พิพิธภัณฑ์สักทอง


ที่อยู่:
วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร 90 ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์:
02-628-7956, 02-628-9880-1, 089-812-4495, 081-555-2450
โทรสาร:
02-628-7956
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 10.00-17.00 น.
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2552
ของเด่น:
เขียงไม้สักทอง รูปปั้นไฟเบอร์กลาสพระอริยสงฆ์และสมเด็จพระสังฆราช

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 16 ตุลาคม 2555

โดย: -

วันที่: 16 ตุลาคม 2555

โดย: -

วันที่: 16 ตุลาคม 2555

ไม่มีข้อมูล

เตรียมเปิดพิพิธภัณฑ์รูปเหมือน 19 สมเด็จพระสังฆราช

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 31 พฤษภาคม 2552

ที่มา: ไทยรัฐ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เทศกาลวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

ชื่อผู้แต่ง: ชาธิป สุวรรณทอง | ปีที่พิมพ์: วันที่ 3 มิถุนายน 2553

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์สักทอง พิพิธภัณฑ์แห่งการเรียนรู้ เพื่อการอนุรักษ์ เพื่อการศึกษาและเรียนรู้ เพื่อการศึกษาคุณธรรมของคนไทย

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: มูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 15 ตุลาคม 2558

“พิพิธภัณฑ์สักทอง” หนึ่งเดียวในไทย ชวนไปไหว้พระสังฆราช 19 พระองค์

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 13 พ.ย. 2558;13-11-2015

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 28 มิถุนายน 2559


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์สักทอง

ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ภายในวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร  วัดโบราณที่ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1850  มีเรือนไม้สักทองตั้งขึ้นมาอย่างโดดเด่น  เรือนหลังนี้ ศ.ดร.อุกฤษ  มงคลนาวิน  ประธานโครงการบูรณะพระอาราม  และท่านผู้หญิงมณฑินี  มงคลนาวิน  รองประธานโครงการฯ  ได้มีจิตศรัทธาถวายให้วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร  เพื่อดำเนินการสร้างเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ไม้สักทอง  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การอนุรักษ์  เป็นศูนย์เผยแพร่ความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาและเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในพ.ศ. 2549  และเฉลิมพระชนมพรรษาครบ  80  พรรษาในปี  พ.ศ. 2550
 
สิ่งที่สะดุดตาแรกก้าวเข้าไปในอาคารจัดแสดง  เสาไม้ขนาดสองคนโอบปรากฏแก่สายตา  ที่มาของอาคารไม้สักทองเริ่มมาจากในปี พ.ศ. 2531มีผู้เสนอขายบ้านสักทองชื่อ “บ้านแก้ว”อยู่ในจังหวัดแพร่  บ้านแก้วสร้างมาจากบ้านไม้สักทองภาคเหนือ 11 หลัง มีเสาทั้งหมด 59 ต้น ขนาดสองคนโอบ อนุมานว่าไม้สักที่ใช้ในการสร้างพิพิธภัณฑ์หลังนี้มีอายุประมาณ 479 ปี  
 
ด้วยความต้องการอนุรักษ์ไม้สักทอง ไม่ให้ถูกแปรรูปเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย  มูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ-ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน  จึงรับซื้อไว้เพื่อให้เป็นสมบัติของชาติ  ผู้เข้าชมจะได้มีโอกาสชมความยิ่งใหญ่และความงดงามของไม้สักทอง ซึ่งในอดีตเคยเป็นสินค้าออกสำคัญของไทย
 
คุณเสวต  สุขกุล  เจ้าหน้าที่อาวุโสของมูลนิธิฯ เป็นผู้นำชม  เริ่มจากห้องกลางใกล้โต๊ะประชาสัมพันธ์  จัดแสดงเขียงไม้สักทองที่ปรากฏลายวงปีชัดเจน นับได้ 179 วง  พร้อมกับคำอธิบายส่วนประกอบต่างๆ ได้แก่ เปลือก กระพี้ไม้ วงปีหรือวงเจริญเติบโต แก่นไม้ ไส้ไม้ และตำแหน่งของวงปีที่สันนิษฐานว่าเป็นปีพอศอเท่าใดและมีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้าง  การวิเคราะห์เสาไม้สักทำด้วยวิธีการหาค่าคาร์บอน-14  โดยสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)
 
อาคารของพิพิธภัณฑ์นี้  ผู้เข้าชมจะได้ชื่นชมกับความสวยงามของไม้สักทองขนาดใหญ่  ด้วยฝีมือช่างที่การก่อสร้างได้อย่างประณีตงดงาม  ส่วนจัดแสดงชั้นล่างแบ่งเป็น 3 ห้องใหญ่  ห้องด้านซ้ายของชั้นล่างใกล้ประตูห้องมีมุมจำหน่ายสินค้าที่ระลึก  ห้องนี้เป็นห้องชีวประวัติของศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน กลางห้องมีพระสยามเทวาธิราชองค์จำลอง 
 
จากนั้นคุณเสวตพาชมชั้นบน  ซึ่งแบ่งเป็น 3 ห้องใหญ่เช่นเดียวกัน  บริเวณห้องโถงกลางมีพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขนาดใหญ่  เมื่อแหงนมองขึ้นไปบนเพดานจะเห็นความสวยงามของไม้สักทองที่เข้าไม้โค้งเป็นโดม  ประดับด้วยโคมไฟระย้า  ตรงนี้ประดิษฐานพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรสมัยอยุธยา  4 องค์  องค์ที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในสมัยอยุธยา  ด้านหลังพระพุทธรูปทำเป็นผนังประดับกระจก  มีข้อความของศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ในฐานะที่ท่านเป็นนักกฎหมาย “นิติธรรม ยุติธรรม สันติธรรม”
 
ห้องชั้นบนด้านขวามือ  ห้องใหญ่มีหุ่นไฟเบอร์กลาสเป็นพระอริยสงฆ์ 18 รูป ขนาดเท่าองค์จริงพร้อมแผ่นป้ายประวัติโดยย่อ  คุณเสวตบอกว่าวัสดุปั้นชนิดนี้ดูแลรักษาง่าย  พระอริยสงฆ์ท่านที่เรารู้จักกันดี อาทิเช่น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (หลวงพ่อโต พรหมรังสี) พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ (หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด) หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านพุทธทาสภิกขุ หลางปู่มั่น ภูริทัตโต พระครูบาศรีวิชัย  กลางห้องมีบุษบกประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและอรหันตธาตุพระสาวก
 
ติดกับห้องนี้มีห้องเล็กมีโต๊ะหมู่บูชา  คุณเสวตให้สังเกตที่ลายดอกพุดตาน  การจัดทำมีการอนุรักษ์ลวดลายโบราณนี้ไว้   ส่วนด้านในมีตู้กระจกมีตัวอย่างวัตถุมงคล  สำหรับผู้บริจาคให้กับมูลนิธิฯ มาเป็นงบประมาณสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้
 
ชั้นบนด้านซ้ายมือห้องใหญ่มีรูปปั้นไฟเบอร์กลาสของสมเด็จพระสังฆราชทั้ง 18 องค์ ส่วนองค์ที่ 19 องค์ปัจจุบันเป็นภาพถ่าย  คุณเสวตอธิบายว่าสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นเชื้อพระวงศ์  พระนามของพระองค์ท่านขึ้นต้นว่าสมเด็จพระสมณเจ้า  อาทิเช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระปรมานุชิตชิโนรส  สมเด็จพระสังฆราชองค์แรกคือสมเด็จพระสังฆราช(ศรี) พ.ศ. 2325-2337 ติดกับห้องนี้ยังมีห้องเล็ก  เป็นห้องจปร. มีพระบรมราชานุสาวรีย์จำลองพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีภาพขนาดใหญ่ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  พระบิดาแห่งกฎหมายไทย
 
จากห้องนี้คุณเสวตได้พาลงบันไดเล็กด้านที่ลงไปยังห้องชั้นล่างด้านขวา  ห้องนี้ทำเป็นห้องสมุด ผู้เข้าชมสามารถนั่งพักอิริยาบถ บนโต๊ะมีอัลบั้มภาพถ่ายให้เปิดชมได้  ส่วนของนิทรรศการเป็นเรื่องราวของวัดเทวราชกุญชรวิหาร  มีประวัติท่านเจ้าอาวาส  พระเทพคุณาภรณ์  มีภาพเก่าก่อนบูรณะอาคารต่างๆ ได้แก่พระอุโบสถ พระวิหาร กุฏิสงฆ์ทรงปั้นหยา มณฑปจัตุรมุข เทวราชกุญชร  เทวราชธรรมสภา  เทวราชบรรณศาลา  และภาพหลังการบูรณะที่มีความสวยงามอย่างในปัจจุบัน
 
การบริหารจัดการของพิพิธภัณฑ์  ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของมูลนิธิฯ โดยจัดบุคลากรมาประจำพร้อมนำชมทุกวัน  การเข้าชมของคณะทัวร์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ  ทางวัดอนุญาตให้นำเรือท่องเที่ยวมาจอดเทียบท่าตรงท่าเรือของวัดได้  นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ลงจากเรือแล้วก็ตรงมาเข้าพิพิธภัณฑ์สักทองเป็นลำดับแรก  จากนั้นจะเข้าไปชมงานจิตรกรรมอันทรงคุณค่าในพระอุโบสถ  เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง  ด้านข้างทั้ง 2 ด้านเหนือช่องหน้าต่างบน เขียนภาพเหตุการณ์ที่เหล่าเทพ
ยดามาชุมนุมกัน ขณะที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จโปรดพระสิริมหามายา ผู้เป็นพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  ส่วนบานหน้าต่างของพระอุโบสถ เป็นงานจิตรกรรมเครื่องตั้งของจีน ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมมากในสมัยรัชกาลที่ 3  ถ้าต้องการชมลายดอกพุดตานอันสวยงาม  ให้แหงนมองที่หน้าบันเป็นงานไม้ประดับกระจกสีของพระอุโบสถ
----------------------------------------------------
สาวิตรี  ตลับแป้น /ผู้เขียน /ถ่ายภาพ
สำรวจภาคสนาม วันที่  24  มิถุนายน 2555
----------------------------------------------------
การเดินทาง : ถ้ามาจากทางเทเวศร์เมื่อถึงแยกสี่เสาเทเวศร์ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนศรีอยุธยา ข้างหอสมุดแห่งชาติ วัดจะอยู่ตรงสุดถนน รถประจำทางที่ผ่านมี สาย 3, 9, 16, 19, 30, 32, 33, 43, 64, 65, 110 หรือหากมาทางเรือ ให้ขึ้นที่ท่าน้ำเทเวศร์จะมองเห็นวัดอยู่ทางซ้ายมือ  ให้เดินข้าม
คลองผดุงกรุงเกษม ผ่านตลาดเทวราชแล้วเข้ามาทางหน้าวัด
-----------------------------------------------
อ้างอิง  :  ข้อมูลการสัมภาษณ์เมื่อวันที่  24  เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555
                พาไปเที่ยว “วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร”(2555).ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2555.   http://www.oknation.net/blog/noiy/2009/07/09/entry-2  
                พิพิธภัณฑ์สักทอง.(2553).ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2555. http://goldenteakmuseum.com
                     /index.php 
                มูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน-ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน. พิพิธภัณฑ์สักทอง. (หนังสือจัดทำขึ้นสำหรับพิพิธภัณฑ์)
                วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร.(2554).ดั่งรัตนมณีเบิกฟ้า.กรุงเทพฯ.


 
ชื่อผู้แต่ง:
-

รีวิวของพิพิธภัณฑ์สักทอง

เมื่อประมาณเดือนกันยายน 2531 ได้มีผู้เสนอขายบ้านไม้สักทองชื่อ "บ้านแก้ว" เป็นบ้านไม้สักทองหลังใหญ่ คู่กับบ้านประทับใจ จังหวัดแพร่ ซึ่งเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชม ก่อนที่จะเป็น "บ้านแก้ว" นี้ ได้มีการรวมไม้เก่าที่ใช้ปลูกบ้านอยู่อาศัยมานานหลายปี อันเป็นไม้สักทองที่ปลูกอยู่ทางภาคเหนือ จำนวน 11 หลัง มาปลูกเป็นบ้านหลังเดียว รูปทรงเป็นทรงทางเหนือใต้ถุนสูง มุงหลังคาสังกะสี ชั้นล่างเป็นพื้นดินถมแน่น ทำให้ดูไม่สวยงามและได้ประโยชน์ใช้สอยไม่คุ้มค่า เจ้าของ "บ้านแก้ว" เองก็มีอายุมากแล้ว สุขภาพไม่ค่อยดีนัก ลูกหลานก็แยกย้ายกันประกอบอาชีพ และรับราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ 

เจ้าของ "บ้านแก้ว" มีความประสงค์จะขายให้แก่ผู้อื่น แต่เมื่อขายไปแล้ว ไม้ที่ทรงคุณค่าทั้งหมดนี้จะถูกแปรรูปเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยอย่างน่าเสียดาย จึงได้ขอร้องให้โครงการนาวิน ปาร์ค รับซื้อไว้เพราะเชื่อว่าโครงการฯ จะต้องรักษาสภาพไม้ของ "บ้านแก้ว" ไว้ในสภาพที่ดีและจะเป็นสถานที่ทัศนศึกษาของประชาชนต่อไป จึงได้สร้างไว้ที่นาวิน ปาร์ค รังสิต ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

"บ้านสักทอง" หลังนี้สร้างไว้เพื่อต้องการอนุรักษ์ไม้สักทองไว้เป็นสมบัติของชาติ และให้เยาวชนทั้งหลายมีโอกาสชมความยิ่งใหญ่ และความงดงามของไม้สักทอง 

ต่อมา ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ประธานโครงการบูรณะพระอาราม ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน รองประธานโครงการบูรณะพระอารามวัดเทวราชกุญชร มีจิตศรัทธาถวายบ้านสักทองหลังนี้ให้แก่วัดเทวราชกุญชรเพื่อดำเนินการสร้างเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ไม้สักทอง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การอนุรักษ์ เป็นศูนย์เผยแพร่ความรู้ทางด้านพุทธศาสนา และเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในปีพ.ศ.2549 และทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษาในปีพ.ศ.2550 

เรือนไม้สักทอง ลักษณะทรงปั้นหยาประยุกต์ 2 ชั้น กว้าง 16.75 เมตร ยาว 30.15 เมตร ปัจจุบันกำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ที่วัดเทวราชกุญชร โดยใช้ชื่อ "อาคารพิพิธภัณฑ์สักทอง" จะจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ด้านพุทธศาสนาที่สำคัญเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไปทั้งชาวไทยและต่างชาติ

ลักษณะเป็นทรงปั้นหยาประยุกต์ 2 ชั้น กว้าง 16.75 เมตร ยาว 30.15 เมตร เป็นเนื้อที่ชั้นละประมาณ 505 ตารางเมตร รวม 2 ชั้น มีเนื้อที่ประมาณ 1,010 ตารางเมตร

ชั้นบนจะจัดแสดงรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้ง (ไฟเบอร์กลาส) เท่าพระองค์จริงของสมเด็จพระสังฆราช 18 พระองค์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เพื่อประชาชนผู้ศรัทธาได้กราบไหว้บูชา

ชั้นล่างจะจัดแสดงภาพพระประวัติของสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนผู้ศรัทธาทั่วไป ซึ่งประชาชนเพียงจำนวนน้อยเท่านั้น ที่จะทราบพระประวัติและวัดของสมเด็จพระสังฆราชแต่ละพระองค์


ที่มา: http://www.watdevaraj.com/index.php?mo=3&art=157592 [accessed 20093003]

คลิกอ่านข่าวจากไทยรัฐ "เตรียมเปิดพิพิธภัณฑ์รูปเหมือน 19 สมเด็จพระสังฆราช"

คลิกอ่านข่าวจากกรุงเทพธุรกิจ
 "เทศกาลวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร"
 

ชื่อผู้แต่ง:
-

“พิพิธภัณฑ์สักทอง” หนึ่งเดียวในไทย ชวนไปไหว้พระสังฆราช 19 พระองค์

“พิพิธภัณฑ์สักทอง” เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่ฉันอยากจะมาชมด้วยตาตัวเองสักครั้ง เพราะได้ยินมาว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในบรรยากาศเรือนทรงปั้นหยาหลังงามที่สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง อีกทั้งยังเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกที่จัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งสมเด็จพระสังฆราชทั้ง 19 พระองค์ของประเทศไทยให้ได้ชม
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์สักทอง

ไม้สักมีอยู่เฉพาะในเอเชียใต้ (อินเดีย) และเอเชียอาคเนย์ ต่างชาติรู้ค่ามานาน อนุรักษ์บ้านเรือนที่ส่งไม้สักออกไปปลูกสร้างไว้อย่างดี ในจังหวัดทางภาคเหนือของไทยซึ่งเป็นแหล่งไม้สักก็มีบ้านหลังงามๆ อยู่มาก บ้านแก้วในจังหวัดแพร่ปลูกสร้างจากบ้านเก่า ๑๑ หลัง มีเสาไม้สักใหญ่กว่าคนโอบอยู่ ๕๙ ต้น ตรวจสอบอายุไม้ได้เก่าสุดคือ ๔๗๙ ปี เจ้าของบ้านเกรงว่าวันข้างหน้าหากมีเหตุให้ต้องเปลี่ยนมือ ไม้สักล้ำค่าที่ประกอบขึ้นเป็นบ้านหลังนี้จะกระจัดกระจาย จึงขอให้มูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน รับซื้อไว้ เพราะเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อไป
ชื่อผู้แต่ง:
-

เทศกาลวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

กรุงเทพมหานครมีสถานที่สำคัญมากมาย ซึ่งมีความสำคัญทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ที่น่าสนใจ ควรค่าในการอนุรักษ์ โดยภายในพื้นที่เขตดุสิตนี้ มีสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมตั้งอยู่มากมาย และวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงที่สำคัญและมีความน่าสนใจมากอีกแห่งหนึ่ง 'วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร' เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกกันว่า 'วัดสมอแครง' เล่ากันว่าที่เรียกชื่อนี้เพราะมีต้นสมอมาก แต่บางท่านสันนิษฐานว่า คำว่า 'สมอ' เพี้ยนมาจากคำว่า 'ถมอ' (ถะมอ) เป็นภาษาเขมร แปลว่า 'หิน' วัดนี้คงเรียกกันครั้งแรกว่า 'ถมอแครง' แปลว่า 'หินแกร่งหรือหินแข็ง'
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-