตู้ มีเชี่ยนหมาก ตะเกียง กระพรวน กระบอกไม้ใส่เอกสาร โกศใส่กระดูก ผ้าไหม
ด้านนอกอาคารเป็นสวนป่า มีพันธุ์ไม้ต่างๆ กว่า 500 ชนิด มีเส้นทางเดินผ่านพรรณไม้ในสภาพของความร่มรื่นมีชีวิตชีวา ท่านเจ้าอาวาสเป็นผู้นำชม โดยท่านจะยกตัวอย่างพันธุ์พืชแต่ละชนิดอย่างพร้อมสรรพคุณและประโยชน์ใช้สอย ที่โดดเด่นมากคือ ต้นลาน เชื่อว่าการที่วัดไหนมีต้นลาน นั่นแสดงว่าวัดนั้นมีนักปราชญ์ เพราะพระจะนำใบลานมาเขียนหนังสือ สำหรับต้นลานที่นี่ถือว่าต้นใหญ่มาก ขนาดที่ต้องแหงนคอตั้งบ่าจึงจะเห็นเรือนยอด นอกจากนี้ในบริเวณวัดยังมีเรือนไม้กับศาลาครึ่งวงกลมในรูปแบบสวยงามมีเอกลักษณ์ เป็นเรือนพักรับรองสำหรับคนที่เดินทางมาจากที่ไกลๆ และต้องการพักค้างคืน มานั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กัน รูปแบบของสิ่งก่อสร้างที่เห็นท่านพระครูเป็นผู้ออกแบบด้วยตนเอง
ในประเพณีสำคัญของท้องถิ่น วัดนี้จะเป็นศูนย์กลางในการจัดงาน โดยบางครั้งจะได้รับเงินสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น วันงานข้าวหลาม วันสำคัญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ งานประเพณีเทศน์มหาชาติ งานประเพณีสลากภัต เป็นต้น
ข้อมูลจาก : สำรวจภาคสนามเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2552
สาวิตรี ตลับแป้น /ผู้เขียน
ข้อมูลจาก : สำรวจภาคสนามเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2552
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา ธรรมาสน์ วัดโคกศรีสะเกษ สวนป่า กระเชอ
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหลุ่งประดู่ (ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มไหมไทย)
จ. นครราชสีมา
พิพิธภัณฑ์เกวียน
จ. นครราชสีมา
สวนทุ่งลุงพี
จ. นครราชสีมา