พระราชวังพญาไท


พระราชวังพญาไท เป็นพระราชวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น พระราชทานนามว่าพระตำหนักพญาไท หรือวังพญาไท ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นพระราชวังพญาไทในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในประกอบด้วย พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน พระที่นั่งพิมานจักรี พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ พระตำหนักเมขลารูจี วิหารพระมหานาคชินะวรวรานุสรณ์มงกุฎราช ศาลท้าวหิรัญพนาสูร สวนโรมัน และอาคารเทียบรถพระที่นั่ง ที่ปัจจุบันเปิดเป็นร้านกาแฟ นรสิงห์ ณ พญาไท

ที่อยู่:
เลขที่ 315 ถ.ราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์:
02-354-7987
วันและเวลาทำการ:
วันเสาร์ และ อาทิตย์ (เว้นวันหยุดต่อเนื่อง) เวลา 9.30 และ 13.30
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
palacefanclub@live.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2540
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

"พระราชวังพญาไท" งดงามในความเรียบง่าย

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 4/5/2548 หน้า 36

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

"พระราชวังพญาไท" โบราณสถานคู่แผ่นดิน

ชื่อผู้แต่ง: ทีมวาไรตี้ | ปีที่พิมพ์: 11/11/2547 หน้า 6

ที่มา: เดลินิวส์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เลาะรั้วชมวัง เลียบคลองสามเสน “วังสวนนอก-พระราชวังพญาไท”

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 11 ธ.ค. 2555;11-12-2012

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 30 มีนาคม 2558


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพระราชวังพญาไท

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดซื้อที่สวนและนา บริเวณริมคลองสามเสนติดกับทุ่งพญาไท สำหรับใช้เป็นที่แปรพระราชฐานเพื่อพักผ่อนอิริยาบถและทดลองปลูกธัญพืชต่างๆโดยจัดสร้าง "พระตำหนักพญาไท" ขึ้นเป็นที่ประทับ ต่อมาพระราชทางนามใหม่ว่า "วังพญาไท" ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้รื้อพระตำหนักซึ่งเป็นเรือนไม้สัก มาปลูกใหม่ในวังพญาไทและทรงพระราชทานนามว่า "พระตำหนักเมขลารูจี" จากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระตำหนักต่างๆ ขึ้นหลายหลังปัจจุบันเหลือเพียงหมู่พระที่นั่งสถาปัตยกรรมแบบยุโรป ได้แก่พระที่นั่งพิมานจักรี พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส พระที่นั่งเทวราชสถารมย์ และพระที่นั่งอุดมวนาภรณ์

พระราชวังพญาไท มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ในหลายด้าน ใน พ.ศ. 2462 ที่แห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งเมืองดุสิตธานี ซึ่งรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างเพื่อปูพื้นฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย ในปลายรัชสมัยพระองค์ ทรงมีพระบรมราโชบายเปลี่ยนแปลงพระราชวังพญาไทเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งนามว่า "โฮเต็ลพญาไท" เพื่อพระราชทานความสะดวกให้แก่ชาวต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขาย หากดำเนินการได้เพียง 5 ปี จากนั้นใน พ.ศ. 2473 เปลี่ยนเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ .ศ. 2475 ใช้เป็นสถานพยาบาลกองทัพบก และต่อมาพัฒนาเป็นโรงพยาบาลทหารบก ต่อมาทางกองทัพบกได้ขอพระราชทางพระบรมราชานุญาตเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า" ใน พ.ศ. 2495 จากนั้นกองทัพบกรับหน้าที่ดูแลรักษาพระราชวังแห่งนี้และได้เริ่มโครงการบูรณะพระราชวังพญาไท ตั้งแต่ พ.ศ.2537 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

พระที่นั่งองค์สำคัญ ได้แก่ พระที่นั่งพิมานจักรีและพระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน พระที่นั่งพิมานจักรี เป็นพระที่นั่งประธาน โดดเด่นด้วยหอคอยสูงหลังคายอดแหลม ยอดโดมใช้ชักธงมหาราชเวลาที่องค์พระประมุขประทับในพระราชฐาน จากด้านหน้ามองเห็นหมู่พระที่นั่ง 4 องค์เชื่อมต่อกัน ส่วน พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน เป็นห้องบรรทมและห้องสรงส่วนพระองค์ 

สถาปัตยกรรมของพระที่นั่งต่างๆ เป็นแบบโรแมนติก ออกแบบโดยสถาปนิกฝรั่ง ที่ปรากฏชื่อคือ นายมาริโอ ตามานโญ (Mario Tamagno) ออกแบบพระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ส่วนพระที่นั่งอื่นๆ ไม่มีหลักฐานแน่ชัด ตัวอาคารมีการตกแต่งด้วยปูนปั้น ไม้แกะสลัก ตกแต่งภายในเป็นปูนปั้นและจิตรกรรมปูนเปียก มีความแปลกน่าตื่นใจ และงดงามด้วยฝีมือช่างที่ละเอียดประณีต ภายในบริเวณพระราชวังมีภูมิสถาปัตยกรรมประวัติศาสตร์ที่สำคัญคือ สวนโรมัน ซึ่งเป็นสวนแบบโรแมนติกเช่นกัน 

ข้อมูลจาก : 
1. แปลน รีดเดอร์ส. 100 พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ-ปริมณฑล: โลกกว้างอยู่ไม่ไกล. กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นติ้งแอนด์พับลิงชิ่ง, 2546. หน้า 61.
2. สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. 174 มรดกสถาปัตยกรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับบลิชชิ่งจำกัด (มหาชน), 2547.

ชื่อผู้แต่ง:
-

เลาะรั้วชมวัง เลียบคลองสามเสน “วังสวนนอก-พระราชวังพญาไท”

ส่วนอีกหนึ่งพระราชวังที่ฉันได้มาชมนั้นแม้มิใช่สวนนอก แต่ก็ตั้งอยู่ริมคลองสามเสนเช่นเดียวกัน เป็นพระราชวังสำคัญอีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ นั่นก็คือ “พระราชวังพญาไท” ที่สร้างขึ้นในปี 2451 โดยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่เสด็จทอดพระเนตรการทำนา การปลูกผัก และการเลี้ยงสัตว์ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญที่เคยจัดขึ้นที่สนามหลวงมาจัดที่ทุ่งแห่งนี้แทน พร้อมทั้งสร้างพระตำหนักที่ประทับ พระราชทานนามว่า “วังพญาไท”
ชื่อผู้แต่ง:
-