พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย วังบางขุนพรหม


ภายในพื้นที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย เดิมเป็นที่ตั้งของวังบางขุนพรหม และวังเทวะเวสม์ วังบางขุนพรหมเดิมเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย 2 ตำหนัก คือ ตำหนักใหญ่ และตำหนักสมเด็จ ออกแบบสถาปัตยกรรมสวยงามตามแบบตะวันตก จนได้รับการยกย่องว่าเป็นวังที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย วังเทวะเวสม์ เดิมเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ โดยยังคงปรากฏอาคารให้ชมความงดงาม จำนวน 4 อาคาร คือ ตำหนักใหญ่ เรือนแพริมน้ำ เรือนหม่อมลม้าย และเรือนหม่อมจันทร์ ในปี พ.ศ. 2488 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ย้ายเข้ามาใช้เป็นสถานที่ทำการ กระทั่งถึงปีพ.ศ. 2525 วังบางขุนพรหมได้ปรับเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงวิวัฒนาการเงินตราไทย เริ่มตั้งแต่สิ่งที่ใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และวิวัฒนาการมาเป็นเงินตราโบราณยุคต่าง ๆ จนถึงเงินตรายุคปัจจุบัน

ชื่อเรียกอื่น:
วังบางขุนพรหม
ที่อยู่:
เลขที่ 273 ถ.สามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์:
02-3567766
วันและเวลาทำการ:
วังบางขุนพรหม งดให้บริการเยี่ยมชมเพื่อบูรณะและซ่อมแซมอาคารตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป ทั้งนี้จะเปิดให้บริการเยี่ยมชมอีกครั้งประมาณกลางปี 2562 จองรอบล่วงหน้า https://www.bot.or.th/Thai/MuseumAndLearningCenter/BOTMuseum/Visit/Pages/reservation.a
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
learningcenter@bot.or.th
ปีที่ก่อตั้ง:
2521
ของเด่น:
สถาปัตยกรรมวังบางขุนพรหมงดงามด้วยการผสมผสานระหว่างศิลปะแบบบาโรก และโรโกโก
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

แบงก์ชาติ เปิดตำนาน...วังเทวะเวสม์ พิพิธภัณฑ์

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 11/30/2547

ที่มา: ไทยรัฐ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์เงินตรา ณ พระตำหนักวังบางขุนพรม

ชื่อผู้แต่ง: ฉวีวรรณ เกียรติโชคชัยกุล | ปีที่พิมพ์: ปีที่14ฉบับที่ 11 ก.ย.2536

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

วังบางขุนพรหม

ชื่อผู้แต่ง: ธนาคารแห่งประเทศไทย | ปีที่พิมพ์: 2535

ที่มา: กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊ป

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

วังบางขุนพรหม : เรอเนซองส์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ชื่อผู้แต่ง: นวรัตน์ เลขะกุล และคณะ | ปีที่พิมพ์: 2535

ที่มา: กรุงเทพฯ : สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย

แหล่งค้นคว้า: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

100 ปี วังบางขุนพรหม

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 2549

ที่มา: กรุงเทพฯ : พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

แหล่งค้นคว้า: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย วังบางขุนพรหม

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย มีกำเนิดจากแนวความคิดของ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2502 - 2514) เปิดดำเนินการครั้งแรกในนาม "พิพิธภัณฑ์เงินตรา" ณ สำนักงานสุรวงศ์ ใน พ.ศ. 2512 ต่อมาพิพิธภัณฑ์เงินตราได้ปิดตัวลงในห้วงเวลาที่มีการวางศิลาฤกษ์อาคารสำนักงานใหญ่ บางขุนพรหม (หลังแรก) ในปี 2520 และมีการตั้งคณะทำงานพิจารณาจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของธนาคาร ในปี 2521 โดยจะใช้วังบางขุนพรหม ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ทำการซ่อมแซมปรับปรุงเพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์เงินตราและแสดงประวัติวังบางขุนพรหม เมื่อวังบางขุนพรหมอนุรักษ์แล้วเสร็จ และจัดตั้งเป็น "พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย" เพื่อจัดแสดงประวัติธนาคารแห่งประเทศไทยในวาระครบ 50 ปี นิทรรศการเงินตรา และประวัติวังบางขุนพรหม

ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2536

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับกาลสมัยมาโดยตลอด จนกระทั่งปี 2561 ได้นำวัตถุจัดแสดงโดยเฉพาะเงินตราและธนบัตรจากวังบางขุนพรหม มาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ในห้องมั่นคงของโรงพิมพ์ธนบัตรแห่งแรกของประเทศไทย ปัจจุบันถูกเปลี่ยนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและการเงินของประเทศ ครอบคลุมเรื่องราวตั้งแต่ยุคก่อนรัฐไทยจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้เห็นถึงพัฒนาการและความเชื่อมโยงของบริบททางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ความเป็นอยู่ของผู้คน ตลอดจนความท้าทายและความสำเร็จในการพัฒนาประเทศในแต่ละช่วง

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย วังบางขุนพรหม อยู่ระหว่างการบูรณะงานวิศวกรรมอาคาร และปรับปรุงนิทรรศการจัดแสดง (สถานะ ณ เดือนพฤษภาคม 2564)

ชื่อผู้แต่ง:
อัมพร สาครวาสี

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

ปัจจุบันพื้นที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นที่ตั้งของสองวังที่มีสถาปัตยกรรมอันงดงามได้แก่ วังบางขุนพรหม วังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระราชโอรสพระองค์ที่ 33 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าสุขุมาลย์มารศรีพระอัครราชเทวี และวังเทวะเวสม์ วังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา(เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์พร้อมความงดงามทางสถาปัตยกรรมของวังทั้งสอง จึงนำวังทั้งสองแห่งจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้น คือพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย และพิพิธภัณฑ์วังเทวะเวสม์ 

ตำหนักวังบางขุนพรหม ใช้เป็นอาคารจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อสร้างในปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คาร์ล ดอห์ริง(Karl Dohring) สถาปนิกชาวเยอรมันเป็นผู้ออกแบบ ตัวตึกเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างเรเนอซองส์ บาโร้ค ร้อคโคโค่ และอาร์ตนูโว ซึ่งสถาปัตยกรรมรูปแบบดังกล่าวเป็นที่นิยมมากในประเทศไทยในช่วงเวลานั้น ตำหนักวังบางขุนพรหมประกอบไปด้วยหมู่ตึกน้อยใหญ่ ที่เด่นที่สุดคือตำหนักใหญ่ และตำหนักสมเด็จฯ 

ตำหนักใหญ่เป็นอาคารหลักที่ตั้งขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยาในทิศเหนือใต้ ขนาบด้วยปีกตึกทั้งสองข้าง ตกแต่งด้วยลายไม้และปูนปั้น หน้าต่างเป็นแบบpalladian (หน้าต่างที่แบ่งเป็นสามส่วน ส่วนกลางใหญ่กว่าสองส่วนด้านข้าง และมักจะเป็นรูปโค้ง) เสาปูนคลาสสิค และมีบันไดหินอ่อนทอดตัวลงสู่โถงกลางตำหนัก ส่วนตำหนักสมเด็จฯ นั้นสร้างขึ้นในเวลาต่อมา สะท้อนถึงศิลปะแบบอารต์นูโว ตกแต่งโดยภาพวาดปูนเปียก(freshco) ฝีมือคาร์โล ริโกลิ (Carlo Rigoli) หนึ่งในศิลปินชาวอิตาเลียนที่วาดรูปจิตรกรรมฝาผนังในพระที่นั่งอนันตสมาคม

ตำหนักวังบางขุนพรหมเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตได้เพียง 30 ปี เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ. 2475 ท่านทรงลี้ภัยไปยังต่างประเทศ ตำหนักตกเป็นสมบัติของรัฐ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2488 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ย้ายเข้ามาใช้เป็นสถานที่ทำการจนกระทั่งถึงปีพ.ศ. 2525 จึงได้ปรับเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดพิพิธภัณฑ์เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2536 

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดแสดงวิวัฒนาการเงินตราไทย เริ่มตั้งแต่สิ่งที่ใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และวิวัฒนาการมาเป็นเงินตราโบราณยุคต่าง ๆ จนถึงเงินตรายุคปัจจุบัน รวมทั้งบทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ประวัติผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนประวัติวังบางขุนพรหม และประวัติสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต โดยมีห้องจัดแสดง 14 ห้อง อาทิ ห้องเงินตราโบราณ จัดแสดงเงินตราของอาณาจักรฟูนัน ทวารวดี ศรีวิชัย ล้านนา และล้านช้าง ห้องพดด้วง จัดแสดงเงินพดด้วงในสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ตลอดจนวิธีการผลิตเงินพดด้วง ห้องกษาปณ์ไทย จัดแสดงเหรียญกษาปณ์ตั้งแต่เริ่มมีการทำเหรียญกษาปณ์ออกใช้ ห้องธนบัตรไทย จัดแสดงวิวัฒนาการของธนบัตรไทยตั้งแต่หมายในรัชกาลที่ 4 ธนบัตรแบบแรกจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งธนบัตรที่ระลึกในโอกาสสำคัญ ๆ ห้อง 60 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดแสดงประวัติความเป็นมาของธนาคารแห่งประเทศไทย บทบาทและหน้าที่ ตลอดจนเหตุการณ์สำคัญในรอบ 60 ปีที่ผ่านมา ห้องบริพัตร จัดแสดงพระประวัติ พระกรณียกิจและพระอัจฉริยภาพของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต 

วังเทวะเวสม์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพระราชทานแก่สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เพื่อเป็นที่ประทับในยามมีพระชันษาแล้ว เริ่มสร้างในปี 2457 เสด็จขึ้นวังในปี 2461 วังเทวะเวสม์ประกอบด้วยอาคาร 8 หลัง โดยตำหนักใหญ่ที่ประทับออกแบบและก่อสร้างโดย เอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ สถาปนิกชาวอังกฤษ ส่วนอาคารหลังอื่น ๆ รวมทั้งเรือนแพริมน้ำออกแบบและก่อสร้างโดย เอมิลโย โจวันนี อูเจนโย กอลโล วิศวกรชาวอิตาลี วังเทวะเวสม์มีสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก 

สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ประทับอยู่ที่วังนี้ได้เพียง 5 ปี ก็สิ้นพระชนม์ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง วังเทวะเวสม์ได้ใช้เป็นที่ทำการของกระทรวงสาธารณสุข จนปัจจุบันอยู่ภายใต้การครอบครองของธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อมาธนาคารแห่งประเทศร่วมกับกรมศิลปากรได้ทำการศึกษาประวัติศาสตร์ ตลอดจนอนุรักษ์อาคารตำหนักใหญ่ พร้อมจัดนิทรรศการถาวรขึ้น 2 ห้อง ภายในตำหนักใหญ่ ได้แก่ ห้องเทพสถิตย์สถาพร จัดแสดงพระราชประวัติของสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ "บิดาแห่งการต่างประเทศของไทย" และห้องบุราณสถานบูรณะ จัดแสดงประวัติวัง และเรื่องราวการบูรณะวังเทวะเวสม์ และวังบางขุนพรหม นอกจากสองห้องแล้ว ภายในวังเทวะเวสม์ยังคงบรรยากาศในบางห้องไว้แบบเดิม

ข้อมูลจาก:
1. แผ่นพับประชาสัมพันธ์ พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย
2. แผ่นพับประชาสัมพันธ์ วังเทวะเวสม์
3. Ping Amaranand and William Warren. Heritage Homes of Thailand. Bangkok: Siam Society,1996.
4. สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. 174 มรดกสถาปัตยกรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับบลิชชิ่งจำกัด (มหาชน), 2547.
ชื่อผู้แต่ง:
ปณิตา สระวาสี

วังบางขุนพรหม วังเทวะเวสม์ 2 สุดยอดพิพิธภัณฑ์“ไฮเทค”

หากเอ่ยชื่อ “พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย” เชื่อว่ามีผู้คนไม่น้อยที่จินตนาการถึงพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ว่า น่าเบื่อหน่ายไม่มีอะไรมากไปกว่าการแสดงเรื่องราววิวัฒนาการเกี่ยวกับเงินในยุคสมัยต่างๆ แต่หากมีเวลาสักนิดเข้าชมและสัมผัสเนื้อแท้ของพิพิธภัณฑ์ฯ คงต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าน่าประทับใจจริงๆ สมคิด แสงเพชร ผู้บริหารส่วนพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย เล่าถึงนิทรรศการต่างๆ ที่จัดแสดงภายในวังบางขุนพรหมจำนวน 7 ห้องว่า
ชื่อผู้แต่ง:
-

วังบางขุนพรหม : ล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ กับวังแสนสง่าเคียงคู่เจ้าพระยา

วังบางขุนพรหม คือหนึ่งในสถานที่ในกรุงเทพที่ผมอยากจะไปมากๆ ที่นึง โดยสถานที่นี้นอกจากจะมีความสวยงามเป็นที่เลื่องลือไปทั่วแล้ว สถานที่แห่งนี้ยังเป็นสถานที่ที่มีประวัติศาสตร์มากมาย โดยเฉพาะในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5-7 ของราชวงศ์จักรีครับ และในที่สุดหลังจากการรอคอยมายาวนาน ความฝันและความตั้งใจของผมก็สำเร็จลุล่วง เพราะหลังจากที่ผมเริ่มวางแผนที่จะทำ The Hidden Gems Thailand Project หรือการรวบรวมสถานที่ลับๆ ดีๆ ที่คนไทยไม่ค่อยรู้จักมาเผยแพร่ให้คนรู้จักมากยิ่งขึ้น ชื่อของวังบางขุนพรหม และศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทยคือชื่อแรกๆ ที่ผุดขึ้นมาในรายชื่อที่ผมลิสต์ไว้เลยครับ เอาล่ะ….ถ้าทุกคนพร้อมแล้ว ก็ตามไปชมความงาม เรียนรู้ประวัติศาสตร์ และเข้าใจถึงความสำคัญของเงินตราไปพร้อมๆ กับผมได้เลยครับ
ชื่อผู้แต่ง:
-