พิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน


พิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน เป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงสิ่งของ เอกสารหลักฐานอ้างอิงที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของกรมที่ดิน นับแต่ปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงมีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งกรมทะเบียนที่ดินขึ้น เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ร.ศ.120 (พ.ศ.2444) ทรงต้องการที่จะรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับอาณาเขตการปกครองของสยามในยุคนั้นให้เป็นรูปแบบและเป็นที่ยอมรับของตะวันตก กรมที่ดินจึงถือกำเนิดขึ้นในยุคนั้น ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นโดยให้อยู่ในสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งมีเจ้าพระยาเทเวศบุรีรักษ์ ต้นตระกูลกุญชร ณ อยุธยาเป็นเจ้ากระทรวงคนแรก   วัตถุชิ้นสำคัญคือ โฉนดที่ดินฉบับแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ออกที่ ต.บ้านแป้ง จ.พระนครศรีอยุธยา มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มากเพราะถือเป็นหลักฐานของการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของกิจการที่ดินในประเทศไทย

ที่อยู่:
สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร ถ.พระพิพิธ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์:
0-2222-6131-40 ต่อ 357, 0-2222-7382, 08-1916-3366
โทรสาร:
02-2255734
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 9.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
chaiwat_bird1@yahoo.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2544
ของเด่น:
โฉนดที่เล็กที่สุดในโลก, โฉนดใบแรกของประเทศไทย, พระคันธาราช
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน

ประเทศไทยในยุคก่อนรัชกาลที่ 5 ยังไม่มีการจัดสรรค์แบ่งที่ดินอย่างเป็นรูปแบบ  อาจจะเคยได้ยินการแบ่งปันที่ดินในระบบศักดินา แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่ออิทธิพลของตะวันตกได้แผ่ขยายเข้ามาถึงสยามประเทศ และส่อเค้าว่าประเทศมหาอำนาจอย่าง อังกฤษ และฝรั่งเศส ต้องการจะยึดประเทศของเราเป็นอาณานิคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงต้องการที่จะรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับอาณาเขตการปกครองของสยามในยุคนั้นให้เป็นรูปแบบและเป็นที่ยอมรับของตะวันตก กรมที่ดินจึงถือกำเนิดขึ้นในยุคนั้น ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น
 
พิพิธภัณฑ์กรมที่ดินเป็นสถานที่รวบรวมประวัติศาตร์การทำงานของเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ตั้งแต่ยุคเริ่มแรก จนถึงปัจจุบันไว้อย่างครบครัน โดยมีคุณชัยวัฒน์ ไชยประเสริฐ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์นำชมได้อย่างสนุกสนานและน่าติดตาม โดยเล่าถึงความเป็นมาของอาคารที่ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์หลังนี้ว่าสร้างขึ้นในยุคเดียวกับพระที่นั่งวิมานเมฆ เดิมเป็นที่ตั้งของกระทรวงเกษตราธิการซึ่งมีเจ้าพระยาเทเวศบุรีรักษ์ ต้นตระกูลกุญชร ณ อยุธยาเป็นเจ้ากระทรวงคนแรก  

ส่วนจัดแสดงส่วนแรกเป็นประวัติของกรมที่ดินที่ก่อตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.2544 เป็นห้องโถงที่จัดแสดงประวัติความเป็นมาของกรมที่ดินโดยมีรูปของเจ้ากรมที่ดินคนแรกซึ่งเป็นชาวอังกฤษชื่อนายดับบลิว เอ. เกรแฮม ยุคต่อๆ มาคนไทยจึงเริ่มวัดที่ดินเป็น 
 
สิ่งที่เด่นและสะดุดตาที่สุดของส่วนนี้คือพระบรมสาทิศลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่เคารพของเจ้าหน้าที่กรมที่ดินทุกคน ผู้นำชมเล่าถึงความศักดิ์สิทธิ์ว่ามีคนมากราบไหว้ขอพรและสำเร็จไปหลายราย จึงได้นำกุหลาบสีชมพูมากราบไหว้ท่านทุกวันอังคาร และพระบรมสาทิศลักษณ์นี้เป็นปางพิเศษคือ ทรงหันพระพักตร์ไปด้านขวาแล้วเปิดพระมาลา เป็นปางเรียกทรัพย์รับเงินรับทองบูชาเป็นประจำแล้วจะร่ำรวย อันนี้ก็ต้องใช้วิจารณญานในการชม แต่ถ้าใครไม่เชื่อเรื่องนี้ ก็มาสักการะพระองค์เพื่อรำลึกถึงคุณความดีที่พระองค์ได้ทำไว้แก่แผ่นดินสยามก็ได้ ที่ผนังอีกด้านมีแผนที่ประเทศไทยยุคเก่า ได้มาจากกรมแผนที่ทหาร มีความพิเศษคือเป็นแผนที่ในยุคก่อนที่ไทยจะเสียดินแดนให้อังกฤษและฝรั่งเศส ยังมีประเทศลาว กัมพูชา กลันตันและตรังกานู อยู่รวมกับแผ่นดินไทยครบครัน ส่วนอีกด้านเป็นตะกร้อตักรางวัลในงานกาชาดของสมเด็จพระเทพฯ ซึ่งจะทรงมาตักรางวัลเสี่ยงโชคที่บูธกรมที่ดินทุกปี 
 
ห้องแรกเป็นห้องทำงานของกรมที่ดิน สิ่งที่เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์นำเสนอคือโต๊ะทำงานของเจ้ากรมที่ดิน ซึ่งสมัยก่อนคือกระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งโต๊ะตัวนี้มีเสนาบดีที่ทำงานและตายในหน้าที่มาแล้วถึง 3 ท่าน ปัจจุบันไม่มีใครกล้าใช้งานต่อจึงนำมาจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ ด้านข้างมีพระพุทธรูป เรียกว่าพระคันธารราษฎร์ เป็นพระปางเรียกฝน สมัยก่อนที่กรมที่ดินตามหัวเมืองทั่วประเทศจะต้องมีพระพุทธรูปปางนี้ เพื่อเป็นการเรียกฝนให้ชาวนา ชาวไร่ ภายในตู้จัดแสดงมีต้นขั้วโฉนดสวน ที่ยังจัดเก็บในรูปแบบโบราณคือเป็นเล่มเหมือนสมุดเล่มใหญ่ ภายในมีตราประทับของพระคลังมหาสมบัติเป็นหลักฐาน จุดเล็กๆที่ไม่ควรมองข้ามคือกระจกบานเล็กๆ ที่แขวนอยู่ข้างห้อง เป็นกระจกที่เรียกว่า true mirror จากยุโรป เป็นกระจกของเจ้ากระทรวงเกษตราธิการที่จะส่องก่อนออกว่าราชการ มีความเหมือนจริงและคุณภาพสูงกว่ากระจกในปัจจุบัน 
 
ห้องถัดมาเป็นห้องเก็บอุปกรณ์เก่าแก่ที่เคยทำงานรับใช้กรมที่ดินและออกโฉนดทั่วประเทศมาแล้ว ที่มีคุณค่ามากก็คือกล้องธีโอโลไลท์ ซึ่งสั่งเข้ามาจากประเทศอังกฤษ ปัจจุบันหาดูได้ยากและโรงงานที่ประเทศอังกฤษก็ปิดไปแล้ว เคยมีคนจากประเทศอังกฤษมาขอดูกล้องตัวนี้และมีภาพยนตร์บางเรื่องต้องการยืมกล้องไปใช้ในการถ่ายทำแต่ทางพิพิธภัณฑ์ไม่อนุญาตเพราะเป็นของเก่าแก่หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว นอกจากนี้ยังมีเครื่องคิดเลขแบบมือหมุน เข็มทิศ  และสเกลการวัดต่างๆ ที่ผ่านการใช้งานจริงมาแล้วทั้งสิ้น สิ่งที่บ่งบอกถึงการทำงานออกโฉนด และการทำงานอย่างหนักของกรมที่ดินในยุคก่อน ก็คือตราประทับ ซึ่งทำจากงาช้าง บางอันก็ประทับจนตราสึก ลวดลายเลือนรางไปมาก 
 
สิ่งที่ไม่ควรพลาดในห้องที่ 2 นี้ก็คือโฉนดที่ดินฉบับแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ออกที่ ต.บ้านแป้ง จ.พระนครศรีอยุธยา มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มากเพราะถือเป็นหลักฐานของการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของกิจการที่ดินในประเทศไทย และเป็นจุดเริ่มต้นของการรวมแผ่นดินไทยให้เป็นปึกแผ่นมาจนถึงปัจจุบัน แต่น่าเสียดายที่เปื้อนรอยน้ำหมึก เจ้าหน้าที่เล่าว่าจะต้องส่งไปบูรณะถึงประเทศญี่ปุ่นแต่ไม่มีงบประมาณในการดำเนินการ จึงต้องปล่อยให้หลักฐานชิ้นสำคัญของชาติชิ้นนี้มีริ้วรอยต่อไป
 
พิพิธภัณฑ์กรมที่ดินเป็นสถานที่เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ดีอีกแห่งหนึ่ง ยิ่งได้เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ที่เล่าเรื่องได้อย่างสนุกสนานชวนติดตามแล้วก็ยิ่งเพิ่มคุณค่าให้กับเรื่องราวและข้าวของที่จัดแสดงได้มากขึ้น ถ้าใครมีโอกาสต้องลองแวะไปที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เพื่อสักการะพระบรมสาทิสลักษณ์ของรัชกาลที่ 5 และเพื่อเรียนรู้ว่าประเทศไทยของเราเป็นปึกแผ่นอย่างทุกวันนี้ได้อย่างไร
 
มัณฑนา ชอุ่มผล : เขียน
วิรวรรณ์ คำดาวเรือง : ถ่ายภาพ
ข้อมูลจาก: การสำรวจภาคสนาม 13 มีนาคม 2551
 

ชื่อผู้แต่ง:
-