โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของหอวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
จากถนนด้านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อาคารไม้เป็นเรือนแถวขนาดใหญ่มองเห็นระเบียงทั้งชั้นบนและชั้นล่าง จะมองเห็นตัวหนังสือขนาดใหญ่เขียนว่า สำนักศิลปะและวัฒนธรรม การจัดแสดงชั้นล่างเป็นห้องเมืองนครราชสีมา แสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ สมัยทวารวดี สมัยลพบุรี สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์
ส่วนชั้นบนแบ่งเป็น 5 ห้อง ได้แก่ ห้องจริยธรรม ห้องพุทธศาสตร์ ห้องดนตรีและศิลปกรรม ห้องประวัติมหาวิทยาลัย ห้องเพลงโคราช นอกจากนี้ยังมีบ้านโคราชเป็นเรือนไทยหลังเล็กตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าอาคาร จัดแสดงเครื่องใช้เครื่องจักสานในครัวเรือนสมัยก่อน
ผู้นำชมคือ อาจารย์สุชาติ พิมพ์พันธ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายหอวัฒนธรรมและหอศิลป์ อาจารย์บอกว่าบริเวณชั้นล่าง ผู้เข้าชมจะได้เห็นภาพรวมของเมืองนครราชสีมา การนำเสนอแบ่งออกเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีการพบภาพเขียนสีเขาจันทน์งาม แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท โนนอุโลก โนนวัด วัตถุโบราณที่จัดแสดง บางส่วนจำลองขึ้นมา บางส่วนเป็นของจริงที่มีชาวบ้านบริจาคให้มา อย่างโครงกระดูกที่นอนอยู่ ซึ่งดูแล้วเหมือนจริงมาก อาจารย์สุชาติบอกว่าอันนี้จำลอง หรืออย่างธรรมจักรศิลาในยุคทวารดี อันนี้ก็ทำจำลองจากของจริงที่วัดธรรมจักรเสมาราม อำเภอสูงเนิน
ส่วนที่มีเศียรพระพุทธรูป และบรรดาหินแกะสลักตามแบบฮินดูเป็นศิลปะสมัยลพบุรี ส่วนศิลปะสมัยอยุธยาคือหน้าบันทำด้วยไม้แกะสลัก ได้มาจากโบสถ์เก่าของวัดบูรพา ห้องชั้นในสุดเป็นเรื่องราวโคราชในยุครัตนโกสินทร์ ด้านหน้ามีรูปจำลองอนุสาวรีย์ท่านท้าวสุรนารีหรือคุณหญิงโม ถัดไปเป็นซุ้มประตูเมืองจำลอง ภายในห้องนี้มีสิ่งของที่น่าสนใจหลายอย่าง อาทิ หม้อข้าวสมัยก่อน ภาชนะรูปสัตว์ใช้เก็บยา ผ้าไหมหางกระรอก ข้าวของเครื่องใช้ในสมัยก่อน หนึ่งในนั้นมีรูปคุณยายยี่สุ่นที่ลูกหลานได้นำข้าวของเครื่องใช้ของคุณยายมาบริจาคไว้ที่นี่ด้วย
ถ้ากล่าวถึงวัฒนธรรมพื้นบ้านที่โดดเด่นและยังดำเนินมาจนถึงปัจจุบันของเมืองโคราช สิ่งที่ต้องเอ่ยถึงคือ เพลงโคราช บริเวณชั้นบนของห้องใหญ่ริมสุดทำเป็นชมรมเพลงโคราช ตรงส่วนนี้จัดให้เป็นสถานที่ของครูเพลง หมอเพลงหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้มานัดพบกันพูดคุยกันถึงเรื่องต่างๆ ตรงส่วนนี้ยังมีรูปปั้นชายหญิงเป็นจำนวนมาก รูปปั้นแต่ละตัวสวมชุดพื้นเมืองพร้อมกับอยู่ในท่ารำในแต่ละท่าที่ใช้ประกอบการเล่นเพลงโคราช โดยแต่ละท่าจะมีตัวหนังสือเขียนบอกไว้ ใกล้กันเราจะเห็นภาพถ่ายของครูเพลงและหมอเพลงที่ถ่ายรูปร่วมกัน ปัจจุบันเราจะได้ชมการขับร้องและการเล่นเพลงโคราชอยู่ที่งานบุญ งานเทศกาลประจำปี ที่มีเป็นประจำก็ที่อนุสาวรีย์ย่าโม ในโอกาสที่มีคนไปบนบานและได้ในสิ่งที่ตนต้องการ การแก้บนมักจะจ้างเพลงโคราชมาเล่น นอกจากนี้การบนบานตามวัดต่างๆ ในโคราชก็มักจะนิยมแก้บนด้วยเพลงโคราชเช่นกัน เพลงโคราชมีอยู่ด้วยกันหลายคณะ การว่าจ้างขึ้นกับว่าจะต้องการผู้เล่นกี่คู่ โดยส่วนใหญ่แต่ละคณะจะมีสำนักงานอยู่ในซอยเล็กๆ ของตัวเมือง
ลักษณะเฉพาะของเพลงโคราช อยู่ที่การไม่มีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ความไพเราะอยู่ที่น้ำเสียงประกอบกับฉันทลักษณ์ของถ้อยคำสัมผัส ความสวยงามอยู่ที่การร่ายรำ ผู้เล่นจะมีลูกรับลูกส่งกัน เนื้อหาของเพลงมีหลากหลายมีทั้งการเกี้ยวพาราสี วิถีชีวิต ข้อคิดและธรรมมะ ถ้าเป็นการเล่นถวายย่าโมจะเน้นที่การสดุดีวีรกรรมของย่าโม
กิจกรรมต่างๆ ของที่นี่มีมากมาย อาทิ การจัดนิทรรศการ การเข้าค่ายปฏิบัติธรรม การตั้งวงโปงลางของนักศึกษาซึ่งได้รับความนิยมมาก วงนี้จะเล่นในงานของมหาวิทยาลัย บางครั้งกระทรวงวัฒนธรรมจะเชิญไปแสดงถึงต่างประเทศ ที่เคยไปคือยูเครน เวเนซูเอลา มาเลเซีย
ที่นี่ยังมีส่วนในการทำวิจัยและการติดตามการค้นพบแหล่งโบราณคดีแห่งใหม่ที่บ้านโนนวัด อำเภอโนนสูง ปัจจุบันมีการค้นพบโครงกระดูกมนุษย์พร้อมกับวัตถุสิ่งของอื่นเป็นจำนวนมาก เท่าที่เจอแล้วมากกว่า 500 โครงกระดูก คาดกันว่ามีอายุประมาณ 4500 ปี ทีมขุดค้นมีทั้งของกรมศิลปากรและทีมวิจัยของต่างประเทศ ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาได้ประสานงานกับชุมชน อบต. ทางอำเภอ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน โดยต้องการให้ที่นี่เป็นศูนย์การเรียนรู้ มีหลักสูตรท้องถิ่นที่เป็นบริบทของชุมชน เป็นเรื่องราวของวิถีชีวิตของบรรพบุรุษที่เคยอยู่ตรงนั้น ทางชุมชนเองก็มีความกระตือรือร้น มีการร่วมมือกันทั้งจากทางวัดและชาวบ้าน มีการทอดผ้าป่าเพื่อระดมทุนไปซื้อที่ดินใกล้กับหลุมขุดเพื่อจะสร้างเป็นตัวอาคารเพื่อทำศูนย์เรียนรู้และนิทรรศการที่เป็นของชุมชนเอง
การได้มาทำความรู้จักกับหอศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พบว่าการเรียนรู้นั้นสามารถขยายออกไปได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ทั้งเรี่องของกาลเวลาที่เราได้รู้ว่าเมืองโคราชมีหลักฐานทางโบราณคดีย้อนไปได้ถึง 4000 ปี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อีกทั้งสถาบันการศึกษาแห่งนี้ยังได้ขยายองค์ความรู้ ด้วยการส่งเสริมและเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในสิ่งที่ค้นพบ ที่ในอนาคตจะเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้เด็กๆและเยาวชนได้สืบทอดเรียนรู้กันต่อไป
สาวิตรี ตลับแป้น / ผู้เขียน / ถ่ายภาพ
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา เอกสารโบราณ ประวัติเมือง บ้านโนนวัด เพลงโคราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โคราช
บูรพาจารย์เจดีย์ วัดป่าสาลวัน
จ. นครราชสีมา
ศูนย์วัฒนธรรมพื้นบ้านปักธงชัย โรงเรียนปักธงชัยประชานิรมิต
จ. นครราชสีมา
ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคอง
จ. นครราชสีมา