หอวัฒนธรรมนิทัศน์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน


หอวัฒนธรรมนิทัศน์เป็นการดำเนินงานตามที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติมอบหมายแต่ละจังหวัดในการสร้างหอวัฒนธรรมเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมในชุมชน และได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนในการจัดแสดงเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คน และความเป็นมาท้องถิ่นแม่ฮ่องสอน โดยสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นผู้ดูแล โดยแรกก่อตั้งนั้น อาคารจัดแสดงของหอวัฒนธรรมนิทัศน์ เป็นการปรับจากอาคารเรียนเดิมของโรงเรียนจองคำใต้ แบ่งพื้นที่การใช้สอยออกเป็น 2 ส่วนคือ ชั้นที่ 1 ประกอบด้วยห้องสำนักงาน ชั้นที่ 2 ประกอบด้วยส่วนจัดแสดงในหัวเรื่องต่างๆ ได้แก่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่แม่ฮ่องสอน สภาพภูมิประเทศของแม่ฮ่องสอน วิถีชีวิตและความหลากหลายของกลุ่มชนในแม่ฮ่องสอน อย่างไรก็ดี เนื่องจากขาดอัตรากำลังในการบริหารงาน หลังจากเปิดดำเนินการได้ไม่นานนัก จึงเปิดให้บริการเฉพาะกรณีที่มีหนังสือขอเข้าชมเท่านั้น ปัจจุบันได้ปิดตัวลงและในแผนในอนาคตจะใช้อาคารขนาดใหญ่หลังใหม่ที่ปัจจุบันสร้างเสร็จแล้วที่อยู่ในบริเวณใกล้ ๆ กัน เป็นพื้นที่จัดแสดงแห่งใหม่ ส่วนชั้นบนอาคารเดิมดัดแแปลงเป็นโรงละครแทน

ที่อยู่:
อาคารสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน(เดิม) ถ.ขุนลมประพาส ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 58000
โทรศัพท์:
0-5361-1282, 0-5361-1445
วันและเวลาทำการ:
เปิดในวันเวลาราชการ
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2544
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของหอวัฒนธรรมนิทัศน์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

หอวัฒนธรรมนิทัศน์เป็นการดำเนินงานตามที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติมอบหมายแต่ละจังหวัดในการสร้างหอวัฒนธรรมเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมในชุมชน และได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนในการจัดแสดงเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คน และความเป็นมาท้องถิ่นแม่ฮ่องสอน เปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2544 สำนักงานประถมศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นผู้ดูแล โดยแรกก่อตั้งนั้น อาคารจัดแสดงของหอวัฒนธรรมนิทัศน์ เป็นการปรับจากอาคารเรียนเดิมของโรงเรียนจองคำใต้ เป็นอาคารไม้ผสมคอนกรีต 2 ชั้น แบ่งพื้นที่การใช้สอยออกเป็น 2 ส่วนคือ ชั้นที่ 1 ประกอบด้วยห้องสำนักงาน ห้องประชุมที่มีการติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์พร้อมใช้งาน ห้องอาหารและจำหน่ายของที่ระลึกพื้นที่ประชาสัมพันธ์ ชั้นที่ 2 ประกอบด้วยส่วนจัดแสดงในหัวเรื่องต่างๆ ได้แก่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่แม่ฮ่องสอน สภาพภูมิประเทศของแม่ฮ่องสอน วิถีชีวิตและความหลากหลายของกลุ่มชนในแม่ฮ่องสอน มีการใช้สื่อจัดแสดงด้วยหุ่นจำลอง ฉากจำลองและศิลปวัตถุ พร้อมอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์โทรทัศน์และเครื่องเล่นวิดีทัศน์ อย่างไรก็ดี เนื่องจากขาดอัตรากำลังในการบริหารงานในศูนย์วัฒนธรรมนิทัศน์

ดังนั้น หลังจากเปิดดำเนินการได้ไม่นานนัก จึงต้องเปิดให้บริการเฉพาะกรณีที่มีหนังสือขอเข้าชมเท่านั้น และจนถึงปัจจุบัน(มกราคม 2550) ห้องจัดแสดงชั้นบนได้ปิดลง ส่วนชั้นล่างได้ปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์เป็นโรงละครสำหรับจัดการแสดงทางวัฒนธรรมของชนเผ่าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีแผนในอนาคตว่าจะใช้อาคารขนาดใหญ่หลังใหม่ที่ปัจจุบันสร้างเสร็จแล้วที่อยู่ในบริเวณใกล้ ๆ กัน เป็นพื้นที่จัดแสดงแห่งใหม่ ติดกันกับอาคารจัดแสดงหลังเก่า เป็นเรือนไทใหญ่ และหมู่อาคารของ “ลานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน” ถัดไปเป็นเรือนจำเก่า ที่ทางจังหวัดดัดแปลง เป็นสวนสาธารณะและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวแม่ฮ่องสอน

ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนาม วันที่ 19 มกราคม 2550 กรมศิลปากร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. นามานุกรมพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย ภาคเหนือ เล่ม 2. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2546. หน้า 90
ชื่อผู้แต่ง:
-