พิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสิน


ธนาคารออมสินแต่เดิมเรียกว่า “คลังออมสิน” ก่อตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีพระราชประสงค์ให้กิจการออมสินเป็นธนาคารของรัฐสำหรับประชาชนและค้ำจุนฐานะทางการคลังของรัฐบาล พิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสิน จัดแสดงพัฒนาการของธนาคารออมสินตั้งแต่เรื่องของตึกทำการ โดยคลังออมสินแห่งแรกอยู่ที่พระคลังมหาสมบัติ ข้าวของเครื่องใช้ของธนาคาร อาทิ เครื่องจักรลงบัญชี เครื่องออกสลากออมสิน เครื่องเย็บถุงเงินสำหรับใส่เหรียญ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องนับธนบัตร เครื่องคำนวณเลข เครื่องคิดเลข กระปุกออมสินยุคต่างๆ ปฏิทินสงกรานต์ที่มีภาพวาดเป็นผลงานศิลปะ รวมไปถึงธนบัตร เหรียญที่ระลึกต่างๆ และเอกสารสำคัญ

ที่อยู่:
ชั้น 7 อาคาร 72 ปี ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ 470 ถ.พญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์:
0-2299-8561 0-2299-8000
วันและเวลาทำการ:
พิพิธภัณฑ์จะเปิดให้ชมเฉพาะหมู่คณะเท่านั้นโดยทำจดหมายขออนุญาตเข้าชมได้ที่ ผู้อำนวยการสำนักการเรียนรู้ ธนาคารออมสิน ชั้น 3
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2535
ของเด่น:
สมุดเงินฝากของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 8 และสมเด็จพระพี่นาง ครั้งยังทรงพระเยาว์,กระปุกออมสิน,ปฏิทินสงกรานต์
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสิน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 5/17/2544

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสิน

ชื่อผู้แต่ง: ธนาคารออมสิน | ปีที่พิมพ์: 2546

ที่มา: กรุงเทพฯ:ธนาคารออมสิน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เปิดประตู"พิพิธภัณฑ์ออมสิน"แอบดูย่ายายทุบไหไปฝากเงิน

ชื่อผู้แต่ง: สุพรรณี จิวจรัสวงค์ | ปีที่พิมพ์: 13-11-2549

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

แคะตำนานกระปุกออมสิน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 20-07-2549(หน้า 22)

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

รำลึกวัยเด็กที่ "พิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสิน"

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง(นามแฝง) | ปีที่พิมพ์: 3 พ.ย. 2552

ที่มา: ผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ท่อง"พญาไท" ชมวัดไผ่ตัน-พิพิธภัณฑ์ ช้อปกระจายซอยอารีย์-หลัง ก.คลัง

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 29 มิ.ย. 2553;29-06-2010

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2557


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสิน

ถ้าอยากทราบว่าทำไมธนาคารออมสินยุคใหม่จึงให้นิยามตนเองว่า “เป็นมากกว่าธนาคาร” พิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสินให้คำตอบได้ทั้งหมด ด้วยเวลายาวนานกว่า 95 ปีของการก่อตั้ง ด้วยความผูกพันจากของขวัญอันเป็นความทรงจำที่งดงามของเด็กๆ ด้วยความห่วงใยในอนาคตที่ต้องการเพาะบ่มให้พวกเขารู้จักการเก็บออม

เรากำลังจะเดินย้อนเข้าไปในอดีต นี่คือก้าวแรกที่ผู้มาเยือนสัมผัสได้ ภาพถ่ายอันทรงคุณค่าของสมเด็จย่าที่กำลังทรงม้าเพื่อทรงฝากเงินที่ธนาคารออมสิน เพียงแค่ภาพประวัติศาสตร์ภาพเดียวก็สะกดสายตา ต่อมาได้ทราบว่าสมเด็จย่าทรงฝากเงินให้กับพระพี่นางฯ รัชกาลที่ 8 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภายในตู้พิพิธภัณฑ์เราจะได้เห็นสมุดฝากของรัชกาลที่ 8 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ นอกจากนี้ยังมีสมุดฝากของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์ท่านได้ทรงฝากจนเต็มสมุดด้วยความสม่ำเสมอ โดยพระองค์จะทรงฝากให้กับเด็กหญิงเด็กชายที่ทรงอุปการะไว้ด้วย ทุกวันที่ 1 เมษายนซึ่งเป็นวันก่อตั้งธนาคารออมสิน ในวันนั้นสมเด็จพระเทพฯจะสละเวลาให้พนักงานธนาคารเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายการรับฝากเงิน

ธนาคารออมสินแต่เดิมเรียกว่า “คลังออมสิน” ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2456 จากพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีพระราชประสงค์ให้กิจการออมสินเป็นธนาคารของรัฐสำหรับประชาชนและค้ำจุนฐานะทางการคลังของรัฐบาล ในส่วนของภาพที่จัดแสดงบนผนังเราจะเห็นพัฒนาการของธนาคารออมสินตั้งแต่เรื่องของตึกทำการ โดยคลังออมสินแห่งแรกอยู่ที่พระคลังมหาสมบัติ และมีภาพของประธานกรรมการธนาคารออมสินตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 

ยุคแรกของกิจการออมสินเรื่องสำคัญที่ต้องทำคือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เราจะเห็นสื่อโฆษณาเป็นเครื่องฉายภาพยนตร์ขนาด 35 มม. ใช้สำหรับติดตั้งในรถโฆษณาของธนาคารออมสิน โปสเตอร์ภาพวาดแบบการ์ตูนย้อนยุคในอากัปกิริยาร่าเริง สุขกาย สบายใจ มั่งคั่ง เมื่อได้ฝากเงินหรือซื้อสลากออมสิน ด้วยรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ทำให้สะดุดตาและตื่นตาตื่นใจ เนื่องมาจากไม่สามารถพบเห็นสื่อลักษณะเช่นนี้ในปัจจุบัน 

อย่างที่เราทราบกันกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญกลุ่มหนึ่งของธนาคารออมสินคือกลุ่มเด็ก ในอดีตเด็กๆ มักจะตื่นเต้นเสมอเมื่อคิดว่าจะได้ของแจกที่ธนาคารออมสิน โดยธนาคารได้จัดทำโปสเตอร์โฆษณาจูงใจเด็กโดยเฉพาะ “รูปภาพชุดใหม่ สำหรับแจกคุณหนู ที่ฝากออมสิน ในวันเสาร์และวันพฤหัสบดี จะแจกเมื่อใดนั้น ขอให้คุณหนูติดตามข่าว” รูปภาพที่แจกอย่างเช่น รูปหัวโขน รูปชนเผ่า ภาพดอกไม้ ภาพปะการัง ภาพบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย รูปภาพจะมีทั้งภาพวาดและภาพถ่าย

ในบรรดาของแจกทั้งหลายที่เห็นสะดุดตาที่สุดและมีจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อยู่เป็นจำนวนมากก็คือกระปุกออมสิน โดยจะมีตั้งแต่รุ่นแรกๆ ที่ทำเหมือนตู้ไปรษณีย์ทรงกระบอก ตัวกระปุกทำมาจากสังกะสี เหตุที่ทำเหมือนกับตู้ไปรษณีย์เมื่อย้อนดูประวัติจะทราบว่าการดำเนินกิจการคลังออมสินในช่วงปีพ.ศ. 2472-2489 อยู่ภายใต้การกำกับ ควบคุม ดูแลของกรมไปรษณีย์โทรเลข ในช่วงเวลานั้นก็คือยุคแรกของกระปุกออมสิน ยุคต่อมาเราจะได้เห็นกระปุกออมสินมีรูปทรงหลากหลายเพราะทำมาจากพลาสติก ชวนให้คิดว่าไม่ว่าอะไรก็ล้วนแต่นำมาทำเป็นกระปุกออมสินได้ อย่างกระปุกออมสินสมุด กระปุกตุ๊กตาไทยผมจุก กระปุกตุ๊กตาญี่ปุ่นสวมชุดกิโมโน กระปุกรูปสัตว์ กระปุกลูกโลก กระปุกลูกบอล กระปุกรูปตู้เอทีเอ็ม ในการเพ่งมองพิจารณารูปร่างของกระปุกออมสินแต่ละชิ้นก็พาให้เพลิดเพลินจนลืมเวลา 

สิ่งของอีกกลุ่มหนึ่งที่ดูแปลกตาและมีการจัดแสดงอยู่ฝั่งตรงข้ามของกระปุกออมสิน อุปกรณ์ต่างๆในการดำเนินงาน ได้แก่ เครื่องจักรลงบัญชี เครื่องออกสลากออมสิน เครื่องเย็บถุงเงินสำหรับใส่เหรียญ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องนับธนบัตร เครื่องคำนวณเลข เครื่องคิดเลข ที่ชั่งน้ำหนักสำหรับผู้ฝากเงินประเภทสงเคราะห์ คนยุคใหม่ที่คุ้นเคยอยู่เฉพาะกับคอมพิวเตอร์ รับรองได้ว่าเมื่อได้มาเห็นอุปกรณ์เหล่านี้ต้องรู้สึกงุนงงสงสัยว่านี่มันอะไร ทำไมดูแปลกประหลาดอย่างนี้ แล้วใช้งานกันอย่างไร โดยเฉพาะเครื่องออกสลากออมสินที่มีกระเปาะกลมขนาดใหญ่ ดูไปคล้ายของเล่นหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในยานอวกาศ 

เอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่เป็นเสน่ห์ของพิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสินอยู่ที่สิ่งที่จัดแสดงเป็นงานศิลปะ คำเฉลยนี้ได้มาจากผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์คนใหม่คือคุณปรีดาพร ไพศาลนันทน์ แม้ว่าเพิ่งจะรับงานนี้เพียงแค่หนึ่งเดือน แต่ทุกสิ่งที่อยู่ข้างในนี้คุณปรีดาพรกลับซึมซับได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีคุณอารมณ์ รังครัศมี และคุณศิลป์ฟ้า บุญคุณศักดิ์ ได้ช่วยพาชมและอธิบายเรื่องราวรวมทั้งเล่าประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์

ด้วยความชอบงานศิลปะ คุณปรีดาพรได้พาไปรู้จักกับผลงานของจิตรกรคนสำคัญ งานชิ้นนี้คืองานต้นแบบของแท้อันเป็นรูปปฏิทินสงกรานต์ เจ้าของผลงานคืออาจารย์ประสงค์ ปัทมานุช ศิลปินแห่งชาติ หลายคนอาจจะสงสัยว่าปฏิทินสงกรานต์คืออะไร ปฏิทินสงกรานต์คือภาพจิตรกรรมร่วมสมัย โดยใช้ศิลปะแบบเหมือนจริง บอกเกี่ยวกับวันทางจันทรคติ ภาพวาดมักจะเกี่ยวกับตัวนางสงกรานต์ เทวดา นางฟ้า ที่เป็นบริวารห้อมล้อมนางสงกรานต์ ปฏิทินสงกรานต์เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 ธนาคารออมสินจัดให้มีขึ้นเพื่อแจกลูกค้าในวันสงกรานต์ซึ่งเป็นวันปีใหม่ไทย เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณ ศิลปินผู้บุกเบิกก็คืออาจารย์ประสงค์ ปัทมานุช ปฏิทินสงกรานต์ในปัจจุบันคือของสะสมมีค่า คนที่ได้รับมักจะเอาไปใส่กรอบเก็บไว้อย่างดี และเคยมีนักสะสมจัดนิทรรศการปฏิทินสงกรานต์มาแล้วด้วย สำหรับคนที่สนใจสามารถค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเว็บไซด์ 

ในจำนวนสิ่งของที่จัดแสดงนอกจากนี้ยังมีข้าวของเครื่องใช้อย่างเช่น กำปั่นเงิน กำปั่นทอง พัดลม นาฬิกา แบบสมัยโบราณ แล้วก็ยังมีพวกธนบัตรและเหรียญที่ใช้กันในสมัยก่อน เหรียญที่ระลึกและพระบรมรูปหล่อรัชกาลที่ 6 โดยเหรียญที่ระลึกจัดทำในวาระครบ 90 ปีของธนาคารออมสิน มีการอัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประทับบนบัลลังก์ มาประดิษฐานด้านหน้าของเหรียญ ความพิเศษของเหรียญชุดนี้อยู่ตรงที่ไม่เคยมีหน่วยงานใดสร้างเหรียญรูปแบบนี้มาก่อน

ถ้านับจากวันที่เตรียมการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสินเมื่อ พ.ศ.2533 ในสมัยที่ ม.ร.ว. จันทรแรมศิริโชค จันทรทัต เป็นผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กระทั่งเปิดบริการเมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2535 โดยนายวิบูลย์ อังสนันท์ เป็นผู้อำนวยการธนาคารออมสิน จะเห็นได้ว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีอายุเพียงสิบกว่าปีเท่านั้น ทางพิพิธภัณฑ์มีแผนงานที่จะจัดแสดงสิ่งของในพื้นที่กว้างกว่านี้ซึ่งอยู่ในช่วงของการพูดคุยกัน เมื่อก่อนนี้พิพิธภัณฑ์จะจัดแสดงกินพื้นที่ทั้งชั้นของ ชั้น 7 ตึก 72 ปี ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ ปัจจุบันด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ใช้สอย ทำให้ส่วนของพิพิธภัณฑ์เหลือเพียงห้องขนาดเล็ก แต่ก็มีความคืบหน้าของการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ที่กำลังจัดทำเป็น E- Museum ที่แสดงเรื่องราว ในส่วนของสิ่งของจะมีการแสดงแต่ละชิ้นพร้อมคำอธิบายประวัติความเป็นมา สำหรับผู้ที่ต้องการหาความรู้เพิ่มเติมเป็นเรื่องพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือเรื่องราวอื่นๆ เกี่ยวกับธนาคารออมสิน สามารถค้นคว้าได้จากหนังสือในศูนย์การเรียนรู้ชั้น 3 ภายในตึกเดียวกัน

สาวิตรี ตลับแป้น /ผู้เขียน ,กฤษกร ตราชู/ถ่ายภาพ

ข้อมูลจาก :การสำรวจภาคสนามวันที่ 29 เมษายน 2551
ชื่อผู้แต่ง:
-

ท่อง"พญาไท" ชมวัดไผ่ตัน-พิพิธภัณฑ์ ช้อปกระจายซอยอารีย์-หลัง ก.คลัง

ถัดจากพิพิธภัณฑ์แสตมป์ ฉันไปต่ออารมณ์ย้อนอดีตที่ "พิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสิน" ซึ่งตั้งอยู่ในธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่สะพานควาย สถานที่นี้ทำให้ฉันต้องนึกย้อนไปในวัยเด็กอีกครั้ง ภาพกระปุกออมสินที่คุ้นเคย โปสเตอร์โฆษณาของธนาคารที่คุ้นตา เรื่องราวและความรู้สึกดีใจยามเมื่อกระปุกออมสินเต็มไปด้วยเหรียญจนแน่นกระปุกฉันยังคงจำได้ไม่ลืมเลือน นี่คือพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6
ชื่อผู้แต่ง:
-

รำลึกวัยเด็กที่ "พิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสิน"

จำกันได้มั้ยว่าในสมัยก่อนตอนที่เรายังเป็นเด็กน้อยเรามีวิธีเก็บเงินอย่างไร? ใช่การหยอดกระปุกรึป่าว? ฉันจำได้ว่าเมื่อยังเป็นเด็กทุกๆวันฉันจะต้องเก็บเหรียญไว้เพื่อจะมาหยอดกระปุกแข่งกับญาติพี่น้องรุ่นๆเดียวกันว่าใครจะหยอดได้เต็มก่อนกัน แล้วเมื่อกระปุกเต็ม พ่อแม่ก็พาฉันไปแคะกระปุกเอาเหรียญออกเพื่อฝากเงินนั้นไว้ที่ธนาคาร
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-