พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดเขากระโดน


ที่อยู่:
เลขที่ 46 หมู่ 6 ต.ชากโดน อ.แกลง จ.ระยอง 21110
โทรศัพท์:
0-3886-0375
โทรสาร:
0-3865-7808
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2535
ของเด่น:
ทองหนวดกุ้ง จับปิ้ง(จิ๊บปิ้ง) นาฬิกาแดด เป็นต้น
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดเขากะโดน

ชื่อผู้แต่ง: วิชญดา ทองแดง | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2547)

ที่มา: วารสารเมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดเขากระโดน

วัดเขากระโดนเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 4 ห่างจากที่ว่าการอำเภอแกลง ประมาณ 14 กิโลเมตร เคยได้รับคัดเลือกให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น ในปี 2535 และเป็นอุทยานการศึกษา วัดนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนพระครูนิวาสธรรมสาร (หลวงพ่อโต) พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในจังหวัดระยอง 
 
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดเขากระโดนริเริ่มโดยพระครูพิทักษ์วิริยาภรณ์ หรือพระมหาเพียร ปัญญาทีโป เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ท่านเป็นคนในท้องถิ่นวัดเขากระโดน แต่ได้ไปศึกษาเล่าเรียนในมหาวิทยาลัยสงฆ์และจำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมคงคา กรุงเทพมหานครนานถึง 17 ปี จนกระทั่งเมื่อเจ้าอาวาสองค์เดิมมรณภาพ ญาติโยมทางบ้านจึงได้พากันนิมนต์ท่านกลับไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเขากระโดน  ท่านเป็นพระนักพัฒนา และช่วยเหลืองานราชการอย่างมาก โดยเฉพาะด้านการศึกษา ท่านได้เริ่มสะสมเครื่องสีข้าวเก่า จากนั้นชาวบ้านนำของใช้ ข้าวของนานาชนิดมาถวายเพิ่มเติม จนทำเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา โดยท่านได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิแห่งหนึ่งจากประเทศเนเธอร์แลนด์
 
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือห้องมรดกไทยตั้งอยู่ชั้นใต้ดินของโบสถ์ วัตถุที่จัดแสดงมีหลากหลาย อาทิ พระพุทธรูปปางสมาธิเนื้อโลหะ ซึ่งเป็นพระประธานในอุโบสถหลังเก่า พระพุทธรูปบูชาต่างๆ ตู้คัมภีร์ เครื่องปั้นดินเผา ถ้วยชามสังคโลก หนังตะลุง เครื่องใช้ภายในบ้านที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว เช่น โทรทัศน์ วิทยุ ผู้สนใจยังสามารถชมวิดีโอเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาเบื้องต้นของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นได้อีกด้วย นอกจากการจัดแสดงภายในตัวอาคารแห่งนี้แล้ว ยังมีโรงเรือนกลางแจ้งด้านนอกใกล้กับกำแพงทางเข้าวัด จัดแสดงเครื่องมือกสิกรรม และเกวียนรูปแบบต่าง ๆ ด้วย
 
ลักษณะประการหนึ่งของที่วัดนี้ คือความเป็นพระนักพัฒนาของหลวงพ่อ นอกจากทำพิพิธภัณฑ์แล้ว ท่านยังเปิดสอนดนตรีไทย  ศิลปะการผูกผ้าประดับงานพิธีต่าง ๆ  การเขียนป้ายโฆษณาอักษรวิจิตร พิมพ์ดีด คอมพิวเตอร์ ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อมโลหะ เนื่องจากท่านเห็นว่าเป็นการสร้างโอกาส และเพิ่มศักยภาพให้กับเด็ก ๆ ในละแวกนั้น  ให้มีทางเลือกในชีวิตมากขึ้น  ที่น่าสนใจคือ ในเรื่องของการที่ริเริ่มสอนดนตรีไทย ท่านบอกว่าเพราะ "ลมมันเปลี่ยนทิศ" สมัยนี้ตื่นตัวเรื่องอนุรักษ์มรดกไทยกันมาก คนที่เล่นดนตรีไทยได้  โดยเฉพาะถ้าถึงขั้นเก่ง ก็คือ "ช้างเผือก" ที่โรงเรียน สถาบันการศึกษาต่าง ๆ อยากจะรับเข้าเรียนและแย่งกันจองตัว ขณะที่เมื่อก่อนไม่มีใครสนใจ  ดนตรีไทยสำหรับท่านจึงเป็นทั้งกิจกรรมการอนุรักษ์วัฒนธรรม และเป็นทุนทางวัฒนธรรมสำหรับความก้าวหน้าทางการศึกษาและทางสังคมของเด็ก ๆ
ความที่ท่านเจ้าอาวาสเป็นพระนักพัฒนานั้น นอกจากจะทำพิพิธภัณฑ์ จัดสอนทักษะต่าง ๆ แล้ว ท่านยังทำหอกระจายข่าว สวนวรรณคดี สวนป่าสมุนไพร ซึ่งทำให้วัดนี้เป็นอีกที่หนึ่ง ที่จะมีป้ายทางการนานาชนิดติดอยู่ โดยที่บอกได้ยากว่าป้ายกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นนั้นสัมพันธ์กันอย่างไร เราได้รับคำอธิบายว่า มักจะเป็นการให้งบประมาณก้อนเล็ก ๆ มา แล้วก็ขอเอาป้ายมาติด  หลังจากนั้นก็มิได้มีอะไรเกิดขึ้นอีก

สำรวจภาคสนาม วันที่ 11 กรกฎาคม 2548
ชื่อผู้แต่ง:
-