พิพิธภัณฑ์โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย


โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย เป็นโรงเรียนแรกที่คณะอุร์สุลินก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย โดยคุณแม่มารี เบอร์นาร์ด มังแซล ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากมหาธิการิณีที่โรมให้ย้ายจากอินโดนีเซียมาเป็นอธิการที่สยาม เป็นผู้จัดซื้อที่ดินและก่อตั้งโรงเรียนขึ้นเมื่อปี 2470 และได้ถวายโรงเรียนใหม่นี้แด่พระมารดาของพระเจ้า และให้ชื่อโรงเรียนเป็นภาษาละตินว่า มาแตร์เดอี ภายในโรงเรียนมีโบราณสถานสำคัญ คือ โบสถ์และสำนักแม่ชีอุร์สุลิน มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมดัทช์โคโรเนียล เป็นอาคารไม้หลังคาจั่ว ช่วงกลางเป็นหอคอยสูง 3 ชั้น และปีกซ้ายเป็นหอคอยสูง 2 ชั้น หน้าจั่วตกแต่งด้วยไม้ฉลุลาย หลังคามุงกระเบื้อง ที่พิเศษคือหลังคาหอคอยด้านซ้ายมุงกระเบื้องลายไม้กางเขน ซึ่งอาคารหลังนี้เป็นอาคารหลังแรกของโรงเรียน ปัจจุบันใช้เป็นโบสถ์ ที่พักของแม่ชี ห้องพยาบาล และพิพิธภัณฑ์

ที่อยู่:
โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์:
0-2252-6316
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 8.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
materdei@loxinfo.co.th
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย

โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2469 โดยคุณแม่มารี เบอร์นาร์ด มองแซล ส่วนโบราณสถานสำคัญในบริเวณโรงเรียน คือโบสถ์และสำนักแม่ชีอุรสุลินนั้น ได้ตั้งอยู่ในที่ดินก่อนแล้วและไม่ทราบประวัติการก่อสร้างหรือเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าของเดิมของอาคารแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี รูปแบบของอาคารก็มีคุณค่าในตัวเอง โดยลักษณะสถาปัตยกรรมแบบดัทช์โคโลเนียล เป็นอาคารไม้หลังคาจั่ว ช่วงกลางเป็นหอคอยสูง 3 ชั้น และปีกซ้ายเป็นหอคอยสูง 2 ชั้น หลังคามุงกระเบื้อง ที่พิเศษคือหลังคาหอคอยด้านซ้ายมุงกระเบื้องเป็นลวดลายรูปไม้กางเขน หน้าจั่วตกแต่งด้วยไม้ฉลุ

อาคารนี้นับเป็นอาคารหลังแรกของโรงเรียนที่เคยใช้บางส่วนเป็นห้องนอนนักเรียนประจำปัจจุบันใช้เป็นโบสถ์ เป็นที่พักอาศัยของแม่ชี เป็นห้องพยาบาล และเป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ และทรงเคยเป็นนักเรียนที่โรงเรียนนี้ในปี พ.ศ. 2475

ข้อมูลจาก : สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. 174 มรดกสถาปัตยกรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับบลิชชิ่งจำกัด (มหาชน), 2547

ชื่อผู้แต่ง:
-