พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง


ชื่อเรียกอื่น:
พิพิธภัณฑ์วัดเสลารัตนปัพพตาราม
ที่อยู่:
วัดไหล่หินหลวง หมู่ 2 บ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง 52130
โทรศัพท์:
054-274-006, 089-9536887 (คุณทรงศักดิ์), 085-7070283 (พระครูสุนทรเสลคุณ)
โทรสาร:
054-274-006
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 08.00-17.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
อีเมล:
anajuk2@hotmail.com, Laihin_222@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2532
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

บัญชีสังเขปเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย วัดไหล่หินหลวง

ชื่อผู้แต่ง: กรมศิลปากร | ปีที่พิมพ์: 2545

ที่มา: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

รายงานวิจัยฉบับสมบูรร์ โครงการ "การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นวิชาศิลปศึกษาเพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์โบราณวัตถุสถานที่วัดไหล่หิน

ชื่อผู้แต่ง: ชุติมา เวทการ และคณะ | ปีที่พิมพ์: 2545

ที่มา: กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์วัดเสลาบัพพาตาราม(วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน)ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา ลำปาง

ชื่อผู้แต่ง: ศรัณย์ ทองปาน | ปีที่พิมพ์: ฉบับที่ 30 :1(ม.ค.-มี.ค.47)

ที่มา: วารสารเมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

วัดเสลารัตนปัพพตาราม(วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน)อ.เกาะคา จ.ลำปาง

ชื่อผู้แต่ง: สามเณรดวงจันทร์ ครุขยัน | ปีที่พิมพ์: -

ที่มา: -

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

วิหารโถง ซุ้มโขง สกุลช่างลำปาง

ชื่อผู้แต่ง: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | ปีที่พิมพ์: 2524

ที่มา: เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ข่าวสารพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง ฉบับที่1/2548

ชื่อผู้แต่ง: พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 1 ฉบับ1/2548

ที่มา: ลำปาง: พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ข่าวสารพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง ฉบับที่2/2548

ชื่อผู้แต่ง: พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 1 ฉบับ2/2548

ที่มา: ลำปาง: พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ข่าวสารพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง ฉบับที่3/2548

ชื่อผู้แต่ง: พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 1 ฉบับ3/2548

ที่มา: ลำปาง: พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ข่าวสารพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง ฉบับที่ 4/2548

ชื่อผู้แต่ง: พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง | ปีที่พิมพ์: ปีที่1 ฉบับ4/2548

ที่มา: ลำปาง: พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ข่าวสารพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง ฉบับที่ 5/2549

ชื่อผู้แต่ง: พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 2 ฉบับ 5/2549

ที่มา: ลำปาง: พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

"บ้านไหล่หินกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น" ใน พิพิธภัณฑ์ภาคสนาม ประสบการณ์จากคนลองทำ

ชื่อผู้แต่ง: สุภาภรณ์ จินดามณีโรจน์ | ปีที่พิมพ์: 2551

ที่มา: กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษวิทยาสิรินธร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

"เรื่องเล่าสู่ลูกหลาน จากบ้านสู่เมือง"ใน พิพิธภัณฑ์ภาคสนาม ประสบการณ์จากคนลองทำ

ชื่อผู้แต่ง: สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ | ปีที่พิมพ์: 2551

ที่มา: กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ข่าวสารพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง ฉบับที่ 8/2550

ชื่อผู้แต่ง: พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 3 ฉบับที่ 8/2550

ที่มา: ลำปาง: พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การดำเนินการศึกษา รวบรวมข้อมูลและสังเคราะห์องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่เป็นกรณีศึกษา "พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

ชื่อผู้แต่ง: ทรงศักดิ์ แก้วมูล | ปีที่พิมพ์: 2549

ที่มา: รายงานเสนอต่อสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ(สพร.)

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

"บันทึกรายวิชาพิพิธภัณฑ์ภาคสนาม" ใน พิพิธภัณฑ์บันทึก:ทบทวนบทเรียนจากการวิจัยและพัฒนพิพิธภัณฑ์

ชื่อผู้แต่ง: ปราโมทย์ ภักดีณรงค์ | ปีที่พิมพ์: 2551

ที่มา: กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

"เรียน-รู้-เล่า เรื่องเหมืองฝาย:กระบวนทัศน์ที่แตกต่างระหว่างคนใน-คนนอก" ใน พิพิธภัณฑ์บันทึก:ทบทวนบทเรียนจากการวิจัยและพัฒนพิพิธภัณฑ์

ชื่อผู้แต่ง: ชาญวิทย์ ตีรประเสริฐ | ปีที่พิมพ์: 2551

ที่มา: กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

"จากรากหญ้าสู่นักวิจัยท้องถิ่น" ใน พิพิธภัณฑ์ภาคสนาม ประสบการณ์จากคนลองทำ

ชื่อผู้แต่ง: ทรงศักดิ์ แก้วมูล | ปีที่พิมพ์: 2551

ที่มา: กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ความสุขของกะลา

ชื่อผู้แต่ง: นรา | ปีที่พิมพ์: 13 กรกฎาคม 2553

ที่มา: ผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ช้างยืนอยู่ไหน

ชื่อผู้แต่ง: นรา | ปีที่พิมพ์: 19 กรกฎาคม 2553

ที่มา: ผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์วัดเสลาบัพพาตาราม(วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน)

ชื่อผู้แต่ง: ศรัณย์ ทองปาน | ปีที่พิมพ์: 26 มิถุนายน 2547

ที่มา: วารสารเมืองโบราณออนไลน์

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง

วัดไหล่หิน หรือวัดเสลารัตนปัพพะตาราม (วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน) เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง วัดแห่งนี้นอกจากจะมีวิหารโบราณฝีมือช่างเมืองเชียงตุง และซุ้มโขงแบบล้านนาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว ภายในบริเวณวัดยังเป็นที่ตั้งของ "หอพิพิธภัณฑ์โบราณล้านนา สุวรรณกีฏะศรัทธาสามัคคี" ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ชาวบ้านไหล่หินร่วมกันสร้างขึ้น และได้บริจาควัตถุโบราณต่าง ๆ ไว้เป็นสมบัติของวัดเพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า

ปัจจุบันจัดแสดงโบราณวัตถุต่าง ๆ ทั้งที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในพิธีกรรม เครื่องใช้ของชาวบ้าน เครื่องรางของขลัง คัมภีร์โบราณ เครื่องดนตรี และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ฯลฯ โบราณวัตถุเหล่านี้นอกจากเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นกิจกรรมของชุมชนแห่งนี้ในอดีตแล้ว ยังสะท้อนถึงความเชื่อ ความศรัทธา ที่มีต่อพุทธศาสนา รวมถึงความสามารถในเชิงช่างที่สร้างสรรค์ความงามในรูปแบบของสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมกับการใช้สอย

พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินเป็นอาคารชั้นเดียว ภายในจัดแสดงศิลปวัตถุและโบราณวัตถุต่าง ๆ มากมาย ของที่เด่นและสำคัญของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือ คัมภีร์ใบลานที่จารเป็นอักษรล้านนาที่มีอายุมากกว่า 500 ปี เครื่องใช้ในพิธีกรรม หรือเครื่องสักการะที่เกี่ยวเนื่องในพุทธศาสนา สิ่งของเหล่านี้นอกจากจะเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์แล้ว บางส่วนเก็บรักษาไว้ในโรงธรรม ศาลาการเปรียญ และวิหาร อาทิ จองคำ ค้างเทียน วิหารน้อย ฉางข้าวน้อย เสลี่ยงกง(คานหามที่มีพนักโค้งเหมือนกงเรือ) เครื่องไม้จำหลัก อาสนะที่ใช้วางเครื่องอัฐบริขาร พระพุทธรูปโบราณ พระพิมพ์ดินเผา วิหารไม้พระอุปคุต มณฑปพระเจ้าแก้ว หีบพระธรรม ส่วนสิ่งของอื่น ๆ ที่จัดแสดงอาทิ เครื่องใช้ในครัวเรือน สิ่งของที่ชาวบ้านในอดีตใช้ในชีวิตประจำวัน อาทิ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเขิน เครื่องประดับ เครื่องจักสาน เครื่องดนตรี มีทั้งประเภท ฆ้อง ฉาบ และกลองที่ชาวบ้านเรียกว่า กลองแอว กลองอุ๊ย กลองตะหลดป๊ด เครื่องรางของขลัง ได้แก่ ผ้ายันต์ที่ใช้พันศีรษะ เสื้อ ผ้าคาดเอว ลงอักขระเลขยันต์เพื่อให้อยู่ยงคงกระพันคุ้มครองผู้สวมใส่ให้พ้นภัยต่างๆ มีตะกรุด ลูกประคำ พระเครื่อง นอกจากนี้ยังมีชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม เป็นชิ้นส่วนอาคารสิ่งก่อสร้างที่วัดเคยมีการรื้อถอนหรือซ่อมแซม บางชิ้นมีลวดลายแกะสลักที่สวยงาม

เอกลักษณ์หนึ่งของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือ ตู้ไม้ที่ใช้จัดแสดงสิ่งของนั้น เคยเป็นที่เก็บหีบศพของชาวบ้านมาก่อน โดยชาวบ้านมีความคิดว่า ถ้าทำที่เก็บหีบศพในลักษณะเป็นตู้ เมื่อประกอบพิธีทางศาสนาเรียบร้อยแล้ว ทางวัดสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป ในขณะที่ส่วนอื่น ๆ ในภาคเหนือมักนิยมทำเป็นปราสาทกัน

ในปี 2548 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง และโครงการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ร่วมกันพัฒนาพิพิธภัณฑ์เพื่อให้สถานที่ที่จะบอกเล่าวิถีชีวิตคนไหล่หิน แลกเปลี่ยน ถ่ายทอดความรู้ระหว่างผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้ใหญ่ และเยาวชน โดยกิจกรรมต่าง ๆ ที่ร่วมกันทำ อาทิ การทัศนศึกษาดูงานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การทำทะเบียนวัตถุ การเก็บข้อมูลและสืบค้นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประวัติข้าวของในพิพิธภัณฑ์ นิทรรศการภาพถ่ายไหล่หินในอดีต

ในวันที่ 28 ตุลาคม 2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงเปิด "หอนิทรรศการวิถีชีวิตคนไหล่หิน" ซึ่งเป็นผลงานที่เกิดจากการทำงานร่วมกันของชาวไหล่หินและศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ในโครงการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โดยใช้พื้นที่บริเวณชั้นล่างของ "หอสูง" ด้านข้างวิหาร เป็นที่จัดแสดง

เนื้อหาของนิทรรศการแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ได้แก่ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ การทำกิน และขนบประเพณี มีการจำลองเรือนที่อยู่อาศัย กาด(ตลาด) การทำนา ความชาญฉลาดในการบริหารจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝาย ประเพณีสวดเบิกในเทศกาลยี่เป็ง ประเพณีตานก๋วยสลาก ซึ่งเรื่องราวที่จัดแสดงเหล่านี้ล้วนได้มาจากความทรงจำของชาวไหล่หิน

ข้อมูลจาก:
1. การสำรวจภาคสนาม วันที่ 24 กันยายน 2546 และวันที่ 13 สิงหาคม 2547
2. ชุติมา เวทการ. เอกสารแนะนำ "พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง"
3. โครงการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
4. ข่าวสารพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง ฉบับที่1/2548 , 2/2548 , 3/2548 , 4/2548
ชื่อผู้แต่ง:
-

Village is a virtual museum : Remote Ban Lai Hin is a repository of history

Villagers of remote Ban Lai Hin have lived in seclusion and toiled on the land for generations, unknowingly preserving a precious culture and way of life. It took a lot of research and willpower to turn the village into a knowledge machine. The village is off the tourist map and is not a money-spinning Otop branch. But its cultural value is in the facets of everyday life, which are almost taken for granted.
ชื่อผู้แต่ง:
-

ช้างยืนอยู่ไหน?

ช้างยืนอยู่ไหน? รบกวนผู้อ่านรอไม่นานนาที เพื่อสานต่อเรื่องซึ่งคั่งค้างมาจากข้อเขียนชิ้นที่แล้วอีกสักเล็กน้อย กล่าวคือ หลังจากเหล่าชาวบ้านจากเชียงตุง พกพากะลามะพร้าวครึ่งซีกออกเดินทาง ติดตามสืบค้นด้นหาว่า พระมหาป่าเกสระ พำนักอยู่ ณ วัดใด? จนกระทั่งมาพบเจอในบั้นปลายท้ายสุดที่วัดไหล่หินแล้ว สภาพของวัดไหล่หินเมื่อคราวโบราณครั้งนั้น ยังปราศจากวิหารและเสนาสนะ และขาดแคลนหลายสิ่งหลายอย่าง มีเพียงกุฎิไม้หลังเล็ก ๆ แฝงตัวอยู่กลางดงไม้ในเขตพื้นที่วัด
ชื่อผู้แต่ง:
-

ความสุขของกะลา

แม้จะเป็นเพียงแค่กะลามะพร้าวครึ่งซีก และมิได้มีอาชีพกลาสีเรือ แต่ประวัติในฐานะนักเดินทาง มัน ผ่านการตะลุยป่าดงพงไพรอย่างโชกโชนสมบุกสมบัน กินเวลายาวนานและระยะทางไกล ราวกับการผจญภัยของจอมพราน-รพินทร์ ไพรวัลย์ ในนิยายเรื่อง ‘เพชรพระอุมา’ ส่วนอีกหนึ่งเป็นช้าง ซึ่งมีผู้สร้างอนุสรณ์ให้ เพื่อแสดงความรำลึกถึง จากพฤติกรรมตรงกันข้าม นั่นคือ จู่ ๆ พ่อพลายก็เกิดอารมณ์ศิลปิน หยุดเดินทางกะทันหัน อย่างไม่ทราบสาเหตุ และยืนหยัดปักหลักเด็ดเดี่ยวอยู่กับที่ กระทั่ง ‘ได้เรื่อง’ และ ‘ได้บุญ’ ตำนานทั้งสองเหตุการณ์นี้ เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของวัดไหล่หิน
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์วัดเสลาบัพพาตาราม(วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน)

วัดไหล่หินเป็นวัดเล็กๆ ในอำเภอเกาะคา อยู่ไม่ไกลจากวัดพระธาตุลำปางหลวงนัก มีตำนานเล่ากันว่าเป็นวัดเก่าแก่มาแต่สมัยพระนางจามเทวี สร้างขึ้นก่อนการสถาปนาวัดพระธาตุลำปางหลวง ด้วยเหตุนั้น จึงมีแผนผังคล้ายคลึงกัน เพียงแต่มีสัดส่วนย่อมกว่า นอกจากนั้น ภูมิสถานที่ตั้ง ก็ยังเป็นเนินใหญ่คล้ายกับวัดพระธาตุลำปางหลวง และเป็นที่มาของชื่อ ไหล่หิน (ไหล่/หล่าย คือเนิน) ด้วย
ชื่อผู้แต่ง:
-