บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช(บ้านซอยสวนพลู)


บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ รู้จักกันในนาม บ้านซอยสวนพลู บ้านหลังนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2503 หลังจากที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ถึงอสัญกรรมไปในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาทายาทได้จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ และเปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าเยี่ยมชม โดยบ้านประกอบด้วยหมู่เรือนไทยจนำวน 5 หลัง ที่ได้มาจากทั้งในกรุงเทพฯและพระนครศรีอยุธยา โดยในครั้งนั้นท่านได้นำช่างปรุงเรือนมาจากตำบลลาดชะโด อำเภอผักไห่ มาสร้างตามวิธีการสร้างบ้านไทยแบบโบราณ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี องค์อุปถัมภ์ มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 ฯ ทรงแนะนำถึงการเปิดบ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ให้สาธารณชนเข้าชมว่า การเปิดบ้านควรถือเป้าหมายไว้สองประการ ประการแรกเพื่อให้คนรุ่นปัจจุบันโดยเฉพาะเยาวชนและคนรุ่นหลังได้ระลึกถึง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ซึ่งได้ทำคุณประโยชน์ไว้แก่ชาติบ้านเมืองอย่างอเนกอนันต์ ประการที่สอง เรือนไทยที่เป็นที่อยู่อาศัยจริงๆ ไม่ใช่จัดขึ้นเพื่อการแสดง เป็นสิ่งที่หาดูได้ยากในสมัยนี้ การจัดบ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ในรูปของบ้านอยู่อาศัย จะทำให้คนรุ่นหลังเห็นถึงวิถีการดำรงชีวิตของบรรพบุรุษที่เน้นความสมถะเรียบง่าย และสอดคล้องกับสภาพธรรมชาติ ซึ่งแทบจะไม่รู้จักกันแล้วในปัจจุบัน

ที่อยู่:
เลขที่ 19 ซ.พระพินิจ ถ.สาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
โทรศัพท์:
0-2286-8185, 0-2679-3630
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 10.00-18.00 น. กรุณาติดต่อล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2543
ของเด่น:
เรือนไทยไม้สัก ศิลปวัตถุสมัยต้นรัตนโกสินทร์ หัวโขน

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล

บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช พหูสูตผู้ให้กำเนิด "สี่แผ่นดิน"

ชื่อผู้แต่ง: พี่หนุงหนิง | ปีที่พิมพ์: 3/24/2547

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

12 ปี บ้านศิลปินแห่งชาติม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่สุดของความเป็นไทย

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 22-10-2550 (หน้า33-34)

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของบ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช(บ้านซอยสวนพลู)

บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ บนพื้นที่ 5 ไร่  รู้จักกันในนาม  บ้านซอยสวนพลู  บ้านหลังนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2503 ปัจจุบันแม้ท่านจะถึงอสัญกรรมไปในปี พ.ศ. 2538   เรือนไม้ของท่านยังคงความร่มรื่นด้วยต้นไม้นานาพันธุ์  ด้วยการรักษาดูแลด้วยจิตวิญญาณ  พรั่งพร้อมด้วยความทรงจำในอดีตของ ม.ล.รองฤทธิ์ ปราโมช
       
ที่มาของเรือนไทย  ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซื้อเรือนไทยมาจากเทศบาลกรุงเทพฯ ที่ได้เวนคืนที่ดิน  เพื่อสร้างศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร  ท่านได้ให้นายน้ำเชื่อม เล็กประทุม ผู้รับใช้ใกล้ชิดมานาน ไปเสาะหาเรือนแบบภาคกลางมาอีก 2 หลัง  ได้จากบ้านเดิมที่ อำเภอผักไห่  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนำช่างปรุงเรือนมาจากตำบลลาดชะโด อำเภอผักไห่  มาสร้างตามวิธีการสร้างบ้านไทยแบบโบราณ 
       
เมื่อก่อนในซอยนี้มีสวนพลู  ม.ล.รองฤทธิ์ ปราโมช ท่านได้เล่าย้อนอดีตเมื่อครั้งท่านยังเป็นเด็ก สมัยก่อนแถวนี้เป็นถนนลูกรัง มีสวนส้มเขียวหวาน มีท้องร่อง ฝูงแพะเดินกัน มีกลุ่มชาวจีนมาตั้งบ้านเรือนหลังคามุงจาก พวกเขามีอาชีพทอผ้า ย้อมผ้าเอง ทอเองแล้วก็ตากไว้นอกบ้าน  อาหารจีนที่เขาปรุงกันหอมมาก เป็นผัดกุ๊ยช่าย หมูย่าง กลิ่นหอมโชยมาจนถึงบ้านท่าน สิ่งประทับใจในความทรงจำของท่านอีกอย่างคืออาม๊าคนจีนหลังโกง  เดินมาขายของเล่นเป็นไม้ปลายหมุนเสียงจักจั่น  กับที่แบบเป่าแปร๊ดๆ อาม๊าคนนี้สวย ใส่ตุ้มหูเป็นหยกรูปมือ กำไลหยก  ผมแกแทบไม่มีแต่มีหวีสับ ใส่เสื้อผ้าจีนอย่างที่เรียกว่าปั๋งลิ้น กับอาการเดินต๊อกแต๊กเนื่องจากรัดเท้า สวมรองเท้าคู่เล็กๆ บรรยากาศยามเช้าที่นี่มีพระมาบิณฑบาตหน้าบ้าน  และสมัยนั้นยังมีรถลากที่คนจีนลากรถไว้ผมแบบแมนจู 
       
มาถึงปัจจุบันกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไป  แต่บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ยังร่มรื่นงอกงามผลิบาน  การที่ต้นไม้ทุกต้นสดใสงอกงาม  มาจากความเอาใจใส่ของ ม.ล.รองฤทธิ์  มีพันธุ์ไม้บางชนิดเราคุ้นเคยกันดี  แต่การตกแต่งทำให้ดูสวยงามกว่าที่เคยเห็นมา  อย่างต้นโมกในกระถางสองด้านของบันได  ตัดแต่งเป็นบอนไซ  แม้แต่ต้นมะขามก็สามารถลงกระถางโชว์กิ่งก้านได้  ไม้ดอกกลิ่นหอมมีอยู่มากมาย  อย่างต้นยี่เข่ง  มีหลากสีสัน ต้นบุหงาตันหยง  ได้มาจาก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์  นำเมล็ดมาจากต่างประเทศ  นำมาเพาะปลูกเอง         
       
การเปิดบ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ให้สาธารณชนเข้าชม  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี  องค์อุปถัมภ์ มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 ฯ ทรงแนะนำว่า  การซ่อมแซมบ้านได้ใช้เงินไปเป็นจำนวนมาก  และหากทิ้งไว้ก็จะทรุดโทรมลงอีก  น่าจะเปิดให้สาธารณชนเข้าชม    การเปิดบ้านควรถือเป้าหมายไว้ 2 ประการ  ประการแรกก็เพื่อให้คนรุ่นปัจจุบันโดยเฉพาะเยาวชนและคนรุ่นหลังได้ระลึกถึง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ซึ่งได้ทำคุณประโยชน์ไว้แก่ชาติบ้านเมืองอย่างอเนกอนันต์  ประการที่สอง เรือนไทยที่เป็นที่อยู่อาศัยจริงๆ ไม่ใช่จัดขึ้นเพื่อการแสดง เป็นสิ่งที่หาดูได้ยากในสมัยนี้  การจัดบ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ในรูปของบ้านอยู่อาศัย  จะทำให้คนรุ่นหลังเห็นถึงวิถีการดำรงชีวิตของบรรพบุรุษที่เน้นความสมถะเรียบง่าย  และสอดคล้องกับสภาพธรรมชาติ ซึ่งแทบจะไม่รู้จักกันแล้วในปัจจุบัน
       
การเดินเยี่ยมชมบ้าน  ม.ล.รองฤทธิ์ ได้ให้ความกรุณาพาชมบ้านด้วยตนเอง  ชั้นบนของหมู่เรือนไทยมีระเบียงเชื่อมถึงกัน  แบ่งออกเป็น 5 เรือน ได้แก่ เรือนนอน หอหนังสือ ห้องสะสม เรือนรับรอง หอพระ 
       
ในเรือนนอนตอนนอก ทำเป็นห้องนั่งเล่นและรับแขกส่วนตัว  ตอนในเป็นเตียงนอน โต๊ะกระจกวางเครื่องใช้ของท่าน มีตู้และหีบเสื้อผ้า คันฉ่องลงรักปิดทอง ใกล้กันมีภาพถ่ายตั้งอยู่  ม.ล.รองฤทธิ์  ได้กล่าวถึงสุนัขตัวโปรดของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ในภาพ ชื่อเรือใบกับสามสี  ทั้งสองตัวจะเข้ามานอนในห้องกับท่านด้วย  ความรักเมตตาสุนัขยังได้ถ่ายทอดมาถึงท่านเจ้าของบ้านปัจจุบัน  ม.ล.รองฤทธิ์ ได้อุปการะสุนัขจรจัดหลายสิบตัว โดยส่วนใหญ่จะเลี้ยงไว้ในกรง   
       
สิ่งของตกแต่งในห้องนอน  ที่สะดุดตายังมีตู้เก็บตลับงาหลายขนาด  ตลับงานี้เป็นของเล่นที่นิยมสะสมกันในสมัยรัชกาลที่ 5 มีเป็นชุดลูกจันทร์ ลูกพลับและทรงกลอง ผู้สะสมจะแข่งขันกันว่าของใครจะงดงามที่สุด  มีเป็นชุด ชุดละ 10-15 ใบ ทุกใบมีฝาเกลียวเปิดได้และสามารถซ้อนจากใหญ่ไปจนเล็กที่สุด สมัยนั้น ม.จ.ดำรง ปราโมช ท่านมีชื่อเสียงว่าเป็นช่างกลึงตลับงาที่มีฝีมือดีที่สุดท่านหนึ่ง 
       
มาถึงหอหนังสือ  ด้านตรงข้ามกับเรือนนอน แบ่งออกเป็น 2 ตอน ด้านนอก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ท่านใช้เป็นที่ประชุมรับรองแขกสำคัญ พูดคุยเรื่องบ้านเมือง ด้านในใช้เก็บหนังสือสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ  รวบรวมผลงานเขียนของท่าน  ในการเขียนหนังสือนวนิยายอย่างเช่นเรื่องสี่แผ่นดิน หลายชีวิต  ม.ล.รองฤทธิ์ได้บอกว่า ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ท่านไม่ได้ประพันธ์รวดเดียวจบ  ท่านจะเขียนวันต่อวันลงในสยามรัฐ ชาวกรุง  บนชั้นหนังสือ  หนังสือบางเล่มเป็นหนังสือตั้งแต่สมัยที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เรียนที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ต ประเทศอังกฤษ
       
มาถึงเรือนประธานหรือเรือนรับรอง เป็นเรือนหลังแรกที่ซื้อมาจากเสาชิงช้า    คนในบ้านรวมถึง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เรียกว่า เรือนคุณย่า เป็นเรือนไม้สักมีลายสลักไม้สวยงามมาก  เล่าลือกันว่าเจ้าของบ้านเดิมคนสุดท้ายเป็นสุภาพสตรี ท่านรักบ้านหลังนี้มาก  เมื่อย้ายเรือนจากเสาชิงช้ามาปลูกที่ซอยสวนพลู ท่านก็ยังตามมาอยู่ด้วย ภายในเรือนเก็บรักษาสิ่งของทรงคุณค่าอย่างยิ่ง  มีเตียงเท้าสิงห์ลงรักปิดทองประดับกระจกสี  เชื่อว่าเป็นพระแท่นกลางวันของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(สกุล ปราโมช สืบมาจากรัชกาลที่ 2) เป็นที่ประทับเวลาทรงพระอักษร ทรงบทกลอนต่างๆ รวมถึงการทอดพระเนตร การหัดละครให้เข้ากับบท  ในเรือนคุณย่ายังมีศิลปวัตถุมีค่ามากมายจัดไว้ในตู้ทองสมัยอยุธยา มีหัวหุ่นกระบอกเรื่องพระอภัยมณี อิเหนา ตู้หัวโขนขนาดเล็ก ตู้เครื่องถมทอง สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นสิ่งของประเภทเครื่องยศ เช่น ขันน้ำ พานรอง และเครื่องใช้ประจำวัน สมัยนั้นตามกฎมณเฑียรบาล  ขุนนางหรือคหบดี จะใช้เครื่องใช้ทองคำไม่ได้ ถือเป็นการทำตนเทียมเจ้า จึงเลี่ยงไปใช้เครื่องถมทองแทน
 
ครั้นออกมายืนหน้าเรือนคุณย่า เห็นเป็นพายมีลวดลายสีทองประดับไว้เหนือประตูเรือน มีความหมายเหมือนกับเป็นการเซ็นชื่อของชุมชนชาวผักไห่  ช่างที่นั่นได้มาปรุงเรือนให้ท่านตามวิธีการสร้างบ้านเรือนไทยแบบโบราณ   มีความผูกพันกับราชสกุลปราโมชมานาน เพราะหมู่บ้านนี้เป็นเลกฝีพาย อยู่ในการบังคับบัญชาของ พระองค์เจ้าคำรบ ซึ่งเป็นพระบิดาของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์
 
ถ้าเป็นศิลปวัตถุประเภทเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสี ศิลปะบ้านเชียง เครื่องสังคโลกสุโขทัย เครื่องกระเบื้องดินเผาศิลปะลพบุรี และของที่ระลึกจากผู้นำต่างประเทศ เช่น หน้ากากอินโดนีเซีย เครื่องกระเบื้องของญี่ปุ่น  จัดไว้ที่เรือนปลูกใหม่เป็นเรือนเก็บของสะสม เรียกตามศัพท์เรือนไทยว่า หอขวาง  อีกเรือนหนึ่งที่ปลูกใหม่คือ หอพระ จะไม่เปิดให้เข้าชม มีไว้สำหรับลูกหลานและผู้ใกล้ชิด ในหอพระตั้งที่บูชาพระพุทธรูปปางต่างๆ และมีอัฐิของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช บรรจุอยู่ใต้ฐานพระแก้วมรกตจำลองที่หน้าพระแท่นบูชา  สำหรับหัวโขนที่ท่านสะสมไว้ 33 หัว เป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางศิลปะอย่างสูง  จะอยู่ที่ศาลาโขน  ศาลาใหญ่ด้านหน้าของหมู่เรือนไทย บริเวณที่จำหน่ายบัตรเข้าชม
 
ส่วนของศาลาที่ตั้งอยู่นอกชานด้านหลัง เรียกว่า หอนก  เมื่อก่อนนี้จะมีกรงนกแขวนไว้โดยรอบ มีนกปรอทหัวโขน นกขุนทอง  แต่ ม.ล.รองฤทธิ์ท่านไม่ชอบเห็นนกในกรง  จึงไม่มีกรงนกแขวนดังแต่ก่อน แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เสียงไพเราะของนกจางหายไป  ขณะสัมภาษณ์ได้มีเสียงนกแทรกเข้ามาอยู่ตลอดเวลา  ยามเมื่อมายืนตรงระเบียงชมสวนหลังบ้าน มีไม้ใหญ่หลายต้น ตรงต้นชมพู่ใกล้กับสระน้ำ  ท่านบอกว่าตรงนั้นทำเป็นสุสานสัตว์เลี้ยง โดยมีแผ่นป้ายเขียนไว้  ท่านมีเรื่องเล่าว่า ท่านได้อุปการะอีกาไว้ครอบครัวหนึ่ง โดยมีเวลาประจำที่เค้าจะมาส่งเสียงขออาหารกับแม่บ้าน  ซึ่งบ้านนี้จะมีอาหารอร่อยมาเลี้ยง บ้างก็เป็นไส้กรอก ไก่ย่าง ขาหมู  เวลาอีกากินอาหารก็จะมีสุนัขมานั่งแหงนมอง 
       
การบริหารจัดการที่นี่ปัจจุบันอยู่ในการดูแลของ ม.ล.รองฤทธิ์  ปราโมช โดยมีผู้จัดการคอยดูแลในเรื่องต่างๆรวมทั้งการให้เช่าสถานที่เพื่อจัดงาน  ที่ได้รับความนิยมคืองานแต่งงาน งานเลี้ยงสังสรรค์ เนื่องจากเจ้าภาพประทับใจในบรรยากาศความสวยงามของบ้านไทยกับสวนหลังบ้าน  สนามหญ้าเขียวขจีดูโล่งกว้าง ขอบสนามมีไม้ใหญ่ล้อมร่มครึ้มเป็นราวป่า ตรงลำธารมีสะพานเล็กๆทอดข้ามจากบ้านไปยังสวน  “บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์”ในวันนี้  ยังคงร่มรื่นอบอุ่น ผู้คนที่เข้ามาเยี่ยมเยือนต่างรู้สึกประทับใจและยังคงรำลึกถึงท่านเจ้าของบ้าน
----------------------------------------------------
สาวิตรี  ตลับแป้น /ผู้เขียน /ถ่ายภาพ
สำรวจภาคสนาม เมื่อวันที่  8 พฤษภาคม 2555
----------------------------------------------------
การเดินทาง : การเดินทางมี 2 เส้นทาง เส้นทางแรก จากถนนนราธิวาสราชนครินทร์ เลี้ยวเข้าซอยนราธิวาส 7 ตรงเข้าไปในซอยประมาณ 150 เมตร บ้านจะอยู่ทางด้านขวามือค่ะ ส่วนเส้นทางที่ 2 มาจากทางถนนเส้นสาทรใต้เลี้ยวเข้าซอยสวนพลู ตรงเข้าซอยมาก็เลี้ยวขวาซอยแรก ชื่อซอยพระพินิจ ตรงเข้าซอยไปประมาณ 200 เมตร บ้านจะอยู่ทางด้ายซ้ายมือ
        มีรถประจำทางสาย 67, 22 ลงซอยสวนพลู หรือ นั่งรถประจำทางสาย 77 ลงถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ซอย 7 เดินเข้าไป 150 เมตร
-----------------------------------------------
อ้างอิง  :  ข้อมูลการสัมภาษณ์เมื่อวันที่  8  พฤษภาคม 2555
               แผ่นพับประชาสัมพันธ์ บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์
               สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.(2551).
                     ชม “บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์”.หนังสือฉบับพิเศษ 9 ตุลาคม 2551 เนื่องในโอกาสครบรอบ  การจากไปของท่านพลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นปีที่ 13.
 

 
 
 
ชื่อผู้แต่ง:
-

รีวิวของบ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช(บ้านซอยสวนพลู)

บ้านม.ร.ว. คึกฤทธิ์ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า "บ้ายซอยสวนพลู" ประกอบด้วยกลุ่มเรือนไทยภาคกลางแบบเรือนเครื่องสับ ซึ่ง ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ซื้อมาจากที่ต่างๆ และนำมาวางผังในลักษณะหมู่เรือนคหบดี ประกอบด้วยเรือนไม้สักขนาดต่างๆกัน 5 หลัง และหอนกมีนอกชานเชื่อมถึงกันตลอด ชั้นล่างเป็นใต้ถุนโล่งตามลักษณะของบ้านไทย ท่านเจ้าของเรือนได้พำนักอยู่ ณ เรือนหมู่แห่งนี้นานกว่า 40 ปี ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานประเภทบ้านบุคคลสำคัญ

ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ เป็นผู้มีคุณูปการต่อประเทศไทยทางด้านศิลปะ โดยเฉพาะด้านวรรณกรรม และเป็นผู้มีบทบาททางการเมืองอย่างสำคัญยิ่งในฐานะนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของไทย ท่านได้เคยเล่าว่าท่านมีความใฝ่ฝันที่จะอยู่เรือนไทยมานาน จนประมาณปี พ.ศ. 2485 ท่านได้ซื้อที่ดินในซอยสวนพลู 5 ไร่ และ 10 ปีต่อมา ได้ซื้อเรือนหลังแรกที่เห็นเทศบาลปล่อยทรุดโทรมอยู่แถวเสาชิงช้าในราคา 2,700 บาท เมื่อท่านดำริจะปลูกเรือนให้เป็นการถาวรในราวปี พ.ศ. 2503 จึงได้ให้นายเชื่อมไปหาเรือนมาเพิ่มเติมจากอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีก 2 หลัง และได้นำช่างชาวผักไห่มาปรุงเรือนขึ้นในที่ของท่านที่ซอยสวนพลู โดยท่านเป็นผู้วางผังให้ต่อมาก็มีการสร้างเรือนเพิ่มเติม รวมเป็นหมู่เรือน 5 หลัง และหอนกอีก 1 หลัง ท่านได้อาศัยอยู่ ณ บ้านหลังนี้จนถึงแก่อสัญกรรมในปี 2538

ในบริเวณบ้านประกอบด้วย เรือนโขน เป็นศาลาใหญ่ติดดินใช้ในกิจกรรมอเนกประสงค์ สร้างขึ้นในช่วงประมาณ 10 ปี หลังจากที่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ได้ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านนี้ถัดจากเรือนโขนเป็นสวนน้ำพุ แล้วจึงถึงหมู่เรือน 3 หลัง อันประกอบด้วยเรือนคุณย่า คือเรือนที่ซื้อจากเสาชิงช้า ลักษณะเป็นเรือนคหบดีที่ก่อสร้างประณีตงดงามกว่าหลังอื่น อีก 2 เรือนคือเรือนนอน และเรือนหนังสือ คือเรือนที่ซื้อมาจากผักไห่ นอกจากนี้ ก็มีหอพระ หอขวาง และหอนก ปัจจุบันได้เปิดให้ผู้สนใจได้เข้าชมเพื่อการศึกษา รายได้จากการเข้าชมสมทบทุน มูลนิธิ คึกฤทธิ์ 80 ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี


ข้อมูลจาก :
1. สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. 174 มรดกสถาปัตยกรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับบลิชชิ่งจำกัด (มหาชน), 2547. 
2.: แปลน รีดเดอร์ส. 100 พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ-ปริมณฑล: โลกกว้างอยู่ไม่ไกล. กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นติ้งแอนด์พับลิงชิ่ง, 2546. หน้า 69.
ชื่อผู้แต่ง:
-