โรงเรียนแม่สะเรียง “บริพัตรศึกษา” เป็นโรงเรียนเก่าแก่ประจำอำเภอแม่สะเรียง ก่อตั้งขึ้นในปี 2472 เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เสด็จประพาสตรวจราชการมณฑลพายัพ ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอและพิพิธภัณฑ์โรงเรียนแม่สะเรียง บริพัตรศึกษา อยู่ในพื้นที่เดียวกันกับห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม แบ่งพื้นที่ออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนที่พักครู ส่วนจัดแสดงที่เป็นโถงโล่ง และห้องจัดแสดงเล็กในส่วนในสุด โดยในส่วนจัดแสดงที่ติดกับที่พักครู จัดแสดงนิทรรศการเล่าถึงวิถีชีวิตของคนแม่สะเรียง สภาพธรรมชาติของท้องถิ่น สถานที่สำคัญในอำเภอ ประเพณีออกหว่า(ออกพรรษา) และเรื่องราวเกี่ยวกับผ้าทอกะเหรี่ยง ส่วนห้องเล็กด้านใน ภายในมีตู้กระจกจัดแสดงของใช้พื้นบ้าน อาทิ น้ำบวย เตารีดโบราณ ตาชั่งโบราณ เครื่องดนตรีพื้นเมือง เดิมส่วนจัดแสดงดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในวิชาสังคมศึกษาของโรงเรียน ต่อมาได้รับการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนจากสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์วัฒนธรรมอำเภอแม่สะเรียงอีกทางหนึ่ง
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของศูนย์วัฒนธรรมอำเภอและพิพิธภัณฑ์โรงเรียนแม่สะเรียง "บริพัตรศึกษา"
โรงเรียนแม่สะเรียง “บริพัตรศึกษา” เป็นโรงเรียนเก่าแก่ประจำอำเภอแม่สะเรียง ก่อตั้งขึ้นในปี 2472 เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เสด็จประพาสตรวจราชการมณฑลพายัพ เมื่อเสด็จถึงอำเภอแม่สะเรียง มีพระราชดำริกับข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนในท้องถิ่นแม่สะเรียง ให้ก่อสร้างโรงเรียน โดยพระองค์ได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่งเพื่อสมทบทุนในการสร้างโรงเรียนนี้ จากนั้นบรรดาข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวอำเภอแม่สะเรียงได้เสียสละทุนทรัพย์คนละเล็กละน้อยสมทบเข้ากับเงินพระราชทานจนก่อสร้างอาคารและเปิดการเรียนการสอนในปี 2476 โดยได้รับพระราชทานนามว่า โรงเรียนแม่สะเรียง “บริพัตรศึกษา”ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอและพิพิธภัณฑ์โรงเรียนแม่สะเรียง บริพัตรศึกษา อยู่ในพื้นที่เดียวกันกับห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม แบ่งพื้นที่ออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนที่พักครู ส่วนจัดแสดงที่เป็นโถงโล่ง และห้องจัดแสดงเล็กในส่วนในสุด โดยในส่วนจัดแสดงที่ติดกับที่พักครู จัดแสดงนิทรรศการเล่าถึงวิถีชีวิตของคนแม่สะเรียง สภาพธรรมชาติของท้องถิ่นซึ่งเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนที่มีความงดงาม แม่น้ำสาละวิน หนึ่งในแม่น้ำนานาชาติสายสำคัญ กล้วยไม้หอมเอื้องแซะ ดอกไม้ประจำถิ่น สถานที่สำคัญในอำเภอ ได้แก่ พระธาตุสี่จอม คือ จอมทอง จอมมอญ จอมกิตติ และจอมแจ้ง ประเพณีออกหว่า(ออกพรรษา) และเรื่องราวเกี่ยวกับผ้าทอกะเหรี่ยง ที่นำเสนอตั้งแต่กรรมวิธีการทอ ลวดลาย และตัวอย่างผ้าทอ
ส่วนห้องเล็กด้านใน ติดป้ายว่าเป็นห้องเรียนภูมิปัญญา ภายในมีตู้กระจกจัดแสดงของใช้พื้นบ้าน อาทิ น้ำบวย เตารีดโบราณ ตาชั่งโบราณ กุบ ปั๊บสา กระบุง ตะกร้า คันไถ คราด แอก บาตร แอ๊บใส่ของ เครื่องดนตรีพื้นเมือง
เดิมส่วนจัดแสดงดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในวิชาสังคมศึกษาของโรงเรียน ต่อมาได้รับการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนจากสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์วัฒนธรรมอำเภอแม่สะเรียงอีกทางหนึ่งด้วย หากแต่ ‘งานฝาก’ แบบนี้มักไม่ใคร่ประสบผล เพราะขึ้นกับความสนใจของผู้บริหารเป็นสำคัญ สำหรับที่นี่เมื่อครูผู้ดูแลคนเดิมเกษียณออกไป กอปรกับเปลี่ยนผู้บริหารโรงเรียนคนใหม่ งานด้านนี้จึงขาดช่วงคนดูแลไป จนเมื่ออาจารย์เจียรนัย สังสุทธิพงศ์ อาจารย์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เข้ามารับผิดชอบ จึงได้ปรับปรุงนิทรรศการการจัดแสดง และนำนักเรียนเข้ามาเรียนและใช้ประโยชน์มากขึ้น ด้วยภาระงานต่าง ๆ ทั้งของผู้ดูแลและโรงเรียน ในที่สุดอาจารย์ยังทิ้งท้ายว่า ในอนาคตคงจะขอทำเรื่องให้ย้ายชื่อ ‘ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอ’ ไปไว้กับ พิพิธภัณฑ์แม่สะเรียง พิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ที่เพิ่งก่อสร้างเสร็จเมื่อปี 2549 ที่ผ่านมา
ข้อมูลจาก:
สำรวจภาคสนาม วันที่ 18 มกราคม 2550
http://www.mbs04.th.gs/web-m/bs04/10.html [accessed 20070815]
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ กะเหรี่ยง สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ โรงเรียนแม่สะเรียงบริพัตรศึกษา
พิพิธภัณฑ์บ้านไร่
จ. แม่ฮ่องสอน
หอวัฒนธรรมนิทัศน์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
จ. แม่ฮ่องสอน
พิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2
จ. แม่ฮ่องสอน