พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส


ศ.นพ.เอลเลอร์ จี. เอลลิส พยาธิแพทย์คนแรกของไทย ชาวอเมริกันที่เข้ามาช่วยพัฒนาศิริราชตามโครงการความร่วมมือกับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ในช่วงปีพ.ศ. 2462-2464 และ 2466-2471 ศ.นพ.เอลลิสได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาในศาลาปาโถโลยีซึ่งเป็นที่ทำการและสถานที่เรียนพยาธิวิทยาในสมัยแรก ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองตึกพยาธิวิทยาถูกระเบิดทำลายเกือบทั้งหมดพยาธิแพทย์รุ่นหลังได้รวบรวมสิ่งแสดงที่หลงเหลือมาจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นใหม่และใช้ชื่อว่า "พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส" เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์และเป็นอนุสรณ์แด่ท่าน ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติพยาธิวิทยาในประเทศไทย ห้องจำลองการปฏิบัติงานทางพยาธิวิทยาที่ตึกเสาวภาคย์ แสดงระบบการทำงานของหัวใจปกติและโรคหัวใจ พัฒนาการและความพิการแต่กำเนิดของทารกและโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ที่พบได้บ่อยในชายและหญิง พร้อมแนวทางการรักษาและป้องกัน จัดแสดงด้วยสิ่งแสดงจริงพร้อมหุ่นจำลองประกอบ

ที่อยู่:
ชั้น 2 อาคารอดุลยเดชวิกรม โรงพยาบาลศิริราช ถ.พรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
โทรศัพท์:
0-2419-6363, หรือภาควิชาพยาธิวิทยา 0-2419-6504,0-2419-6505
วันและเวลาทำการ:
จันทร์,พุธ-อาทิตย์ เวลา หน่วยพิพิธภัณฑ์ศิริราช 10.00-17.00 น. (ปิดจำหน่ายตั๋วเวลา 16.00 น.) ปิดทำการวันอังคารเเละวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม:
1.พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช หรือพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน เพียงแห่งเดียว ต่างชาติ 200 บาท / ไทย 80 บาท เด็กไทยและต่างชาติ อายุต่ำกว่า 18 ปี 25 บาท 2. บัตรเดียวเที่ยว 2 พิพิธภัณฑ์ ต่างชาติ 300 บาท / ไทย 150 บาท เด็กไทยและต่างชาติ 50 บาท
อีเมล:
sirirajmuseum@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2466
ของเด่น:
จำลองห้องปฏิบัติการที่ตึกเสาวภาคย์ ซึ่งเป็นสถานที่ทำงานแรกของ ศ.เอ.จี เอลลิส และเป็นห้องปฏิบัติการแห่งแรกของ โรงพยาบาลที่ใช้ชันสูตรโรค ทั้งตรวจชิ้นเนื้อ เตรียม ย้อม ตรวจรายงานผล และตรวจศพ จัดแสดงตัวอย่างอวัยวะที่เป็นโรค ทั้งโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง สอดแทรกเนื้อหาความรู้ โดยเฉพาะห้องความพิการแต่กำเนิดที่ผู้ชมสนใจเป็นพิเศษ มีทั้งโรคเด็กเงือก (Sirenomelia) เด็กดักแด้ เด็กหัวบาตร เด็กแฝด ฯลฯ, ปอดเหล็กพระราชทาน
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ศิริราช คู่มือการชม

ชื่อผู้แต่ง: พิพิธภัณฑ์ศิริราช | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: พิพิธภัณฑ์ศิริราช

แหล่งค้นคว้า: พิพิธภัณฑ์ศิริราช

โดย: ศมส.

วันที่: 16 กรกฎาคม 2564

ดูลิงค์ต้นฉบับ

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส

ศ.นพ.เอ.จี.เอลลิส พยาธิแพทย์คนแรกของไทย เป็นแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาช่วยพัฒนาศิริราชตามโครงการความร่วมมือกับมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2462 - 2464 และ พ.ศ. 2466 - 2471 ท่านเป็นผู้ริเริ่มในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาในศาลาปาโถโลยี ซึ่งเป็นที่ทำการและสถานที่เรียนพยาธิวิทยาในสมัยแรก ตึกดังกล่าวได้ถูกระเบิดทำลายเกือบทั้งหมดในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา พยาธิแพทย์รุ่นหลังได้รวบรวมสิ่งแสดงต่าง ๆ ตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นใหม่ให้ชื่อว่า "พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส" เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์และเป็นอนุสรณ์แด่ท่าน 

ภายในพิพิธภัณฑ์แสดงวิวัฒนาการทางการแพทย์สาขาพยาธิวิทยา และบอกเล่าเรื่องของโรคพยาธิที่เกิดขึ้นกับร่างกายและทำให้เกิดการเจ็บป่วย หรือเสียชีวิต จัดแสดงอวัยวะของร่างกายมนุษย์ที่ผิดปกติต่างๆ และจัดแสดงร่างกายมนุษย์ที่ผิดปกติแต่กำเนิด เช่น ทารกฝาแฝดแบบต่างๆ เด็กดักแด้ ฯลฯ รวมทั้งโรคที่พบได้ยากและโรคที่พบได้บ่อยในอดีต ตัวอย่างชิ้นเนื้อในอดีตจนถึงปัจจุบันมีเกือบ 4,000 ชิ้น ขณะนี้บางส่วน ยังเก็บอยู่ในคลังของภาควิชา เพื่อรอการจัดแสดงต่อไป

ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิสกำลังจัดแสดงนิทรรศการชั่วคราวระยะเวลา 1 ปี บอกเล่าพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านการพัฒนาด้านสาธารณสุข โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โซนแรก เป็นเรื่องของในหลวงที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณกับการต่อสู้โรคร้าย ไม่ว่าจะเป็นโรควัณโรค เรื้อน โปลิโอ อหิวา และคอพอก มีเครื่องปอดเหล็ก ที่ในหลวงทรงพระราชทานให้แก่โรงพยาบาลศิริราช เพื่อนำไปรักษาเด็กที่ป่วยเป็นโรคโปลิโอให้ได้ชม โซนที่สอง เป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ในหลวงทรงมีต่อวงการแพทย์และวงการสาธารณสุข พระองค์ท่านก่อตั้งทุนอานันทมหิดล ส่งนักเรียนที่มีผลการเรียนดีไปเรียนศึกษาต่อทางด้านแพทย์ โซนที่สามเป็นเรื่องราวของในหลวงกับศิริราช อาทิ ในหลวงทรงเสด็จเปิดตึกต่างๆ ที่ศิริราช เสด็จมาทรงดนตรีที่ศิริราช แก้ไขปัญหาน้ำท่วมในศิริราช ปี2549 ทรงมารักษาพระอาการป่วยที่ศิริราช และยังมีอีกหนึ่งโซนที่จัดแสดงเรื่องราวของในหลวงกับพระราชกรณียากิจภาพรวมต่างๆ

อนึ่ง ภายในโรงพยาบาลศิริราชยังมีพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจอีก 5 แห่งได้แก่ พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน พิพิธภัณฑ์ประวัติการแพทย์ไทยอวย เกตุสิงห์ พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน และพิพิธภัณฑ์ก่อนประวัติศาสตร์และห้องปฏิบัติการ สุด แสงวิเชียร

ข้อมูลจากการสำรวจวันที่ 27 ธันวาคม 2551

ชื่อผู้แต่ง:
-