พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย วังเทวะเวสม์


วังเทวะเวสม์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพระราชทานแก่สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เพื่อเป็นที่ประทับในยามมีพระชันษาแล้ว เริ่มสร้างในปี 2457 เสด็จขึ้นวังในปี 2461 วังเทวะเวสม์ประกอบด้วยอาคาร 8 หลัง โดยตำหนักใหญ่ที่ประทับออกแบบและก่อสร้างโดย เอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ สถาปนิกชาวอังกฤษ ส่วนอาคารหลังอื่น ๆ รวมทั้งเรือนแพริมน้ำออกแบบและก่อสร้างโดย เอมิลโย โจวันนี อูเจนโย กอลโล วิศวกรชาวอิตาลี วังเทวะเวสม์มีสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก  โดยปัจจุบันยังคงปรากฏอาคารให้ชมความงดงาม จำนวน 4 อาคาร คือ ตำหนักใหญ่ เรือนแพริมน้ำ เรือนหม่อมลม้าย และเรือนหม่อมจันทร์

ที่อยู่:
ภายในธนาคารแห่งประเทศไทย เลขที่ 273 ถ.สามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์:
02-3567766
วันและเวลาทำการ:
กรุณานัดหมายล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
https://www.facebook.com/BOTLearningCenter
ปีที่ก่อตั้ง:
2547
ของเด่น:
อาคารสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์วังเทวะเวศม์

ปัจจุบันพื้นที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นที่ตั้งของสองวังที่มีสถาปัตยกรรมอัดงดงามได้แก่ วังบางขุนพรหม วังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระราชโอรสพระองค์ที่ 33 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าสุขุมาลย์มารศรีพระอัครราชเทวี และวังเทวะเวสม์ วังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา(เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์พร้อมความงดงามทางสถาปัตยกรรมของวังทั้งสอง จึงนำวังทั้งสองแห่งจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้น คือพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย และพิพิธภัณฑ์วังเทวะเวสม์ 

ตำหนักวังบางขุนพรหม ใช้เป็นอาคารจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อสร้างในปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คาร์ล ดอห์ริง(Karl Dohring) สถาปนิกชาวเยอรมันเป็นผู้ออกแบบ ตัวตึกเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างเรเนอซองส์ บาโร้ค ร้อคโคโค่ และอาร์ตนูโว ซึ่งสถาปัตยกรรมรูปแบบดังกล่าวเป็นที่นิยมมากในประเทศไทยในช่วงเวลานั้น ตำหนักวังบางขุนพรหมประกอบไปด้วยหมู่ตึกน้อยใหญ่ ที่เด่นที่สุดคือตำหนักใหญ่ และตำหนักสมเด็จฯ 

ตำหนักใหญ่เป็นอาคารหลักที่ตั้งขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยาในทิศเหนือใต้ ขนาบด้วยปีกตึกทั้งสองข้าง ตกแต่งด้วยลายไม้และปูนปั้น หน้าต่างเป็นแบบpalladian (หน้าต่างที่แบ่งเป็นสามส่วน ส่วนกลางใหญ่กว่าสองส่วนด้านข้าง และมักจะเป็นรูปโค้ง) เสาปูนคลาสสิค และมีบันไดหินอ่อนทอดตัวลงสู่โถงกลางตำหนัก ส่วนตำหนักสมเด็จฯ นั้นสร้างขึ้นในเวลาต่อมา สะท้อนถึงศิลปะแบบอารต์นูโว ตกแต่งโดยภาพวาดปูนเปียก(freshco) ฝีมือคาร์โล ริโกลิ (Carlo Rigoli) หนึ่งในศิลปินชาวอิตาเลียนที่วาดรูปจิตรกรรมฝาผนังในพระที่นั่งอนันตสมาคม

ตำหนักวังบางขุนพรหมเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตได้เพียง 30 ปี เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ. 2475 ท่านทรงลี้ภัยไปยังต่างประเทศ ตำหนักตกเป็นสมบัติของรัฐ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2488 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ย้ายเข้ามาใช้เป็นสถานที่ทำการจนกระทั่งถึงปีพ.ศ. 2525 จึงได้ปรับเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดพิพิธภัณฑ์เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2536 

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดแสดงวิวัฒนาการเงินตราไทย เริ่มตั้งแต่สิ่งที่ใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และวิวัฒนาการมาเป็นเงินตราโบราณยุคต่าง ๆ จนถึงเงินตรายุคปัจจุบัน รวมทั้งบทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ประวัติผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนประวัติวังบางขุนพรหม และประวัติสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต โดยมีห้องจัดแสดง 14 ห้อง อาทิ ห้องเงินตราโบราณ จัดแสดงเงินตราของอาณาจักรฟูนัน ทวารวดี ศรีวิชัย ล้านนา และล้านช้าง ห้องพดด้วง จัดแสดงเงินพดด้วงในสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ตลอดจนวิธีการผลิตเงินพดด้วง ห้องกษาปณ์ไทย จัดแสดงเหรียญกษาปณ์ตั้งแต่เริ่มมีการทำเหรียญกษาปณ์ออกใช้ ห้องธนบัตรไทย จัดแสดงวิวัฒนาการของธนบัตรไทยตั้งแต่หมายในรัชกาลที่ 4 ธนบัตรแบบแรกจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งธนบัตรที่ระลึกในโอกาสสำคัญ ๆ ห้อง 60 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดแสดงประวัติความเป็นมาของธนาคารแห่งประเทศไทย บทบาทและหน้าที่ ตลอดจนเหตุการณ์สำคัญในรอบ 60 ปีที่ผ่านมา ห้องบริพัตร จัดแสดงพระประวัติ พระกรณียกิจและพระอัจฉริยภาพของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต 

วังเทวะเวสม์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพระราชทานแก่สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เพื่อเป็นที่ประทับในยามมีพระชันษาแล้ว เริ่มสร้างในปี 2457 เสด็จขึ้นวังในปี 2461 วังเทวะเวสม์ประกอบด้วยอาคาร 8 หลัง โดยตำหนักใหญ่ที่ประทับออกแบบและก่อสร้างโดย เอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ สถาปนิกชาวอังกฤษ ส่วนอาคารหลังอื่น ๆ รวมทั้งเรือนแพริมน้ำออกแบบและก่อสร้างโดย เอมิลโย โจวันนี อูเจนโย กอลโล วิศวกรชาวอิตาลี วังเทวะเวสม์มีสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก 

สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ประทับอยู่ที่วังนี้ได้เพียง 5 ปี ก็สิ้นพระชนม์ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง วังเทวะเวสม์ได้ใช้เป็นที่ทำการของกระทรวงสาธารณสุข จนปัจจุบันอยู่ภายใต้การครอบครองของธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อมาธนาคารแห่งประเทศร่วมกับกรมศิลปากรได้ทำการศึกษาประวัติศาสตร์ ตลอดจนอนุรักษ์อาคารตำหนักใหญ่ พร้อมจัดนิทรรศการถาวรขึ้น 2 ห้อง ภายในตำหนักใหญ่ ได้แก่ ห้องเทพสถิตย์สถาพร จัดแสดงพระราชประวัติของสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ "บิดาแห่งการต่างประเทศของไทย" และห้องบุราณสถานบูรณะ จัดแสดงประวัติวัง และเรื่องราวการบูรณะวังเทวะเวสม์ และวังบางขุนพรหม นอกจากสองห้องแล้ว ภายในวังเทวะเวสม์ยังคงบรรยากาศในบางห้องไว้แบบเดิม

ข้อมูลจาก:
1. แผ่นพับประชาสัมพันธ์ พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย
2. แผ่นพับประชาสัมพันธ์ วังเทวะเวสม์
3. Ping Amaranand and William Warren. Heritage Homes of Thailand. Bangkok: Siam Society,1996.
4. สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. 174 มรดกสถาปัตยกรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับบลิชชิ่งจำกัด (มหาชน), 2547.

ชื่อผู้แต่ง:
-