ห้องอนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดสร้างห้องอนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์ ขึ้นบนชั้นสองของตึกโดม เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงท่านปรีดี พนมยงค์ ผู้นำทางการเมืองในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 และผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แนวคิดในการจัดสร้างมุ่งที่จะนำเสนอประวัติชีวิตและแนวคิดทางการเมือง ของปรีดี พนมยงค์ โดยสร้างบรรยากาศของสังคมในยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 6 พื้นที่ พื้นที่ที่1 นักอุดมการณ์และนักอภิวัฒน์ประชาธิปไตย พื้นที่ที่2 ชีวิตช่วงต้นและการหล่อหลอมทางสังคม พื้นที่ที่3 สามัญชนผู้ยิ่งใหญ่ เล่าถึงการอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองและผลงานสำคัญ พื้นที่ที่4 มรสุมทางการเมือง พื้นที่ที่5 ชีวิตช่วงปลาย: ผู้ลี้ภัยกับการตกผลึกทางความคิด พื้นที่ที่6 กอบกู้เกียรติยศแด่คนดีที่เมืองไทยไม่ต้องการ

ที่อยู่:
ตึกโดม ชั้น 2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ
โทรศัพท์:
0-2613-3880, 0-2613-3840-1
วันและเวลาทำการ:
เปิดวันจันทร์- ศุกร์ เวลา 10.00 น.-15.30 น
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2551
จัดการโดย:
เนื้อหา:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ระลึกถึงคนดี บูรณะ"อนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์"

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 3/07/2551

ที่มา: คมชัดลึก

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

แกะรอยนักคิดที่ "อนุสรณ์สถาน ปรีดี พนมยงค์"

ชื่อผู้แต่ง: สุภัทธา สุขชู | ปีที่พิมพ์: 26,299 (ส.ค.51)สิงหาคม 2551

ที่มา: นิตยสารผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ห้องอนุสรณสถานปรีดี พนมยงค์งานดีไซน์ กับการเล่าเรื่องการเมืองไทย

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 21-12-2551 (หน้า1,2)

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจวันอาทิตย์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของห้องอนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์

ชื่อ "ปรีดี พนมยงค์" เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในฐานะผู้นำทางการเมือง ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 และผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดสร้างห้องอนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์ ขึ้นในพ.ศ.2535 จากกาลเวลาที่ล่วงเลยทำให้ห้องอนุสรณ์สถานทรุดโทรมลง ในพ.ศ.2550 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงมีมติให้ปรับปรุงห้องดังกล่าว โดยบริษัท รักลูก เอ็กดูเท็กซ์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการออกแบบและจัดสร้าง แนวคิดในการจัดสร้างมุ่งที่จะนำเสนอประวัติชีวิตและแนวคิดทางการเมือง ของปรีดี พนมยงค์ โดยสร้างบรรยากาศของสังคมในยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 6 พื้นที่ ดังนี้
 
พื้นที่แรก "นักอุดมการณ์และนักอภิวัฒน์ประชาธิปไตย" เป็นโซนที่เน้นการเสนอแนวคิดและอุดมการณ์ นักอุดมการณ์และนักอภิวัฒน์ประชาธิปไตย เป็นโซนที่เน้นการเสนอแนวความคิดและอุดมการณ์ "สังคมวิทยาศาสตร์ประชาธิปไตย" โดยการตีความผ่านคีย์เวิร์ด 5 คำ คือ เอกราช อธิปไตย สันติภาพ ความเป็นกลาง และความไพบูลย์ประชาธิปไตย พื้นที่ที่สอง ชีวิตช่วงต้นและการหล่อหลอมทางสังคม จัดแสดงประวัติตั้งแต่เยาว์วัยไปจนถึงวัยหนุ่มก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 แบ่งเป็น 4 ตอน ได้แก่ ลูกชาวนา นักเรียนกฎหมาย การศึกษาในฝรั่งเศสและชีวิตข้าราชการและครอบครัว จัดแสดงผ่านโทนสี เน้นเนื้อหาที่ตอกย้ำอุดมการณ์ โดยเฉพาะสีแดงสำหรับพื้นที่จะมีการปรับให้ไล่ระดับขึ้นจากโซนแรกเพื่อเปรียบเทียบกับความคิดของท่านที่ค่อยๆก่อตัวขึ้น นอกจากนั้นยังมีแท่งประติมากรรมทางชนชั้น แสดงถึงความไม่เท่าเทียมกันของคนในสังคม และการมีช่องว่างระหว่างชนชั้น
 
พื้นที่ที่สาม สามัญชนผู้ยิ่งใหญ่ เล่าถึงการอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองและผลงานสำคัญ เน้นให้เห็นภาพที่ท่านเป็นแกนนำคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นำเสนอการวางแผนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โซนนี้ออกแบบโดยการมองผ่านช่องกระจก เพื่อแสดงว่าแผนต่างๆเป็นความลับที่แพร่งพรายไม่ได้ ในบริเวณเดียวกันยังมีการแสดงหมุดประชาธิปไตยที่คณะราษฎรทำขึ้น เมื่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งหมุดปัจจุบันอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ในโซนนี้ยังมีการจัดแสดงหลัก 6 ประการผ่านเสา 6 ต้น ที่มีขนาดเท่ากัน แสดงถึงความเท่าเทียมกันในสังคม ได้แก่เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพและการศึกษา ด้านสีก็จะสว่างขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอเอกสารและจดหมายเหตุในวันที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
 
พื้นที่ที่สี่ มรสุมทางการเมือง เป็นการแสดงถึงช่วงที่ถูกฝ่ายตรงข้ามโจมตีอย่างรุนแรง จัดแสดงผ่านทางเดินที่คับแคบ เน้นความรู้สึกอึดอัด กดดันด้วยการใช้สีแดงประกอบกับรูปกราฟฟิกลวดหนามตลอดทางเดินแคบๆ และไม่มีบริบททางสังคมใดๆกล่าวถึงท่านเหมือนเป็นช่วงที่ท่านถูกลืมเลือนไปจากสังคมในช่วงเวลานั้น
 
พื้นที่ที่ห้า ชีวิตช่วงปลาย: ผู้ลี้ภัยกับการตกผลึกทางความคิด แสดงชีวิตในช่วงที่ลี้ภัยไปอยู่ฝรั่งเศส เน้นการตกผลึกทางความคิดตามแนวคิดสังคมวิทยาศาสตร์ประชาธิปไตย ในโซนนี้จะจัดเป็นห้องทำงาน เครื่องใช้ต่างๆ เป็นเครื่องใช้ที่ใช้จริงขณะพำนักอยู่ที่ฝรั่งเศส มีการแสดงหนังสือ เอกสาร ประมวลภาพการทำงานที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีการฉายสารคดีเรื่องวันเวลาอองโตนี เป็นการสัมภาษณ์ท่านผู้หญิงหลังจากนายปรีดีถึงแก่อสัญกรรม ซึ่งถือเป็นอีกไฮไลท์ในโซนนี้
 
พื้นที่ที่หก กอบกู้เกียรติยศแด่คนดีที่เมืองไทยไม่ต้องการ เป็นพื้นที่จัดแสดงผลงานที่ลูกศิษย์สร้างขึ้นเพื่อกอบกู้เกียรติยศให้แก่นายปรีดีในหลายรูปแบบ โดยเริ่มตั้งแต่นักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์แปลอักษรในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ พ.ศ.2526 ข้อความว่า "พ่อนำชาติด้วยสมองและสองแขน พ่อสร้างแคว้นธรรมศาสตร์ประกาศศรี พ่อของข้านามระบือชื่อ "ปรีดี" แต่คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ" และทิ้งท้ายด้วยคำพูด "ไม่มีการอภิวัฒน์ใดที่จะเปลี่ยนความสัมพันธ์การผลิตได้ในทันทีทุกอย่าง แม้การอภิวัฒน์นั้นจะได้รับยกย่องว่าก้าวหน้าที่สุด แต่ก็ต้องใช้เวลาเปลี่ยนแปลง" ให้คนรุ่นหลังได้คิดต่อ 
 
ห้องอนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์ เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.00-16.00 น.โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
 
ข้อมูลจาก: คมชัดลึก 3 กรกฎาคม 2551
ชื่อผู้แต่ง:
-