พิพิธภัณฑ์การแพทย์ทหารบก


พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส หนึ่งในพระที่นั่งภายในพระราชวังพญาไท เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์การแพทย์ทหารบก พิพิธภัณฑ์แห่งนี้แต่เดิมตั้งอยู่ที่ปากคลองหลอด และได้ย้ายตามที่ตั้งของหน่วยเรื่อยมา จนถึงที่ตั้งปัจจุบัน ราวปี พ.ศ. 2545 ท่านสุลต่านจากรัฐยะโฮ ประเทศมาเลเซีย ได้มาพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ ท่านได้พระราชทานงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อทำนุบำรุงพระที่นั่งศรีสุทธนิวาส และปรับปรุงพิพิธภัณฑ์การแพทย์ทหารบก ด้านหน้าของห้องแสดงพิพิธภัณฑ์มีอนุสาวรีย์ “อนุรักษ์กำลังรบ” เป็นประติมากรรมลอยตัวขนาดเท่าคนจริง แสดงถึงวีรกรรมและภารกิจหลักของเหล่าทหารแพทย์ ภายในห้องจัดแสดงแบ่งออกเป็น 3 ห้อง ห้องแรกเกี่ยวกับประวัติกรมแพทย์ทหารบก ห้องต่อมานำเสนอภารกิจและวีรกรรมเหล่าทหารแพทย์ ห้องสุดท้ายแสดงเกี่ยวกับการลำเลียงผู้ป่วยเจ็บและอุปกรณ์สายแพทย์ในอดีต

ที่อยู่:
กรมการแพทย์ทหารบก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ถ.ราชวิถี พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์:
0-2354-7600 ต่อ 94271, 0-2354-4420 และ 0-2245-5615
วันและเวลาทำการ:
เปิดวันจันทร์–วันศุกร์ เวลา 09:30 – 14:30 น. ปิดวันเสาร์–วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2534
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์การแพทย์ทหารบก

ชื่อผู้แต่ง: ใบบุญ บัว | ปีที่พิมพ์: 23,4(เม.ย.2549)

ที่มา: กินรี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์การแพทย์ทหารบก

เมื่อ พ.ศ.2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้จัดซื้อที่บริเวณริมคลองสามเสน ติดกับทุ่งพญาไท เพื่อสร้างพระตำหนักที่ประทับขึ้น และพระราชทานนามว่า “พระตำหนักพญาไท” เมื่อเสด็จสวรรคต วังนี้จึงเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าทรงพระราชทานนามเป็น “พระราชวังพญาไท” พร้อมการก่อสร้างพระที่นั่งเพิ่มเติม อีก 5 องค์ คือ พระที่นั่งไวกุณฐเทพยสถาน พระที่นั่งพิมานจักรี พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ และ พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์

100 ปีผ่านไป พระราชวังพญาไท และพระที่นั่ง ในเขตรั้วของโรงพยาบาลพระมงกุฎ ยังคงความงดงามของสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ หอคอยสูง หลังคายอดแหลม สถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตกในยุคเฟื่องฟู นอกจากโรงพยาบาลพระมงกุฎแล้ว ในบริเวณนี้ยังเป็นที่ตั้งของ โรงเรียนแพทย์ และพยาบาลพระมงกุฎอีกด้วย และพระที่นั่งศรีสุทธนิวาส หนึ่งในพระที่นั่งภายในพระราชวังพญาไท เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์การแพทย์ทหารบก ซึ่งพ.ท.สุรพล โตนวล หัวหน้าแผนกพิพิธภัณฑ์ฯ กองวิทยาการ กรมแพทย์ทหารบก จะเป็นผู้นำชมให้กับเรา

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้แต่เดิมตั้งอยู่ที่ปากคลองหลอด และได้ย้ายตามที่ตั้งของหน่วยเรื่อยมา จนถึงที่ตั้งปัจจุบัน โดยย้ายมาจัดแสดงที่พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส พระราชวังพญาไท ชั้น 1 ทางปีกด้านทิศตะวันตกของอาคาร และเมื่อ 6 ปีที่แล้วท่านสุลต่านจากรัฐยะโฮ ประเทศมาเลเซีย ได้มาพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลพระมงกุฎ ได้บริจาคงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อทำนุบำรุงพระที่นั่งศรีสุทธนิวาส และปรับปรุงพิพิธภัณฑ์การแพทย์ทหารบก

ด้านหน้าของห้องแสดงพิพิธภัณฑ์มีอนุสาวรีย์ “อนุรักษ์กำลังรบ” เป็นประติมากรรมลอยตัวขนาดเท่าคนจริง แสดงถึงวีรกรรมและภารกิจหลักของเหล่าทหารแพทย์ ขณะประคองทหารบาดเจ็บในสมรภูมิเวียดนาม โดยแต่งกายชุดปฏิบัติการในสนาม พร้อมเครื่องสนาม กระเป๋าพยาบาลสนาม และอาวุธประจำกาย ด้านหน้ามีอักษรจารึกว่า “อนุรักษ์กำลังรบ” “TO CONSERVE THE FIGHTING STRENGTH” ด้านหลังมีคำอธิบายของรูปหล่อสัญลักษณ์เหล่าทหารแพทย์ ไว้ว่า นายสิบพยาบาลกองร้อย เป็นเจ้าหน้าที่แพทย์คนแรกที่ร่วมปฏิบัติการรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารในแนวหน้าสุด มีบทบาทสำคัญในการรบคือการบริการแพทย์ในสนาม สมกับที่ได้รับการยกย่องว่า นายสิบพยาบาลกองร้อย คือ “วีรบุรุษในแนวหน้า” (HERO OF THE FRONT)

ภายในห้องจัดแสดงแบ่งออกเป็น 3 ห้อง ห้องแรกเกี่ยวกับ ประวัติกรมแพทย์ทหารบก เมื่อเข้าไปภายใน ทำให้ต้องรีบยกมือไหว้เพื่อแสดงความเคารพ จนลืมไปว่าควรจะถอนสายบัว หรือถวายคำนับด้วยซ้ำไปเพราะด้านซ้ายมือเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในห้องนี้ยังแสดงเรื่องราว ก่อนจะเป็นกรมแพทย์ทหารบกจนถึงสู่ที่ตั้งปัจจุบัน โรงเรียนแพทย์ทหารบก นายแพทย์ใหญ่ทหารบกคนแรก นายแพทย์เทียนฮี้ ซึ่งท่านเป็นต้นตระกูลสารสินอีกด้วย

นอกจากนี้ยังจัดแสดงภาพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับกิจการแพทย์สนาม, โรงเรียนนายทหารเสนารักษ์, การศึกษาวิชาทางการแพทย์, วิวัฒนาการเครื่องหมายเหล่าแพทย์จากคชสีห์ถึงพญานาค, โรงพยาบาลกองทัพบกและหน่วยสายแพทย์ทั่วประเทศเส้นทางแห่งกาลเวลา อดีต-ปัจจุบัน

ห้องถัดไปจัดแสดงเกี่ยวกับ ภารกิจและวีรกรรมเหล่าทหารแพทย์ แสดงเรื่อง ภารกิจของทหารเหล่าแพทย์ ทั้งในและนอกประเทศ “ท่านถึงไหนเราถึงด้วยเพื่อช่วยชีวิตท่าน” เป็นวลีอยู่เบื้องหน้าพร้อมรูปภาพของทหารแพทย์ที่กำลังพยายามช่วยเหลือเพื่อทหารที่ได้รับบาดเจ็บเมื่อออกรบ ภารกิจของผู้กล้าเหล่าทหารแพทย์เมื่อต้องออกหน่วย สงครามมหาเอเชียบูรพา, กรณีพิพาทอินโดจีน, สงครามเกาหลี และเวียดนามและภารกิจเหล่าทหารแพทย์ในยุทธการผาเมืองเผด็จศึก แต่ปัจจุบันภารกิจของเหล่าทหารแพทย์จะเป็นการสนับสนุนภารกิจเพื่อมนุษยธรรม เช่น ในกัมพูชา อิรัก อิหร่าน อาฟกานิสถาน และติมอร์ตะวันออก

ห้องสุดท้ายแสดงเกี่ยวกับ การลำเลียงผู้ป่วยเจ็บและอุปกรณ์สายแพทย์ในอดีต เป็นภาพเก่าแสดงการลำเลียงผู้ป่วยเจ็บด้วยเปล เกวียน, สัตว์ต่างๆ เช่น ล่อ ช้าง, รถไฟ เครื่องบินพยาบาลรุ่นแรกปีก 2 ชั้น ชื่อว่า ขัติยะนารี 1 ในสมัยรัชกาลที่ 6 และตู้แสดงสิ่งอุปกรณ์สายแพทย์ในอดีตบางส่วน

ด้านหน้าห้องนี้แสดงรางบดยาแบบโบราณ ซึ่งผู้นำชมบอกว่ามีคุณหมอจีนมาดู และเห็นรางบดยามาตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์แล้ว แต่สำหรับหมอชาวจีน บอกว่าที่เมืองจีนยังนิยมใช้อยู่

สมุดข่อย ที่บันทึกตำราหลวง เรียกว่า “ตำราถวาย” ได้เก็บไว้ในคลังพระตำราหลวงข้างพระที่ ซึ่งในประวัติบอกว่า

“ ... พระองค์ท่านสนพระทัยในตำราและคัมภีร์แพทย์ (เดิมได้จารึกเป็นอักขระในใบลานเหมือนคัมภีร์ธรรมะ) ทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องทะนุบำรุงให้คัมภีร์แพทย์เป็นหลักฐานแพร่หลายต่อไปในภายภาคหน้าจึงโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมแพทย์หลวงและขุนนางข้าราชการนำคัมภีร์แพทย์ต่างๆ มาตรวจสอบให้ตรงกับของดั้งเดิมและให้แปลคัดลอกใหม่ ...” ซึ่งก็คือสมุดข่อยเล่มนี้

และที่น่าสนใจอีกชิ้น คือ ตะบองแดง ผู้นำชมบอกว่า ตะบองแดงนี้ชี้ต้นไม้ต้นไหน สามารถนำมาทำเป็นยาได้ทั่วแผ่นดิน น่าทึ่งจริงๆ เมื่ออ่านจากประวัติแล้ว “... บ้างบอกว่า ที่ว่าเป็นตะบองแดงนั้น คือ ต้นย่านางแดง ซึ่งมีสรรพคุณในทางรักษาโรค อันเนื่องจากพิษต่างๆ โดยฝนเนื้อไม้ย่านางแดงเข้ายาล้างพิษให้แก่ผู้ป่วย ...” เป็นเช่นนี้นี่เอง

สำหรับท่านที่มาชมพระราชวังพญาไท มาชื่นชมในสถาปัตยกรรมอันงดงาม และโดดเด่น ของพระราชวัง และพระที่นั่งต่างๆ ก็ไม่ควรพลาดชมพิพิธภัณฑ์การแพทย์ทหารบกแห่งนี้ ด้วยเช่นกัน

เรื่อง/ภาพ : ณัฐพัชร์ ทองคำ

สำรวจ : 1 กุมภาพันธ์ 2551

ชื่อผู้แต่ง:
-