พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดบางแตน


ที่อยู่:
วัดบางแตน อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี 25150
โทรศัพท์:
037-295179,037-295185
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ปราจีน: เมืองศรีมโหสถ มรดก 3 อุทยานแห่งชาติ

ชื่อผู้แต่ง: ณัฐภัสสร ลี | ปีที่พิมพ์: 2542

ที่มา: กรุงเทพฯ: แสงปัญญาเลิศ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ต้นกล้าริมฝั่งบางปะกง ที่บางแตน

ชื่อผู้แต่ง: ภูวดล สุวรรณดี | ปีที่พิมพ์: 23-29 มีนาคม 2544

ที่มา: สยามรัฐสัปดาวิจารณ์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดบางแตน

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดบางแตน ตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำบางปะกง  เดิมชื่อวัดสีลาดสัดทาทำ เป็นวัดเก่าแก่ก่อตั้งมานานกว่า 200 ปี ครั้นที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราช เสด็จมาตรวจคณะสงฆ์มณฑลปราจีนบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีรับสั่งให้ใช้ชื่อวัดตามตำบลที่ตั้งอยู่ จึงได้ชื่อวัดบางแตนตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา  
 
พระครูโกศลถาวรกิจ  เจ้าอาวาสวัดบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี  เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดบางแตนขึ้นมา เริ่มจากการเก็บเล็กผสมน้อยจากของที่มีอยู่ในวัด และรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ในการเกษตรโดยการขอซื้อและบริจาคจากชาวบ้าน ด้วยความกลัวว่าอนาคตจะไร้รากหากขาดอดีต หลวงพ่อจึงได้เก็บรวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านอันเป็นเครื่องแสดงถึงประเพณี วิถีชีวิต และสังคมของชาวบ้านบางแตนในอดีต มาจัดแสดงไว้ให้ศึกษากันในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดบางแตน 
 
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดบางแตน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นอาคารถาวร 2 ชั้น จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้และศิลปวัตถุต่างๆ ของวัด เช่น พระพุทธรูป ถ้วยโถโอชามต่างๆ เรือบิณฑบาตที่รัชกาลที่ 5 พระราชทานให้อดีตเจ้าอาวาสวัดบางแตน คราที่ได้เสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2451 ได้ทรงแวะประทับแรมที่วัดแห่งนี้ ตลอดจนเครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักสาน ตะเกียงเจ้าพายุ โดยมากเป็นของจากต่างถิ่นโดยเฉพาะกรุงเทพฯ  เนื่องจากวัดนี้เป็นวัดเก่าและสำคัญมาแต่โบราณ ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมสายหลัก จึงเป็นวัดที่สัมพันธ์กับคนต่างถิ่นอยู่เสมอ 
 
อีกส่วนหนึ่งเป็นโรงไม้ยาวที่จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน แบ่งตามการใช้สอย เช่น เครื่องมือทำนา เครื่องมือหาปลาและเรือยาว ที่บอกเล่าสภาพการดำรงชีวิตของชาวบางแตนในอดีต  ด้วยเหตุนี้พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดบางแตนจึงเป็นแหล่งความรู้ประจำท้องถิ่น ที่ให้การศึกษาให้ทราบถึงตัวตนของบ้านบางแตนทั้งภายในและภายนอก แม้ขณะนี้จะยังไม่มีการให้คำอธิบายของที่จัดแสดงแต่ละชิ้นก็ตาม 
 
ข้อมูลจาก: การสำรวจภาคสนามวันที่ 4 พฤศจิกายน 2546
ชื่อผู้แต่ง:
-