พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดต้นแก้ว


ที่อยู่:
วัดต้นแก้ว เลขที่ 179 หมู่ 3 ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน 51000
โทรศัพท์:
0-5351-2007,081-7062612
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 9.00-15.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ผ้าทอเวียงยอง : ลายผ้าทอในศตวรรษที่ 26

ชื่อผู้แต่ง: ดรุณีนาถ นาคคง. | ปีที่พิมพ์: ฉบับที่ 3 (พ.ค.-ก.ค. 2527) : หน้า 101

ที่มา: ศิลป

แหล่งค้นคว้า: มศก. วังท่าพระ

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เหตุเกิดที่วัดต้นแก้ว ประวัติศาสตร์ฉบับเดินดินกิน ‘แอ๊บปลา’

ชื่อผู้แต่ง: อัครวิทย์ ชูเกียรติศิริชัย | ปีที่พิมพ์: 21 ตุลาคม 2553

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ยกดอก ออกนอก

ชื่อผู้แต่ง: พรชัย จันทรโสก | ปีที่พิมพ์: 20 ตุลาคม 2553

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น: พื้นที่ของการให้ความหมายและการรับรู้ต่ออดีตของลำพูน

ชื่อผู้แต่ง: อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล | ปีที่พิมพ์: เมษายน 2553;April 2010

ที่มา: วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 09 พฤศจิกายน 2558


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดต้นแก้ว

วัดต้นแก้ว สันนิษฐานว่าย้ายมาจากวัดดอนแก้ว ซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ.1825 เป็นวัดที่สร้างในสมัยพระนางเจ้าจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งนครลำพูน เริ่มสร้างเมืองลำพูน เหตุที่ย้ายมาเนื่องจากวัดดอนแก้วเป็นวัดใหญ่ที่ขาดการดูแลรักษาจึงผุพังไปตามกาลเวลา จึงได้ย้ายมาสร้างวัดต้นแก้วขึ้นใหม่โดยมีแม่เฟย พร้อมผู้มีศรัทธาช่วยกันก่อสร้างวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.1830 
 
พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว หรือพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง ประกอบด้วย 3 อาคาร ได้แก่ กุฏิเจ้าอาวาสเดิม อาคารพิพิธภัณฑ์หลังใหม่ และเรือนยอง (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง) เดิมทีของทุกชิ้นในพิพิธภัณฑ์จัดเก็บและจัดแสดงอยู่ในกฏิเจ้าอาวาสเดิม แต่ด้วยปริมาณสิ่งของที่ท่านเจ้าอาวาส พระครูไพศาล ธีรคุณ  จัดหาด้วยการรับบริจาคและซื้อ ทำให้พื้นที่ของอาคารหลังที่หนึ่งไม่เพียงพอ จึงได้มีการสร้างพิพิธภัณฑ์หลังที่สอง 
 
ปัจจุบัน อาคารหลังแรก ใช้แสดงพัดยศที่เจ้าอาวาสได้มาจากการบริจาค และตามเก็บจากวัดที่ไม่ได้ใส่ใจกับการเก็บพัดยศเหล่านี้ แต่ที่น่าสนใจคือ มุมหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ในอาคารนี้ยังคงตั้งเป็นโต๊ะหมู่บูชา และมีเครื่องพลีกรรมที่ใช้ประกอบพิธีสืบชะตา จุดเด่นที่สำคัญอีกประการหนึ่งของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือ การเก็บรวมรวมพระเครื่องสกุลต่างๆ ที่มีชื่อเสียงของลำพูนเอาไว้มากมาย เช่น พระรอด พระคง พระบาง พระลือ พระเลี่ยง พระเปิม พระสิบสอง พระลบ ตามฝาผนังติดภาพถ่ายเก่าของวัดในอดีต ลุงบุญชุม (อดีตเจ้าอาวาสวัดต้นแก้ว) ได้เล่าถึงความตั้งใจที่ใช้ภาพเก่าเหล่านี้มาประดับ/จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ ว่าอยากให้คนรุ่นหลังได้เห็นสภาพของวัดในอดีต ซึ่งตัวคุณลุงได้ถ่ายทอดเรื่องราวในอดีตของวัดได้อย่างน่าสนใจ นอกจากนี้ในอาคารยังมีมุมแสดงครัวไฟจำลองอีกด้วย 
 
อาคารหลังที่สอง จัดสร้างโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นอาคารที่มีการจัดสัดส่วนวัตถุพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจ ตามฝาผนังจัดแสดงภาพถ่ายนางงาม บุคคลสำคัญ (เจ้าเมือง) และ ภาพเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีต ส่วนพื้นที่ภายในจัดแสดงวัตถุหลากหลายประเภท ที่ได้มาจากชุมชนท้องถิ่น และจากการซื้อหาของท่านเจ้าอาวาส อาทิ พระพุทธรูปไม้ คัมภีร์ใบลาน หีบธรรม ผ้าทอ เครื่องเขิน เครื่องดนตรี น้ำต้น 
 
กิจกรรมของพิพิธภัณฑ์มีหลากหลาย อาทิ การอบรมการทำความสะอาดวัตถุ และการลงทะเบียน โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ การอบรมมัคคุเทศก์ อย่างไรก็ดีกิจกรรมโดยส่วนใหญ่จัดขึ้นโดยพิพิภัณฑสถานแห่งชาติ แต่ขาดความต่อเนื่องในกิจกรรม เช่น การทำทะเบียนที่ไม่มีเจ้าหน้าที่มาร่วมทำระยะหนึ่งแล้ว หรือการอบรมมัคคุเทศก์ที่ต้องเข้าไปร่วมหลักสูตรของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งมีเนื้อหาที่ไม่ตรงกับเรื่องราวของชุมชนมากนัก 
 
โครงการในปัจจุบันที่พิพิธภัณฑ์ดำเนินการอยู่คือ “การแปงเฮือนยอง” หรือพิพิธภัณฑ์บ้านคนยอง ไม้ที่ใช้ในการสร้างเรือนมาจากการบริจาค ลักษณะเป็นเรือนไม้สองหลังติดกัน อนึ่ง วัดยังคงรับเงินบริจาคอยู่เป็นระยะ ในอนาคตข้าวของที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ที่จัดแสดงทั้งในอาคารที่หนึ่งและสองจะย้ายไปจัดแสดงบนเฮือนยองแห่งใหม่นี้
นอกจากจะมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแล้ว วัดต้นแก้วยังเป็นทั้งศูนย์เรียนรู้การทอผ้ายกดอก จังหวัดลำพูน เป็นที่ทำการของกลุ่มทอผ้าผู้สูงอายุ เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และศูนย์บูรณาการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ถือเป็นพื้นที่ที่ให้คนต่างกลุ่มต่างอายุได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ร่วมกัน นับเป็นอีกความพยายามหนึ่งที่จะรักษาเอกลักษณ์ของคนยองเอาไว้ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของคนยอง
 
ข้อมูลจาก:
การสำรวจภาคสนาม วันที่ 23 กันยายน 2546 และวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550
ชื่อผู้แต่ง:
-