พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6


พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6 ตั้งอยู่ที่อาคารราชวัลลภ เป็นอาคารที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างขึ้นเพื่อกิจการงานของทหารราชวัลลภ และเสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคารนี้ด้วยพระองค์เองเมื่อ พ.ศ. 2476 อาคารราชวัลลภก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมแบบยุโรป มีบันไดวนทั้ง 2 ด้านเพื่อขึ้นสู่ชั้น 2 ซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6 จัดแสดงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่สำคัญ เช่น การจัดตั้งกองกำลังเสือป่า เป็นต้น 

ที่อยู่:
กองยุทธการและการข่าว หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง เลขที่ 2 ถ.เจริญกรุง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์:
0-2221-9132
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 8.30-16.00น. เว้นวันหยุดราชการ
ค่าเข้าชม:
ค่าเข้าชมคนละ 20 บาท
ปีที่ก่อตั้ง:
2542
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ย้อนประวัติศาตร์ ยลฉลองพระองค์นับร้อยที่ “พิพิธภัณฑ์ ร.6”

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 17/03/ 2552

ที่มา: ผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เลียบสถล ยลถิ่น ศิลป์สถาน ตามรอยปราชญ์สยาม 3 รัชกาล

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 06 พ.ย. 2555;06-11-2012

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 20 เมษายน 2558

ยลความงาม เครื่องทรงพระมหาพิชัยยุทธ งามสง่า ถูกต้องตามตำราพิชัยยุทธฯ ที่ “พิพิธภัณฑ์ ร.6”

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 27 พ.ย. 2558;27-11-2015

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 06 มีนาคม 2559


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6

จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด
จะรักชาติจนชีวิตเป็นผุยผง
จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง
จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา
 
“ความฝันอันสูงสุด” เพลงพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เป็นผู้เขียนบทกลอน และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานแก่ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน และผู้ทำงานเพื่อประเทศชาติ เตือนสติมิให้ท้อถอยในการทำความดี ซึ่งส่วนหนึ่งของบทกลอนนี้หน่วยบัญชาการกำลังสำรองนำมาติดไว้ที่อาคารราชวัลลภ กรมการรักษาดินแดน ดั่งที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเตือนสติทหารทุกท่านในการทำความดีเพื่อประเทศชาติอย่างไม่ท้อถอย

อาคารราชวัลลภนี้ เป็นอาคารที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างขึ้นเพื่อทหารราชวัลลภ และเสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคารนี้ด้วยพระองค์เองเมื่อ พ.ศ. 2476 อาคารราชวัลลภก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมแบบยุโรป มีบันไดวนทั้ง 2 ด้านเพื่อขึ้นสู่ชั้น 2 ซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6 อีกด้วย 
 
ในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6 มีพันโทหญิง ศรีวิตรี อินทร์สวาท นายทหารประวัติศาสตร์ กองยุทธการและการข่าว และร้อยเอกหญิง มาริกา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ประจำแผนกประชาสัมพันธ์ กองกิจการพลเรือน ได้พาชมพร้อมบรรยายความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6 แห่งนี้ ซึ่งพิพิธภัณฑ์ ได้แบ่งออกเป็น 2 ห้อง 2 ชั้น คือ "ห้องพระบารมีปกเกล้าฯ" ซึ่งอยู่บนชั้นที่ 2 และ "ห้องรามจิตติ" ชั้นที่ 3 
 
ภายในห้องแรก คือ “ห้องพระบารมีปกเกล้า” โดยจัดแสดงแบ่งออก 5 ส่วนจัดแสดงด้วยกัน ในส่วนแรกจะเรียกว่าโถงต้อนรับ หรือ โถงสักการะ จะมีพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 ทรงเครื่องพระมหาพิชัยยุทธ ซึ่งทรงตอนพระองค์ประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 
 
ส่วนถัดไปเป็นส่วนจัดแสดงภาพพระราชประวัติของพระองค์ ตั้งแต่ทรงพระราชสมภพ ขณะทรงพระเยาว์ ทรงเป็นนักเรียนอังกฤษ ทรงขึ้นครองราชย์ ทรงอภิเษกสมรส และเสด็จสวรรคต 
 
ในส่วนที่ 3 เป็นส่วนของพระราชกรณียกิจในการจัดตั้งกองเสือป่า, จัดสร้างเรือรบหลวงพระร่วง, การจัดตั้งเมืองดุสิตธานี, การพระราชทานนามสกุล, พระราชทานธงไตรรงค์ ฯลฯ ซึ่งยังมีพระราชกรณียกิจของพระองค์อีกมากมายที่ได้มอบไว้แก่ประเทศไทย ส่วนนี้ยังจัดแสดงพร้อมทั้งสิ่งของเครื่องใช้ในพระองค์บางชิ้น
 
ส่วนต่อมาจัดแสดงเกี่ยวกับกองกำลังเสือป่า ได้จำลองพื้นที่ท้องทุ่งนาที่อำเภออัมพวา จังหวัดราชบุรี ซึ่งพระองค์ทรงออกซ้อมรบกองกำลังเสือป่า และได้จัดแสดงพระเก้าอี้สนามที่พระองค์ทรงใช้จริงด้วย นอกจากนี้ยังจัดแสดงเรื่องราวของยุวชนทหารที่พระองค์จัดตั้งขึ้นมาในช่วงของสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งยุวชนทหารมีรากฐานจากกองกำลังเสือป่านั่นเอง
 
ถัดไปเป็นการจัดแสดงพระปรีชาชาญด้านการทหารของพระองค์ ในส่วนนี้จัดแสดงเรื่องราวที่พระองค์ตัดสินใจนำกองทัพไทยเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 และมีระบบมัลติมีเดียให้เราได้ชมว่าเพราะเหตุใดที่พระองค์ทรงตัดสินใจเช่นนั้น และยังได้จัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ที่นำไปใช้ในการรบสมัยนั้นให้เราได้ชม
 
ส่วนสุดท้ายของชั้นนี้เป็นการจัดแสดงประวัติความเป็นมาในการจัดตั้งหน่วยบัญชาการกำลังสำรอง พื้นที่นี้แต่เดิม รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชประสงค์จะใช้ในกิจการทางทหาร แต่พระองค์ท่านทรงเสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมารัชกาลที่ 6 จึงดำเนินตามพระราชดำริของพระองค์ โดยจัดตั้งอาคารนี้เพื่อทหารราชวัลลภนั่นเอง
 
จากชั้น 2 ขึ้นสู่ชั้น 3 “ห้องรามจิตติ” ได้จัดแสดงฉลองพระองค์ในแบบต่างๆ ตู้เก็บฉลองพระองค์ทางทหาร, ฉลองพระองค์แบบลำลอง, และฉลองพระองค์ที่ทรงใช้ในการละคร, เครื่องหมายยศอินธนู, สายคันชีพ, พระมาลา และฉลองพระบาทแบบต่างๆ ซึ่งตู้จัดแสดงนี้จัดสร้างขึ้นเป็นพิเศษ อย่างถูกหลักวิชาการทุกอย่าง แสงของไฟ สภาพอากาศ หรือแมลงจะไม่สามารถทำลายเนื้อผ้าได้เลย ห้องนี้จึงใช้ทุนสูงมากในการดูแลฉลองพระองค์ของพระองค์
 
ในส่วนนี้มีชุดสำคัญมากมาย อย่างเช่น ฉลองพระองค์นายพลเอกพิเศษ แห่งกองทัพอังกฤษ ซึ่งพระองค์ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งราชวงศ์อังกฤษ ซึ่งได้ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ช่วยเหลือกองทัพอังกฤษในการเข้ารบสงครามโลกครั้งที่ 1
 
อีกชุดที่สำคัญ คือ ฉลองพระองค์ครุย เรียกว่า “ครุยพระบรมราชูปถัมภ์ รัชกาลที่ 6” ทรงฉลองพระองค์ครุยเมื่อครั้งทรงวางศิลาฤกษ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอีกชิ้นที่สำคัญ คือ พระสนับเพลา และผ้าซับพระพักตร์ ซึ่งซับรอยพระบาทเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ซึ่งคุณหญิงสุภัทรา สิงหลกะ อดีตพระกำนัลฝ่ายในในรัชกาล ที่ 6 มอบให้กรมการรักษาดินแดน เมื่อปี พ.ศ. 2507
 
ถัดจากห้องฉลองพระองค์ ยังมีห้องทรงงาน ซึ่งมีพระบรมรูปขนาดเท่าพระองค์จริงฉลองพระองค์เครื่องแบบเสือป่า กำลังทรงงานอยู่ และที่น่าประทับใจที่สุดก็คือ สมุดบันทึกลายพระหัตถ์จริงของพระองค์ ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จำนวน 2 เล่ม ซึ่งผู้รู้ทางด้านภาษาได้บอกว่า ภาษาของพระองค์ไพเราะจริงๆ 
 
จากห้องทรงงานพบว่ามีระเบียง เมื่อมองออกไปสามารถเห็นพระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้วมรกต และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ได้อย่างชัดเจน และสวยงามมาก 
 
สำหรับผู้ที่สนใจเข้าชม สามารถเข้าชมได้ทั้งบุคคล และหมู่คณะ โดยติดต่อไปที่กองยุทธการและการข่าว หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง ซึ่งมีพันโทหญิง ศรีวิตรี อินทร์สวาท และร้อยเอกหญิง มาริกา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ต้อนรับ และให้ข้อมูลของพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6 แห่งนี้ด้วยความยินดี
 
เรื่อง/ภาพ : ณัฐพัชร์ ทองคำ
สำรวจ : 29 กรกฎาคม 2551
 
คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในเว็บไซต์ "ท่องเที่ยวกองทัพบก"
ชื่อผู้แต่ง:
-

ยลความงาม เครื่องทรงพระมหาพิชัยยุทธ งามสง่า ถูกต้องตามตำราพิชัยยุทธฯ ที่ “พิพิธภัณฑ์ ร.6”

บางเวลาฉันก็นึกถึงเมื่อครั้งอดีต ที่ฉันได้มีโอกาสเรียนวิชาลูกเสือ และได้ร้องเพลง “วชิราวุธรำลึก” ที่มีเนื้อเพลงท่อนสำคัญคือ “วชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าประชา ก่อกำเนิดลูกเสือมาข้าเลื่อมใสพวกเราลูกเสือเชื้อชาติไทย เทิดเกียรติพระองค์ไว้ด้วยภักดี” ซึ่งวิชาลูกเสือนี้ก็ทำให้วัยเด็กของฉันได้เรียนรู้ความอดทน ความมีวินัย และความสามัคคี อีกทั้งยังแฝงความสนุกสนาน ไว้ เมื่อครั้งที่ฉันได้มีโอกาสไปผจญภัยในยามเข้าค่ายลูกเสือ ซึ่งยังคงตราตรึงในใจฉันมาจนถึงปัจจุบัน
ชื่อผู้แต่ง:
-

เลียบสถล ยลถิ่น ศิลป์สถาน ตามรอยปราชญ์สยาม 3 รัชกาล

ห่างหายจากการเดินเท้าท่องเที่ยวมาเสียนาน ครั้งนี้ฉันเอาเรื่องราวการท่องเที่ยวเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในกิจกรรมสรรพ์สารศิลป์ครั้งที่ 5 “เลียบสถล ยลถิ่น ศิลป์สถาน ตามรอยปราชญ์สยาม 3 รัชกาล” ที่ได้ติดสอยห้อยตามไปฟัง พี่นัท จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา และคุณเกริกเกียรติ ไพบูลย์ศิลป ผู้จัดกิจกรรมและวิทยากรเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ นำมาฝากกันในวันนี้ ทริปครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเรียนรู้ถึงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจที่แสดงถึงพระวิสัยทัศน์ของ 3 พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
ชื่อผู้แต่ง:
-

ย้อนประวัติศาตร์ ยลฉลองพระองค์นับร้อยที่ “พิพิธภัณฑ์ ร.6”

สำหรับน้องๆนักเรียนนักศึกษา ช่วงนี้ก็คงกำลังเพลิดเพลินกับช่วงเวลาปิดเทอมที่รอคอย พูดแบบนี้ไม่ใช่ว่าจะส่งเสริมให้น้องๆหนูๆขี้เกียจแต่อย่างใด เพียงแต่ว่าช่วงปิดเทอมนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนอันแสนสำราญใจ ฉันเองก็เคยรู้สึกแบบนั้นเช่นกัน ปิดเทอมนี้จึงอยากชวนน้องๆหนูๆ หรือจะเป็นวัยรุ่นหนุ่มสาววัยทำงานจนถึงวัยชราก็สามารถเที่ยวกันได้ เพราะที่ “พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6” ตั้งอยู่ไม่ไกล ที่ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร หรือพูดง่ายๆก็อยู่ตรงข้ามวัดโพธิ์นั่นเอง
ชื่อผู้แต่ง:
-