ศ.นพ.อวย เกตุสิงห์ อดีตหัวหน้าแผนกสรีรวิทยาและภาควิชาเภสัชวิทยา เป็นผู้รวบรวมเรื่องราวการแพทย์แผนไทย เพื่อจัดแสดงในงานฉลอง 72 ปี โรงพยาบาลศิริราช และต่อมาได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์จนแล้วเสร็จในพ.ศ. 2522 เรื่องราวภายในของพิพิธภัณฑ์บอกเล่าเรื่องที่มาและประวัติของการแพทย์แผนไทย นอกจากนี้ยังจัดแสดงตำรายาไทยโบราณที่ส่งต่อกันมาหลายรุ่น ที่ส่วนใหญ่ในอดีต บรรดาครูหรือหมอไทยจะจารเอาไว้ในหนังสือใบลาน หมายเหตุ: ปิดดำเนินการ เนื่องจากย้ายวัตถุและเนื้อหานิทรรศการไปจัดแสดงที่ พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถานแทน
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์
ศ.นพ.อวย เกตุสิงห์ อดีตหัวหน้าแผนกสรีรวิทยา อดีตหัวหน้าภาควิชาเภสัชวิทยาเป็นผู้รวบรวมเรื่องราวการแพทย์แผนไทย เพื่อจัดแสดงในงานฉลอง 72 ปี โรงพยาบาลศิริราช และต่อมาได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์จนแล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ. 2522 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาทรงเปิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2522 สิ่งจัดแสดงที่สำคัญได้แก่ ประวัติและวิวัฒนาการการแพทย์ อุปกรณ์ในการปรุงยา การนวดแผนโบราณ สมุนไพรไทยนานาชนิด ฯลฯความรู้เรื่องแพทย์แผนไทยนั้นกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศไทย เรียกว่า สูตรการรักษาในบางครั้งก็สูตรใครสูตรมัน การที่โรงพยาบาลหลายแห่งให้ความสนใจนำเอาการแพทย์แผนไทยและการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพรที่หาได้ในประเทศมาประกอบในการรักษา ถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้การแพทย์แผนไทยและยาสมุนไพร ได้พัฒนาองค์ความรู้ในแขนงนี้ให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
สถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ประวัติการแพทย์แผนไทย อวย เกตุสิงห์ อยู่บนชั้นสองของอาคาร อดุลยเดชวิกรม ติดกับพิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ เรื่องราวภายในของพิพิธภัณฑ์จะเล่าเรื่องของการแพทย์แผนไทยที่เราอาจจะคุ้นเคยกันมาตั้งแต่เด็ก เมื่อเดินเข้าไปในเขตของพิพิธภัณฑ์ จะก็พบกับป้ายอธิบายเรื่องแพทย์แผนเดิมของไทยหรือแพทย์แผนโบราณ จากนั้นก็จะเล่าเรื่องการแพทย์แผนไทย โดยจำลองบรรยากาศของร้ายขายยาไทยที่มีตู้จัดแสดงตัวอย่างสมุนไพรประเภทต่างๆ เครื่องมือในการทำยาสมุนไพร เครื่องบดยาหรือเรือบดยา ครกบดยาตั้งแต่อันเล็กจิ๋วจนถึงอันใหญ่โตเท่าครกส้มตำ แท่นบดยามีหินแท่งยาวๆ กับแท่นหินเอาไว้บดยาอีกประเภทหนึ่ง รวมถึงเครื่องหั่นที่เหมือนกรรไกรที่ยายเราใช้สมัยที่ยังกินหมากอยู่เลย หม้อต้ม หม้อกลั่นยา หม้อต้มยาส้ม หม้อต้มน้ำมันผึ้ง ที่เราอาจจะไม่เคยเห็นเลย
นอกจากนี้ยังจัดแสดงตำรายาไทยโบราณที่ส่งต่อกันมาหลายรุ่น ส่วนใหญ่ในอดีต บรรดาครูหรือหมอไทยจะจารเอาไว้ในหนังสือใบลาน ต่อเมื่อมีวิวัฒนาการของการเขียนหนังสือ ก็บันทึกกันต่อมาเรื่อยๆ ในตู้จัดแสดงด้านข้างนั้นก็จะแนะนำให้รู้จักความเชื่อในเรื่องของการต้มยา ซึ่งทุกครั้งก็จะมีเฉลวเสียบหรือวางไว้ที่ปากหม้อ เพื่อป้องกันฤทธิ์ยาเสื่อมหากมีใครเดินผ่านบ้าน
ยังมีมุมที่เล่าถึงแปรงสีฟันของคนไทยสมัยอดีต ที่ยังไม่มีแปรงสีฟันแบบทุกวันนี้ คนโบราณมักอาศัยการกินหมาก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านชนิดหนึ่งช่วยรักษาฟัน หรือใช้ไม้ข่อยมาทำแปรงสีฟัน ซึ่งจะมีหลายลักษณะทั้งแบบแท่งไม่มีขนแปรง และแบบทีมีการทำขนแปรง โดยการทุบให้เนื้อไม้เหลือแต่เส้นใยที่แข็งๆแล้วสามารถเอามาสีทำความสะอาดฟันได้
ในสมัยโบราณหากแขนขาหัก วิธีการดามในยุคแรกๆ อาจจะเพียงเอาแผ่นไม้มาทาบแขน-ขาแล้วมัดเอาไว้ แต่แพทย์ไทยก็ได้พัฒนาเฝือกให้เป็นแบบที่ระบายความร้อนและโปร่งอากาศถ่ายเทได้ด้วยการใช้ไม้ไผ่มาสานหรือร้อยด้วยเชือกพอที่จะโอบรอบแขนหรือขาได้
ที่น่าสนใจคือแบบจำลองเหตุการณ์การคลอดลูกแบบโบราณ ที่ผูกเชือกกับขื่อบ้านให้แม่คอยดึงเอาไว้เผื่อช่วยในการเบ่ง หมอตำแย จะต้มน้ำ ไว้รอท่า มีผู้ช่วยคอยรับเด็กที่กำลังจะคลอดออกมา มีเครื่องมือเครื่องไม้ต่างๆ ที่ใช้ในการทำคลอดแบบโบราณ เมื่อคลอดมาแล้วก็ต้องมีการอยู่ไฟตามความเชื่อเพื่อล้างน้ำคาวปลาออกให้หมด ให้แม่มีน้ำนมมากๆให้ลูกกิน กันไม่ให้แม่เด็กเกิดอาการสะท้านร้อนสะท้านหนาว บรรดาแม่ๆ และผู้ใหญ่ในบ้านมักจะเล่าให้ฟังว่า หากผู้หญิงคนไหนไม่อยู่ไฟหลังคลอดลูกจะเป็นคนขี้หนาว เวลาอากาศหนาวๆ จะมือเท้าเย็น และหนาวเร็วกว่าคนอื่น นอกจากนั้นยังทำให้สุขภาพของแม่อ่อนแอลงเรื่อยๆ ด้วย และมีการจัดแสดงชุดการนึ่งท้องหรือชุดอยู่ไฟของญี่ปุ่นเปรียบเทียบให้ดู ซึ่งน่าจะมีความคิดในแนวเดียวกัน
นอกเหนือจากนี้ในพิพิธภัณฑ์ยังจัดแสดงความรู้เกี่ยวกับท่าฤาษีดัดตน ที่มาจากจารึกวัดโพธิ์ ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นมรดกความทรงจำของโลกทางด้านความรู้โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO)
นอกจากเรื่องราวทางด้านการแพทย์แผนไทยที่ได้จัดให้ชมแล้ว ยังมีการจัดแสดงความเชื่อทางไสยศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องของการรักษาในอดีต ทั้งเรื่องของตุ๊กตาลวงผี เมื่อบ้านไหนมีเด็กเกิดใหม่ เพื่อลวงไม่ให้ผีมาเอาลูกไป หรือเรื่องของเฉลวที่จะช่วยป้องกันความเสื่อมของฤทธิ์ยา รูปปั้นหรือรูปหล่อของครูแพทย์ตามความเชื่อแบบโบราณจนมาถึงปัจจุบัน มีการนำเอายาสมุนไพรโบราณหรือยาแผนไทยมาจัดจำหน่ายในรูปแบบของยาสมัยใหม่ เช่น ยาอม ยาดม ยาบำรุงเลือดต่างๆ
อนึ่ง ภายในโรงพยาบาลศิริราชยังมีพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจอีก 5 แห่งได้แก่ พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน และพิพิธภัณฑ์ก่อนประวัติศาสตร์และห้องปฏิบัติการ สุด แสงวิเชียร
เมธินีย์ ชอุ่มผล เรื่อง
เสาวลักษณ์ วรายุ ภาพ
สำรวจวันที่ 27 ธันวาคม 2551
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
การแพทย์และสาธารณสุข ศิริราช โรงพยาบาลศิริราช การแพทย์แผนไทย สมุนไพร
อุทยานแมวไทยโบราณ
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์บ้านขุนศึก
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส
จ. กรุงเทพมหานคร