พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุเสด็จ


ที่อยู่:
วัดพระธาตุเสด็จ เลขที่ 638 หมู่ 5 ถ.สายลำปาง-งาว ต.เสด็จ อ.เมือง จ.ลำปาง 52000
โทรศัพท์:
0-5434-2109 , 08-9262-2275, ติดต่อพระครูโสภิตพัฒนานุยุต (เจ้าอาวาส)
วันและเวลาทำการ:
เปิดให้เข้าชมทุกวันอังคาร-วันพฤหัสบดี เวลา 9.00-17.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2555
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ประวัติ-ตำนาน พระบรมธาตุเสด็จ

ชื่อผู้แต่ง: - | ปีที่พิมพ์: 2546

ที่มา: ลำปาง: วัดพระธาตุเสด็จ พิมพ์เนื่องในงานกฐินสามัคคี 2546

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ลำปางยุคตำนานนิทานกับหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์

ชื่อผู้แต่ง: ศักดิ์ รัตนชัย | ปีที่พิมพ์: 2534

ที่มา: ที่ระลึกพระราชทานเพลิงศพ พระราชสุธรรมาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดลำปาง 24 ก.พ. 2534

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ตำนานสังเขปวัดพระธาตุเสด็จ

ชื่อผู้แต่ง: อุดม อมรจักร์ | ปีที่พิมพ์: 2544

ที่มา: ลำปาง: วัดพระธาตุเสด็จ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดลำปาง

ชื่อผู้แต่ง: ศักดิ์ รัตนชัย | ปีที่พิมพ์: 2542

ที่มา: พิมพ์เฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 5 ธ.ค. 2542

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ พระครูรัตนาคม(แก้วมา อภิชโย)

ชื่อผู้แต่ง: ศักดิ์ รัตนชัย, วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ และมณี พยอมยงค์ | ปีที่พิมพ์: 2545

ที่มา: ลำปาง: จิตวัฒนาการพิมพ์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุเสด็จ

วัดพระธาตุเสด็จ เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดลำปาง เป็นที่ประดิษฐานเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามตำนานพระธาตุนครลำปางเล่าว่า วัดในจังหวัดลำปางที่เชื่อว่าเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอยู่ 2 วัด คือ วัดพระธาตุลำปางหลวงและวัดพระธาตุเสด็จ
แผนผังการสร้างวัดมีลักษณะเป็นภูมิจักรวาล มีพระธาตุเจดีย์เป็นศูนย์กลางของวัด และมีวิหาร ศาลา กำแพงแก้ว เป็นสถาปัตยกรรมบริวาร ลานเดินในวัดที่เดิมเกลี่ยลงด้วยทรายอุปมาเป็นมหาสมุทรสีทันดร เพื่อให้ผู้คนเดินเท้าได้ช้าลง หากแต่ปัจจุบันทางวัดได้เทคอนกรีตทับพื้นลานดินจนหมดแล้ว
 
โบราณสถานที่สำคัญในวัดนอกจากพระเจดีย์พระธาตุเสด็จที่สร้างราวปี พ.ศ. 1992 แล้ว ยังมีวิหารโคมคำ หรือวิหารพระพุทธ เป็น 1 ใน 10 ของวิหารเครื่องไม้ ที่ยังหลงเหลืออยู่ในภาคเหนือทรงสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ที่สร้างระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-24 วิหารแห่งนี้สร้างในสมัยพระเจ้าหอคำดวงทิพย์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง ในปี พ.ศ. 2366 เดิมวิหารแห่งนี้เป็นวิหารเปิดโล่ง แต่เมื่อครั้งบูรณะในปี พ.ศ. 2500 ได้สร้างผนังปิดทึบแล้วเจาะช่องหน้าต่างเป็นช่องลูกกรงแต่ยังคงเค้าเดิมไว้ทุกประการ ภายในประดิษฐานพระประธานองค์ใหญ่ ปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน เสาภายในวิหารประดับด้วยลายเขียนทองงดงาม
 
พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุเสด็จเป็นอาคารแถวชาวชั้นเดียว คล้าย ๆ กับ "พิพิธภัณฑ์วัด" ที่ข้าวของภายในมีจำนวนมาก วางเรียงรายและซ้อนทับกันอยู่เต็มไปหมด ไม่ได้มีเรื่องเล่า(theme) เหมือนกับพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ทำกัน คงมีแต่ป้ายคำอธิบายสั้น ๆ ในวัตถุบางชิ้นว่าเรียกว่าอะไร ใช้ทำอะไร อายุเท่าไหร่ ที่โครงการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ ลำปาง มาช่วยจัดทำให้ 
 
นอกเหนือจากพระพุทธรูปไม้ที่มีอยู่หลายสิบองค์ ของส่วนใหญ่เป็นของใช้ภายในวัด ของที่เกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรม  ของใช้ในชีวิตประจำวัน ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม อาทิ ฉัตรทองเหลืองยอดพระธาตุเสด็จ ฝีมือช่างล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 บาตรเหล็กขนาดใหญ่ของพระสงฆ์ สัตตภัณฑ์ หีบพระธรรมลายรดน้ำลงรักร่องชาด หีบพระธรรมลายรดน้ำประดับกระจก ตุงหรือธงปตาก  ธรรมมาสน์ อุ๊กหรือคนโทน้ำสำหรับใส่น้ำถวายเจ้านาย ยาบย้อยหรือบ่างประดับหน้ามุข จองอ้อยสำหรับใส่ของถวายพระสงฆ์ รูปปูนปั้นยอดบัวตูมที่วางบนซุ้มเจดีย์เล็ก ฝาชีครอบขันโตก สานด้วยหวายลงชาดปิดทอง บอกคอกน้ำเต้าใช้ใส่ดื่มน้ำเวลาเดินทาง คนโทน้ำดินเผาเคลือบ หงส์ทำด้วยไม้และทองเหลือง เป็นต้น
 
ด้วยปัญหาความปลอดภัยในทรัพย์สินและขาดผู้ดูแลประจำ ทำให้ทางวัดจำเป็นต้องปิดพิพิธภัณฑ์เอาไว้ ผู้สนใจเข้าชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ควรจะนัดหมายติดต่อล่วงหน้าเพื่อความสะดวก
 
ข้อมูลจาก:
สำรวจภาคสนาม วันที่ 16 พฤศจิกายน 2548.
วัดพระธาตุเสด็จ. ประวัติ-ตำนาน พระบรมธาตุเสด็จ. พิมพ์เนื่องในงานกฐินสามัคคีปี 2546 , 2546.
ชื่อผู้แต่ง:
-