พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ


จัดตั้งขึ้นโดยศาสตราจารย์กิตติคุณ ศักดา ศิริพันธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงกล้องถ่ายภาพและภาพถ่ายเป็นการเฉพาะแห่งแรกของประเทศไทยและเอเชีย มีการจัดแสดงวิวัฒนาการของกล้องและภาพถ่ายตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้กระบวนการวิทยาศาสตร์ภาพถ่าย ภายในจัดแสดงกล้องถ่ายภาพหายาก และกล้องถ่ายภาพที่ทรงคุณค่ามากมาย บางส่วนเป็นของพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ ที่ได้พระราชทานและประทานไว้ให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาต่อไป

ที่อยู่:
ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แขวงปทุมวัน เขตปทุมวันกรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์:
0-2218-5583
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 9.30-15.30 น.
ค่าเข้าชม:
ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 20 บาท นักเรียน นักศึกษา 10 บาท ชาวต่างประเทศ 100 บาท
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2534
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชื่อผู้แต่ง: ศักดา ศิริพันธุ์ | ปีที่พิมพ์: ปีที่12ฉบับที่ 11 ก.ย. 2534

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพฯ ประวัติความเป็นมา นิทรรศการ และกิจกรรม

ชื่อผู้แต่ง: ศาตราจารย์ ศักดา ศิริพันธุ์ บรรณาธิการ | ปีที่พิมพ์: 2543

ที่มา:

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

A New Millenium Guide to The Museum of Imaging Technology

ชื่อผู้แต่ง: Condax L.,Philip | ปีที่พิมพ์: 2545

ที่มา:

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

"พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ" เจ๋งได้ใจ น่าทึ่งด้วยกล้องทองคำ-กล้องตัวแรกในโลก!!

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 26 มกราคม 2553

ที่มา: ผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ

หลายคนอาจจะแปลกใจที่มีพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งที่อยู่ในสถาบันศึกษา ปรากฏชื่ออยู่ในหนังสือ ”ของดีกรุงเทพ” หนังสือนำเที่ยวของกรุงเทพมหานคร เพราะพิพิธภัณฑ์ในมหาวิทยาลัยมักมีขนาดเล็กหรือรู้จักกันในแวดวงวิชาการนั้นๆ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพฯ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่นี่มีความพิเศษอย่างไร เป็นของดีจริงหรือไม่ ต้องไปพิสูจน์กัน

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่อยู่ ชั้น 3 และ 6 อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท ฝั่งเดียวกับหอประชุมใหญ่ บนอาคารสูง 8 ชั้นซึ่งเป็นที่ทำการของภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่าย เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของไทยและเอเชียที่จัดแสดงกล้องถ่ายภาพ อุปกรณ์ ภาพถ่าย และเทคโนโลยีการพิมพ์ การจัดแสดงมี 2 ชั้น ชั้น 3 เป็นห้องจัดแสดงวิวัฒนาการของกล้องและอุปกรณ์ประกอบ รวมถึงกระบวนการถ่ายภาพ และการพิมพ์ ส่วนชั้น 6 จัดแสดงเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการพิมพ์ และนิทรรศการหมุนเวียนแสดงภาพของช่างภาพที่มีผลงานเด่นตลอดปี 

รศ.ดร.อรัญ หาญสืบสาย( กรรมการดำเนินการ) กล่าวถึงพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ว่า ได้ใช้แนวคิดใหม่ในการเรียนรู้ สิ่งที่จัดแสดงทำให้ผู้ชมเห็นถึงวิวัฒนาการต่อเนื่องจากอดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต มีคำอธิบายประกอบที่จุดแสดง อีกทั้งยังมีคู่มือนำชม(ภาษาอังกฤษ)ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ให้ข้อมูลของวัตถุที่จัดแสดง โดยหวังว่าจะเป็นตัวอย่างแก่ผู้เข้าชม โดยเฉพาะนักเรียน นิสิต นักศึกษาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการจัดแสดงของสะสมอื่นๆได้

พื้นที่ห้องชั้น 3 จัดแสดงกล้องและอุปกรณ์ประกอบรวมถึงประวัติและความเป็นมาของการถ่ายภาพ มีแผ่นคำอธิบายติดอยู่ด้านข้าง เริ่มเรื่องย้อนไปตั้งแต่สมัยก่อนการถ่ายภาพ การถ่ายภาพด้วยเทคนิคต่างๆที่เปลี่ยนไปในแต่ละยุค ในส่วนจัดแสดงกล้องมีกล้องชนิดต่างๆ จำนวนมากตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน จัดวางในตู้ไม้ที่วางเรียงชิดผนังโดยแบ่งตามประเทศผู้ผลิต ได้แก่ เยอรมัน อเมริกา ญี่ปุ่น และตามแบ่งประเภทของกล้อง เช่น กล้องพาโนรามา กล้องถ่ายภาพสามมิติ กล้องโพลารอยด์ ส่วนอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องบรรจุในตู้ไม้กรุกระจกบริเวณตรงกลางห้อง เช่น ไฟแฟลช ฟิลเตอร์ เครื่องวัดแสง อุปกรณ์ห้องมืด ฯลฯ นอกจากนั้นก็มีเครื่องบันทึกและแสดงภาพแบบอื่นๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ 

เทคโนโลยีการถ่ายภาพเข้ามาในเมืองไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 โดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ 2388 หลังจากการประดิษฐ์คิดค้นวิธีการถ่ายภาพในประเทศฝรั่งเศสเพียง 6 ปี เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นที่ทราบกันดีว่าทรงสนพระทัยในวิทยาศาสตร์ ทรงโปรดให้ช่างภาพถ่ายพระฉายาลักษณ์ของพระองค์และพระราชินี นับว่าเป็นการถ่ายภาพพระมหากษัตริย์ไทยครั้งแรก ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการถ่ายภาพเมื่อเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎร และทรงจัดให้มีการประกวดการถ่ายภาพในปีพ.ศ. 2448 โดยประชาชนมีส่วนร่วมด้วย ทำให้ความนิยมในการถ่ายภาพแพร่หลายออกไป พระองค์ยังโปรดเกล้าฯให้จำหน่ายภาพเพื่อเป็นทุนสนับสนุนการสร้างพระอารามในวัดเบญจมบพิตร เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่9 เราได้เห็นพระองค์ทรงถ่ายภาพพสกนิกรและโครงการต่างๆเป็นครั้งคราวทางโทรทัศน์

ของดีชิ้นแรกที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้แก่ “พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 4 และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี” ที่ถ่ายลงบนแผ่นเงินโดยกระบวนการของดาแกร์ เพื่อส่งไปพระราชทานประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา และพระราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษ นับว่าเป็นกุศโลบายที่ทำให้ผู้ปกครองในประเทศใหญ่มีอิทธิพลทางการค้าและการเมืองได้รู้จักกษัตริย์ของประเทศที่อยู่ห่างไกล พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชิ้นนี้ทำสำเนามาจากต้นฉบับที่อยู่ในสถาบันสมิธโซเนียน ประเทศสหรัฐอเมริกา การผลิตภาพโดยกระบวนการของดาแกร์(แบบดาแกโรไทบ์)ดังกล่าว ผู้ถูกถ่ายจะต้องนิ่งไม่ขยับประมาณ 1 นาที จึงมักนั่งบนเก้าอี้ที่เหมาะสม และมีที่รองรับศีรษะ ภาพบุคคลที่ถ่ายด้วยวิธีนี้จึงดูคล้ายหุ่น ภาพที่ได้บนแผ่นเงินที่มีความเปราะบางมากจึงมักผนึกถาวรกับกระจก การถ่ายภาพบุคคลด้วยวิธีนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยนั้น

ของดีอย่างที่สองคือ กล้องสะสมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยรัชกาลที่ 7 ทรงเป็นนักถ่ายภาพและนักเดินทาง นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันยัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นำกล้องบางส่วนมาจัดแสดงที่นี่ กล้องชุดนี้มีหลายตัวเป็นที่ชื่นชมของนักสะสม ชาวต่างชาติบางคนถึงกับบินจากต่างประเทศเพื่อมาชมเพราะเป็นกล้องหายาก บางตัวเป็นรุ่นยอดนิยมของมืออาชีพยุคนั้น เช่น Duoflex, Sinclair large format (1925) กล้องส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบให้มีรูปลักษณ์สวยงาม เช่น กล้อง Una View (1910-1920) จากอังกฤษประกอบด้วยไม้สักและทองเหลือง กล้องตัวหนึ่งเรียกกันว่าเป็นกล้องนักสืบ เพราะ Zeiss Ergo (1927-1931) ทำเลนส์หลอกไว้ด้านหน้า แต่เลนส์จริงอยู่ด้านข้าง เป็นการถ่ายด้วยมุม 90 องศา

ของดีอีกอย่างหนึ่งคือกล้องสายลับ หรือกล้องนักสืบ (Subminiature cameras) มีอยู่หลายตัว กล้องแบบนี้มักมีขนาดเล็กกว่ากล้องปกติ หรือรูปร่างภายนอกเหมือนอย่างอื่น เช่น นาฬิกา กล้องส่องทางไกล หรือบุหรี่ กล้องบางตัวบริจาคโดย พลเอก ชาติชาย ชุณหวัณ

ในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ดูแลโดยคณะกรรมการอำนวยการ และคณะกรรมการดำเนินงาน มีการจัดตั้งเป็นมูลนิธิขึ้นเพื่อหาทุนสนับสนุน สำหรับชาวต่างชาติที่สนใจจะมาชมก็ไม่ต้องเป็นห่วงเพราะ Mr. Philip L. Condax อาสาสมัครชาวต่างชาติเป็นผู้ช่วยดูแลนำชม จำนวนผู้เข้าชมมีราวพันคนต่อปี ส่วนใหญ่เป็นคณะนักเรียน นิสิต นักศึกษา คนรักกล้อง และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ สำหรับกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์คือจัดประกวดการถ่ายภาพทุกปี สำหรับนิสิต นักศึกษา

ผู้เขียน: เกสรา จาติกวณิช

ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนามวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550

ชื่อผู้แต่ง:
-

"พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ" เจ๋งได้ใจ น่าทึ่งด้วยกล้องทองคำ-กล้องตัวแรกในโลก!!

เดี๋ยวนี้กล้องถ่ายรูปมักจะเป็นของติดกระเป๋าของใครหลายๆ คนไปแล้ว ใครไม่มีกล้องต้องถือว่าเชย เพราะกล้องดิจิตอลสมัยนี้ราคาไม่แพงมากแถมยังตัวเล็กพกพาสะดวก ถ่ายปุ๊บเห็นรูปปั๊บ ไม่ชอบใจก็ลบทิ้งถ่ายใหม่ เสร็จแล้วโหลดลงคอมพิวเตอร์ ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ยังใช้กล้องฟิล์มกัน ฟิล์มม้วนละเป็นร้อยบาท จะถ่ายเล่นพร่ำเพรื่อก็ต้องคิดกันหน่อย มักจะได้งัดเอาออกมาใช้ก็เฉพาะตอนมีงานพิเศษ หรือไปเที่ยวไหนต่อไหน ไม่ได้เอาไว้ถ่ายเล่นทุกสถานการณ์เหมือนกล้องดิจิตอลทุกวันนี้
ชื่อผู้แต่ง:
-