พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง


"เรือนคำเที่ยง" เป็นเรือนเครื่องสับแบบล้านนาไทยดั้งเดิม ที่เรียกกันทั่วไปว่า "เรือนกาแล" ในอดีตเรือนหลังนี้ได้สร้างขึ้นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.2391 ผู้สร้าง คือ นางแซ้ด เป็นลูกหลานสืบเชื้อสายธิดาเจ้าเมืองแช่ ชาวไทลื้อจากแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน สมัยพระเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่จนกระทั่งปี พ.ศ.2506 เรือนหลังนี้ตกเป็นของนางกิมฮ้อ นิมมานเหมินทร์ ต่อมาท่านได้เห็นความสำคัญต่อคุณค่าสถาปัตยกรรมล้านนา  จึงได้มอบเรือนเก่าแก่ของตระกูลให้แก่สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ชื่อ "เรือนคำเที่ยง" ตั้งขึ้นเป็นอนุสรณ์แด่แม่ของนางกิมฮ้อ คือ นางคำเที่ยง อนุสารสุนทร ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่เกิดบนเรือนหลังนี้ การรื้อถอนเรือนคำเที่ยงจากเชียงใหม่มาปลูกไว้บนพื้นที่สยามสมาคมฯ ได้รับเงินสนับสนุนจาก มูลนิธิเอเชีย และมูลนิธิจอห์น ดี รอคกี้เฟลเลอร์ ใช้เวลากว่า 2 ปี จึงสำเร็จ ในระหว่างนั้นมีการจัดหาสิ่งของมาจัดแสดงเพิ่มเติม อาทิ ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องมือหาปลา อุปกรณ์ทำนา และงานไม้แกะสลัก

ที่อยู่:
สยามสมาคมฯ 131 ถนนอโศกมนตรี (สุขุมวิท 21) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์:
02 661 6470-3
โทรสาร:
0-2258-3491
วันและเวลาทำการ:
วันอังคาร-วันเสาร์ เวลา 9.00-17.00น. (หยุดวันอาทิตย์-วันจันทร์และวันนักขัตฤกษ์)
ค่าเข้าชม:
ผู้ใหญ่ 100 บาท / เด็กและนักเรียน 50 บาท
เว็บไซต์:
อีเมล:
info@thesiamsociety.org
ปีที่ก่อตั้ง:
2509
ของเด่น:
เรือนกาแล ยันต์แบบต่างๆ เครื่องประดับผู้หญิง เรือนครัว วัฒนธรรมข้าว

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

เรือนคำเที่ยง

โดย: พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง

วันที่: 15 พฤศจิกายน 2564

เรือนคำเที่ยง

โดย: พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง

วันที่: 15 พฤศจิกายน 2564

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 5/5/2546

ที่มา: ผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ยกเรือนคำเที่ยงสู่พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยา

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 5/3/2546

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยา เรือนคำเที่ยง ในบริเวณสยามสมาคมในบรมราชูปถัมภ์

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 21,7(พ.ค.43)หน้า136-137

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ยล เรือนคำเที่ยงสัมผัสเสน่ห์ล้านนากลางกรุง

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 07-05-2551

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

ด้วยทำเลที่ดีอยู่ติดสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสุขุมวิท  กลางย่านธุรกิจของกรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง อาคารจัดแสดงในพื้นที่ของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์   จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่รู้จักกันดีสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ  แม้สถาปัตยกรรมจะแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับตึกอาคารโดยรอบ  เรือนล้านนาโบราณของตระกูลนิมมานเหมินทร์  ยังคงตั้งอยู่อย่างสง่างามท่ามกลางร่มไม้  ยินดีต้อนรับผู้มาเยือน
       
เรือนไม้แบบล้านนาดั้งเดิมหลังนี้  สร้างขึ้นในปีพ.ศ.2391 สมัยพระเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่  ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่  โดยนางแซ้ด เป็นชาวไทลื้อ สืบเชื้อสายธิดาเจ้าเมืองแซ่จากแคว้นสิบสองปันนา  จนกระทั่งปี พ.ศ.2506 เรือนหลังนี้ตกเป็นของนางกิมฮ้อ นิมมานเหมินทร์ ท่านได้เห็นความสำคัญต่อคุณค่าสถาปัตยกรรมล้านนา  จึงได้มอบเรือนเก่าแก่ของตระกูลให้แก่สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ชื่อเรือนคำเที่ยงเป็นการตั้งชื่อตามมารดาคือ แม่นายคำเที่ยง  เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2509  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จฯ เปิดเรือนคำเที่ยงเป็นพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาอย่างเป็นทางการ
 
ในการเข้าชมเมื่อพิจารณาแล้ว  พบว่ามีรายละเอียดและเรื่องราวของการจัดแสดงค่อนข้างมาก  ในแต่ละส่วนมีป้ายคำอธิบายเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้อย่างละเอียด  มีการสร้างบรรยากาศคลอด้วยเสียงดนตรีล้านนา  และมีวีดีทัศน์ฉายภาพยนตร์วิถีชีวิตในเรือนครัว 
 
คุณพิณทิพย์ เกิดผลานันท์  ผู้ช่วยบรรณารักษ์เป็นผู้นำชม ได้ชี้ให้ดูด้านบนประตู  แผ่นไม้แกะสลักที่ติดอยู่บนนั้นเรียกว่า หำยนต์(หัมยนต์) เป็นความเชื่อของชาวล้านนา เหมือนยันต์ที่ป้องกันขับไล่สิ่งไม่ดีจากภายนอกไม่ให้ผ่านเข้าไปทำอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัยและเป็นสัญลักษณ์บอกพื้นที่เฉพาะคนในตระกูลที่ถือผีบรรพบุรุษเดียวกัน กับคนนอกตระกูล  ด้านหน้าห้องมีหำยนต์อีกหลายแผ่นลวดลายแกะสลักสวยงามแตกต่างกัน  ส่วนนี้ได้มาจากมีผู้อื่นนำมาให้จัดแสดง  ถ้าแหงนมองขึ้นไปบนเพดานจะมีตะแกรงทำด้วยไม้  สำหรับไว้เก็บของใต้หลังคา  เรียกว่า “ค่วน”สิ่งของที่เก็บเป็นคนโฑดินเผา ตะกร้าหรือขันโตกก็ได้
 
เมื่อเดินข้ามธรณีประตูเข้าไปในห้อง  บรรยากาศภายในขรึมขลัง  ฝั่งซ้ายจัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตของผู้ชายกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์  มีรูปปั้นผู้ชายมีลายสัก(สับ)หมึก นิยมสักบริเวณตั้งแต่ช่วงไหล่ลงมาถึงเอว เพื่อป้องกันภัยจากสัตว์ ศาสตราวุธ ภูตผีปีศาจ อาคมคุณไสย และประเภทเมตตามหานิยมมหาเสน่ห์  ใกล้กันมีการจัดแสดงยันต์เทียนและเทียนยันต์  เสื้อยันต์  ผ้ายันต์ ยันต์หัวเสาและยันต์เกี่ยวกับเรือน  ตะกรุด  ดาบอาวุธประจำกายผู้ชาย
 
ส่วนด้านขวาของห้องจัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตของผู้หญิง มีเครื่องประดับสวยงาม เรื่องราวความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ  ตามธรรมเนียมชาวล้านนา ผู้หญิงเป็นผู้ครอบครองและผู้ดูแลเรือน  โดย “สายแม่”จะเป็นผู้รับสืบทอดทั้งเรือนและ “ผีปู่ย่า” วัตถุจัดแสดงที่ใช้ไฟส่องสว่างโดดเด่นกลางห้อง  เป็นเครื่องประดับของผู้หญิงล้านนา มีปิ่นเงิน ต่างหู กำไลข้อมือเงิน แหวน เข็มขัดเงิน  การทอผ้าซิ่นตีนจกเป็นอีกอย่างหนึ่งที่มีการสืบทอดกันจากแม่สู่ลูกสาว  เทคนิคการทำลวดลายส่วนเชิงใช้เทคนิคการจกโดยใช้ขนเม่นหรือไม้สอดนับด้ายเส้นยืน  ซิ่นตีนจกแต่ละท้องถิ่นมีเอกลักษณ์เฉพาะ  จึงบ่งบอกถิ่นฐานของผู้นุ่งซิ่นได้  ที่เห็นเป็นเครื่องนอนปูไว้  แสดงให้เห็นการเย็บ ปัก ถัก ทอเครื่องนอน  เป็นหน้าที่อีกประการของผู้หญิงที่จะแต่งงานต้องทำเครื่องนอนได้ครบทุกอย่าง ได้แก่ สาลี(ฟูก) ผ้าหลบ(ผ้าปูที่นอน) ผ้าทวบหรือผ้าห่ม สุด(มุ้ง) หมอน แบ่งเป็น 4 ชนิด ได้แก่ หมอนหก หน้าหมอนแบ่งเป็นหกส่วน หมอนปล่อง เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส หมอนผา เป็นทรงสามเหลี่ยม  หมอนเดือนบ้าง(หน้าหมอนรูปครึ่งวงกลม)ใช้ประกอบเครื่องบวชพระ นิยมปักหน้าหมอนด้วยเส้นไหมสีต่างๆ
 
ด้านหน้าเรือนหลังใหญ่  ยังมีเรื่องน่าสนใจ ตรงกลางเติ๋นที่ถัดมาจากชานบ้าน ได้จัดแต่งเป็นมุมนั่งเล่นมีเสื่อจักสานปูไว้  มีของสดประดับตกแต่งไว้มีเชี่ยนหมาก ขันโตกหมากพลู  ขันโตกผลไม้  มีอุปกรณ์ทอผ้า เครื่องดนตรีพื้นเมือง  ส่วนนี้มีป้ายเขียนว่า “แอ่วสาว”บริเวณนี้เป็นสถานที่ให้ชายหนุ่มมาแอ่วหา(มาเยี่ยมทักทาย)หญิงสาว  สนทนาเชิงหยอกเย้ากันได้  แต่ต้องอยู่ในสายตาของผู้ใหญ่  ชายหนุ่มมีวิธีสร้างเสน่ห์ให้กับตนเองด้วยการเล่นดนตรี  ดีดพิณเพียะ(อ่าน “เปี๊ยะ”) ซึง สีสะล้อ ผู้หญิงจะนั่งทำงานเล็กๆน้อยๆ อีดฝ้าย ปั่นฝ้าย กรอเส้นด้าย แกะหอม-กระเทียม  และเตรียมมูลีกับเหมี้ยงไว้เป็นเครื่องต้อนรับแล้วจะมอบให้หากพึงพอใจชายใด ถ้าไปถึงขั้นที่ทั้งคู่ยินดีใช้ชีวิตคู่ด้วยกัน จะมีการสู่ขอแต่งงาน หากผู้ชายล่วงเกินถูกเนื้อต้องตัวผู้หญิงแล้ว ชายนั้นต้องมาเสียผีตามประเพณี
 
ส่วนจัดแสดงอีกสองด้านหน้าห้องนอน  มีบายศรีที่ใช้ทำพิธีเรียกขวัญ และมีหมากสุ่มหมากเบ็ง พลูสุ้ม ต้นเทียน สุ่มดอก ทำขึ้นเพื่อการสักการบูชาสูงสุด  โดยจะนำไปถวายพระพุทธรูปหรือพระสงฆ์ผู้ใหญ่ที่วัด หรือเป็นการสักการะเจ้านายก็ได้
 
ถัดมาจากเรือนใหญ่ มีเรือนหลังเล็กต่อมา เชื่อมด้วยระเบียงทางเดินอีก 2 เรือนคือ เรือนครัวและหลองเข้า ซึ่งอยู่แยกไปจากตัวบ้าน ในห้องครัวมีวีดีทัศน์ฉายฉากที่แม่ครัวกำลังทำอาหารแบบล้านนาพื้นบ้าน เมนูตัวอย่างคือแกงแคกบและน้ำพริกน้ำปู ชาวล้านนานั้นจะทำอาหารในช่วงเช้า อาหารหลักจะเป็นข้าวเหนียวและกับข้าวที่หาได้ในธรรมชาติ  คนที่เข้าชมในห้องนี้จะเหมือนเดินเข้าไปในครัวจริงๆ อุปกรณ์พร้อม  แล้วยังมีเรื่องราวความเชื่อเรื่อง เตาไฟ ก้อนเส้า และผีในครัวเรือน
 
ส่วนหลองเข้าหรือยุ้งข้าว กล่าวกันว่าถ้าหลองเข้าบ้านไหนใหญ่โต  แสดงว่าครอบครัวนั้นฐานะดี เวลาชายหนุ่มไปแอ่วสาว  จึงมักตั้งเป้าจีบลูกสาวบ้านที่มีหลองเข้าขนาดใหญ่  การปลูกหลองเข้า นิยมปลูกด้านหน้าบริเวณบ้านเยื้องมาทางข้างของเรือน มีตำราบอกว่าตั้งทิศไหนเป็นมงคลอุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร หลองเข้าไม่นิยมทำหลังคาให้มีกาแล แต่เดิมไม่สร้างติดเรือนใหญ่ บันไดทางขึ้นจะเป็นแบบชั่วคราวเท่านั้น
 
การจัดแสดงด้านในหลองเข้าของที่นี่  เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการปลูกข้าว ความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการทำนา  วัตถุจัดแสดงเช่น ปักขทีนกระด้าง(อ่าน “ปักขะตีนขะด้าง”) จะเสียบอยู่ข้างประตู ข้างฝาหรือใต้ชายคาของหลองเข้า  สลักรูปพระจันทร์เต็มดวงบอกข้างขึ้น พระจันทร์เสี้ยวคือข้างแรม ให้นับ 1 ถึง 15 ค่ำจากบนลงล่าง จุดเล็กในช่องคือ จำนวนผีที่มาแย่งกินข้าว ถ้าไม่มีจุดคือไม่มีผีแย่งกิน ควรนำข้าวเปลือกออกไปตำ หากจำเป็นควรเลือกวันที่มีจุดน้อยที่สุด
 
ส่วนที่ตั้งไว้กลางห้องคือ ตาแหลว จะใช้ในพิธีแรกนา ก่อนที่จะเริ่มดำนาในแต่ละครั้ง เป็นการบูชาผีเสื้อนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้ข้าวเจริญงอกงามดี ในพิธีจะมีการปักตาแหลวที่สี่มุมของบริเวณพิธี ตรงกลางปักตาแหลวหลวงหรือตาแหลวแรกนา มีที่วางเครื่องเซ่นไว้ที่หน้าตาแหลวหลวง  การประกอบพิธีสู่ขวัญข้าว  มีตั้งแต่การเตรียมเครื่องประกอบพิธี คือเครื่องใช้สตรี เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องประทินผิว เป็นต้น เครื่องสู่ขวัญ เช่น บายศรี พร้อมเครื่องคาวหวาน เหล้า หมาก พลู เหมี้ยง ข้าวตอก ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น มีเครื่องขันครูของปู่จารย์ ผู้นำประกอบพิธี 1 ชุด คำกล่าวในการประกอบพิธีมีตั้งแต่ กล่าวสังเวยแม่โพสพ เมื่อนำข้าวที่เกี่ยวเสร็จมากองรวมกันแล้วก็ทำการตีเข้า(นวดข้าว) ต้องมีการแรกตี คือพิธีตีข้าวครั้งแรก  นอกจากพิธีการสู่ขวัญข้าวยังมีพิธีสู่ขวัญควาย เพื่อเป็นการระลึกถึงบุญคุณวัวควายที่ได้ใช้งานหนักมา
 
เดินชมบนเรือนแล้ว ใต้ถุนเรือนยังมีการจัดแสดงสิ่งของพื้นบ้านและเรื่องราวอีกมากมาย เช่น ฝาย  สิ่งที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทดน้ำจากลำน้ำเข้าสู่เหมือง ส่งไปยังที่นา ด้วยการใช้ไม้ไผ่หรือลำต้นไม้ขวางทางน้ำ  แผนผังจำลองหมู่บ้านและวัดล้านนา  กี่ทอผ้า เส้นไหมกับเรื่องราวความลับของสีย้อมผ้าล้านนา  การทอตุงและความเชื่อต่างๆ และยังมีวีดีทัศน์การ์ตูนสามมิติ “ต๊กโตผจญภัย”นำเสนอเรื่องราวของฝายกั้นน้ำและพิธีแรกนา
 
----------------------------------------------------
สาวิตรี  ตลับแป้น /ผู้เขียน
สำรวจภาคสนาม วันที่ 27 กรกฎาคม 2556

----------------------------------------------------
การเดินทาง : การเดินทางสะดวกมากโดย  รถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีสุขุมวิท ประตูทางออกหมายเลข 1 รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีอโศก ประตูทางออกหมายเลข 3
-----------------------------------------------
อ้างอิง 
ข้อมูลการสัมภาษณ์ วันที่ 27 กรกฎาคม 2556
แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง
ASTV ผู้จัดการออนไลน์.(2551).ยล"เรือนคำเที่ยง" สัมผัสเสน่ห์ล้านนา
กลางกรุง. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2556,จาก
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9510000052801
 
ชื่อผู้แต่ง:
-

"เรือนคำเที่ยง" เป็นเรือนเครื่องสับแบบล้านนาไทยดั้งเดิม ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "เรือนกาแล" สร้างเมื่อ พ.ศ. 2391 บริเวณริมฝั่งน้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ โดย นางแซ้ด ซึ่งเป็นลูกหลานสืบเชื้อสายธิดาเจ้าเมืองแช่ ชาวไทลื้อจากแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของประเทศจีน ซึ่งถูกกวาดต้อนมาอยู่เชียงใหม่ในยุค "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" สมัยพระเจ้ากาวิละ 

ลูกหลานของนางแซ้ดได้อาศัยเรือนหลังนี้เรื่อยมาเป็นเวลาร้อยกว่าปี จนกระทั่ง พ.ศ. 2506 นางกิมฮ้อ นิมมานเหมินทร์ ทายาทผู้เป็นเจ้าของเรือนในขณะนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญและคุณค่าของสถาปัตยกรรมล้านนา ซึ่งนับวันจะสูญสลายไปตามกาลเวลา จึงมอบเรือนเก่าแก่ของตระกูลหลังนี้ให้แก่สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาขึ้นในพื้นที่ของสยามสมาคมฯ ในซอยอโศก กรุงเทพฯ

ชื่อ "เรือนคำเที่ยง" ตั้งขึ้นเป็นอนุสรณ์แด่แม่ของนางกิมฮ้อ คือ นางคำเที่ยง อนุสารสุนทร ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่เกิดบนเรือนหลังนี้ การรื้อถอนเรือนคำเที่ยงจากเชียงใหม่มาปลูกไว้บนพื้นที่สยามสมาคมฯ ได้รับเงินสนับสนุนจาก มูลนิธิเอเชีย และมูลนิธิจอห์น ดี รอคกี้เฟลเลอร์ ใช้เวลากว่า 2 ปี จึงสำเร็จ ในระหว่างนั้นมีการจัดหาสิ่งของมาจัดแสดงเพิ่มเติม อาทิ ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องมือหาปลา อุปกรณ์ทำนา และงานไม้แกะสลัก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ ทรงเปิดเรือนคำเที่ยงเป็นพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2509 

การปลูกสร้างเรือนคำเที่ยงขึ้นมาใหม่ในพื้นที่สยามสมาคมฯ ได้มีการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบและทิศทางของเรือน เนื่องจากพื้นที่อันจำกัด ส่วนประกอบหลักของเรือนคำเที่ยง ได้แก่ ห้องนอน เติ๋น ชาน ครัว ร้านน้ำ และยุ้งข้าว

ลักษณะทั่วไปของเรือนล้านนาจะยกใต้ถุนสูง พื้นที่ใช้สอยทั่วไปประกอบด้วยชานกว้าง ซึ่งจะเชื่อมพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของเรือน โดยมีบันไดหลักขึ้นเรือนทางด้านหน้า ริมขอบชานด้านใดด้านหนึ่งจะมีหิ้งวางหม้อน้ำดื่มพร้อมกระบวย ที่เรียกว่า ร้านนา หรือฮ้านน้ำตามการออกเสียงภาษาล้านนา 

ถัดจากชานเป็นห้องโถงเปิดโล่งยกสูงหนึ่งถึงสองคืบ สำหรับนั่งเล่น ทานอาหาร รับแขก เรียกว่า เติ๋น ถัดจากเติ๋นเป็นห้องนอนมีฝารอบทั้งสี่ด้าน ประตูทางเข้าออก 2 ประตู เหนือช่องประตูแผ่นไม้แกะสลักลดลานสวยยามเรียกว่า "หำยนต์" ห้องนอนของเรือนถืออย่างเคร่งครัดว่าเป็นบริเวณสำหรับสมาชิกในครอบครัวเท่านั้น

ขณะนี้เรือนคำเที่ยงได้ปรับปรุงนิทรรศการใหม่ เน้นนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อ พิธีกรรม ความเป็นอยู่ของคนล้านนาที่สอดคล้องกับธรรมชาติ อาทิ การบูชาขันแก้วทั้งสาม การแอ่วสาว การสักยันต์ของผู้ชายล้านนา เครื่องประดับของผู้หญิงล้านนา การนับถือผีปู่ย่า เพื่อเพิ่มความเข้าใจในวิถีชาวล้านนามากขึ้น ทางพิพิธภัณฑ์จัดทำแอนิเมชั่นเรื่อง ต๊กโตผจญภัย เล่าเรื่องการผจญภัยของตุ๊กแกตัวหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และวิถีประจำวันของคนล้านนา ซึ่งเรื่องราวสัมพันธ์กับข้าวของและการจัดแสดงของเรือนคำเที่ยง อาทิ การทำเหมืองฝาย การจับปลา การทำนา พิธีกรรมในการลงเสาเอก ขั้นตอนการปลูกเรือนและส่วนประกอบของเรือน 

นอกจากในส่วนการจัดแสดงแล้ว บริเวณสยามสมาคมที่ร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้นานาพรรณ ยังมีส่วนของห้องสมุด ร้านขายหนังสือและของที่ระลึก และร้านอาหาร บริการแก่ผู้สนใจด้วย

ข้อมูลจาก:
แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์
การสำรวจภาคสนามวันที่ 16 พฤษภาคม 2550
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-