พิพิธภัณฑ์มีชีวิต เมืองแม่ฮ่องสอน


เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ร่วมกับ 6 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนป๊อกกาดเก่า ชุมชนกลางเวียง ชุมชนตะวันออก ชุมชนหนองจองคำ ชุมชนปางล้อ และชุมชนดอนเจดีย์ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ประเพณี และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไว้ โดยใช้เมืองทั้งเมืองจัดตั้ง “พิพิธภัณฑ์มีชีวิตเมืองแม่ฮ่องสอน” ขึ้น และได้รับความร่วมมือทางวิชาการ จากวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน ให้บริการข้อมูลพิพิธภัณฑ์มีชีวิตเมืองแม่ฮ่องสอน และข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอน ณ ศูนย์ประสานงานพิพิธภัณฑ์มีชีวิตเมืองแม่ฮ่องสอน ถนนสิงหนาทบำรุง รวมถึงสถานที่อื่น ๆ ภายในเขตเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ที่ตั้งของพิพิพิธภัณฑ์มีชีวิตเมืองแม่ฮ่องสอน เป็นอาคารหลังเก่าที่ตั้งเดิมของ ร.ส.พ (องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์) ได้รับการปรับโฉมให้เป็นเสมือนห้องรับแขกของเมืองที่เปิดต้อนรับผู้มาเยือน ชั้นล่างของอาคารมีข้อมูลและแผนที่ทางวัฒนธรรมไว้บริการผู้สนใจ ส่วนชั้นบนมีรายละเอียดของงานประเพณี รูปแบบสถาปัตยกรรม รวมถึงอาหารการกินของคนไต โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเชิงพื้นที่ (Area-Based Collaborative Research) หรือ ABC ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว. โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2552 เป็นกระบวนการการจัดการเมือง ที่ต้องเกิดจากภาคประชาชน ส่วนราชการ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคส่วนต่างๆ"

ที่อยู่:
ศูนย์ประสานงานพิพิธภัณฑ์มีชีวิต (อาคารหลังเก่าที่ตั้งเดิมของ ร.ส.พ-องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์) เลขที่ 21 สิงหนาถบำรุง ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 58000
โทรศัพท์:
053611944
วันและเวลาทำการ:
ทุกวัน 8.30-16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2552
ของเด่น:
อาคารจัดแสดงที่เป็นอาคารไม้เก่า, นิทรรศการแนะนำสถานที่สำคัญ วัฒนธรรม ประเพณี ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแม่ฮ่องสอน
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์มีชีวิตเมืองแม่ฮ่องสอน

ชื่อผู้แต่ง: ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

แหล่งค้นคว้า: -

โดย: ศมส.

วันที่: 01 กันยายน 2556

ดูลิงค์ต้นฉบับ

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ


พิพิธภัณฑ์มีชีวิตเมืองแม่ฮ่องสอน

การสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยไม่ละเลยคุณค่าในอดีต คือแนวทางที่เมืองท่องเที่ยวอย่าง แม่ฮ่องสอนใช้รับมือกับความปลี่ยนแปลง สร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม ใต้แนวคิดที่เรียกว่า พิพิธภัณฑ์มีชีวิตเมืองแม่ฮ่องสอน ถั่วเน่าซา เมื่อนำไปคั่วในกระทะกับหมูสับจนหอม ก็กลายเป็นเมนูคั่วถั่วเน่า กินกับข้าวและผักสด ภูมิปัญญาอาหารของชาวไทใหญ่ โดยใช้วัตถุดิบในพื้นที่อย่างถั่วเหลือง มาหมักจนได้เครื่องปรุงรสชั้นดีคู่ครัว ยังมี อาละหว่า ส่วยทะมิน อาละหว่าจุง หรือ เปงม้ง ขนมเค้กไทใหญ่ ที่หารับประทานได้ไม่ง่ายนัก
ชื่อผู้แต่ง:
-

แม่ฮ่องสอน Living Museum ไร้ผนัง ไม่ไร้ราก

"ฮับหมจมต้อน...." คำกล่าวต้อนรับของคนเชื้อสายไตหรือไทใหญ่ในเมืองแม่ฮ่องสอนอาจฟังแปลกหูคนต่างถิ่นอยู่บ้าง แต่ก็ช่วยให้การเยี่ยมเยือนพิพิธภัณฑ์ไร้ผนังแห่งนี้มีชีวิตชีวามากขึ้น 1864 โค้ง จากเชียงใหม่สู่แม่ฮ่องสอน และอาจต้องบวกเพิ่มความลำบากเข้าไปอีกหลายเท่าตัวในช่วงเวลาก่อนที่ถนนสาย 1095 จะเสร็จสมบูรณ์ คือปราการด่านสำคัญที่ทำให้เมืองเล็กๆ กลางหุบเขานี้ยังคงรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมไว้ได้เป็นอย่างดี
ชื่อผู้แต่ง:
-

เมืองรีสอร์ท..พิพิธภัณฑ์มีชีวิต..แม่ฮ่องสอน"

ใครๆก็อยากจะพิชิต“แม่ฮ่องสอน”ทำให้แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางรับอากาศหนาวบนดอยสูงขอเมืองเล็กๆอย่างแม่ฮ่องสอนทุกปี “ใครๆก็อยากจะพิชิต“แม่ฮ่องสอน”ทำให้แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางรับอากาศหนาวบนดอยสูงขอเมืองเล็กๆอย่างแม่ฮ่องสอนทุกปี ท่ามกลางธรรมชาติและเมฆหมอกคำถามคือ แม่ฮ่องสอนจะเป็นเมืองท่องเที่ยวแบบไหนดีกว่ากัน ระหว่างท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กับ เมืองท่องเที่ยวยอดนิยมเหมือน “ปาย”
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-