พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร


พิพิธภัณฑ์ก่อตั้งโดย ศ.นพ.สุด แสงวิเชียร ศาสตราจารย์เกียรติคุณในวิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ท่านสนใจศึกษาศาสตร์ต่าง ๆ ไม่เพียงแต่กายวิภาคศาสตร์ หากยังสนใจสาขาต่าง ๆ ของแพทยศาสตร์ พันธุศาสตร์ มานุษยวิทยากายภาพ และโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ขณะที่ท่านเข้าร่วมในการขุดค้นกับคณะไทย-เดนมาร์ก ที่ บ้านเก่า จ.กาญจนบุรี ใน พ.ศ. 2504-2505 ท่านมีโอกาสได้เห็นเครื่องมือเครื่องใช้ขณะร่วมขุดค้น และเห็นว่าเครื่องมือเครื่องใช้เหล่านั้นทำให้เข้าใจวัฒนธรรมของบุคคลที่เป็นเจ้าของได้เป็นอย่างดี และได้เก็บรวบรวมเศษเครื่องมือเครื่องใช้ที่ชำรุดหรือที่ชาวบ้านบริจาค นำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน จนในที่สุดนำวัตถุที่ขุดพบมาจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ โดยไม่ได้ตั้งใจจะจัดแสดงแบบสวยงามเพื่อดึงดูดผู้คนแบบพิพิธภัณฑ์ทั่วไป หากแต่เพื่อให้เป็นที่ศึกษาของนักศึกษาแพทย์ นักศึกษาโบราณคดี และผู้ที่สนใจ พิพิธภัณฑ์จัดแสดงวิวัฒนาการของมนุษย์ และเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเล่าเรื่องผ่านทั้งภาพวาด ภาพถ่าย ส่วนต่าง ๆ ของโครงกระดูกมนุษย์ หุ่นจำลอง ตัวอย่างเครื่องมือเครื่องใช้ที่ขุดพบ อาจกล่าวได้ว่าเป็นแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีเครื่องมือหินครบถ้วนทุกสมัย

ที่อยู่:
ชั้น 1 ตึกกายวิภาคศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช ถ.พรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10702
โทรศัพท์:
0-2419-6363, ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ 0-2419-7029
วันและเวลาทำการ:
จันทร์,พุธ-อาทิตย์ เวลา หน่วยพิพิธภัณฑ์ศิริราช 10.00-17.00 น. (ปิดจำหน่ายตั๋วเวลา 16.00 น.) ปิดทำการวันอังคารเเละวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม:
1.พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช หรือพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน เพียงแห่งเดียว ต่างชาติ 200 บาท / ไทย 80 บาท เด็กไทยและต่างชาติ อายุต่ำกว่า 18 ปี 25 บาท 2. บัตรเดียวเที่ยว 2 พิพิธภัณฑ์ ต่างชาติ 300 บาท / ไทย 150 บาท เด็กไทยและต่างชาติ 50 บาท
อีเมล:
sirirajmuseum@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2515
ของเด่น:
กะโหลกมนุษย์สมัยหินใหม่ที่มีการฝนฟันหน้าหรือมีความหนากว่าปกติ, การศึกษากายวิภาคเปรียบเทียบจากกระดูกและโมเดลเรื่องวิวัฒนาการของมนุษย์
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ตะลุยโลกใบใหญ่

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 04/11/2544

ที่มา: ไทยรัฐ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

วันวาร 86 ปี ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ปูชนียาจารย์วงการแพทย์ไทย

ชื่อผู้แต่ง: ลดาวัลย์ เหลืองอ่อน | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 9 ฉบับที่ 105(พฤิศจิกายน 2539)

ที่มา: สารคดี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เมื่อนึกถึงหมอสุด

ชื่อผู้แต่ง: ศรีศักร วัลลิโภดม | ปีที่พิมพ์: พฤศจิกายน 2545

ที่มา: เมืองโบราณ (บทบรรณาธิการ)

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ภาพเขียนสีพิธีกรรมที่เชิงผาหน้าถ้ำตาด้วง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

ชื่อผู้แต่ง: สุด แสงวิเชียร,วัฒนา สุภวัน และสมศักดิ์ ประมาณกิจ | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 10 ฉบับที่ 10 สิงหาคม 2532

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ศิริราช คู่มือการชม

ชื่อผู้แต่ง: พิพิธภัณฑ์ศิริราช | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: พิพิธภัณฑ์ศิริราช

แหล่งค้นคว้า: พิพิธภัณฑ์ศิริราช

โดย: ศมส.

วันที่: 20 กรกฎาคม 2564

ดูลิงค์ต้นฉบับ

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร

ศ.นพ.สุด แสงวิเชียร ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ฯ ศาสตราจารย์เกียรติคุณในวิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ท่านเป็นผู้สนใจศึกษาศาสตร์ต่าง ๆ ไม่เพียงแต่กายวิภาคศาสตร์ หากยังสนใจสาขาต่าง ๆ ของแพทยศาสตร์ พันธุศาสตร์ มานุษยวิทยากายภาพ และโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ท่านสนใจศึกษาค้นคว้าเรื่องกำเนิดคนไทยและการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของคนไทย ที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันมากในสมัยนั้นว่าคนไทยมาจากไหน 

เมื่อท่านสมัครเข้าร่วมในการขุดค้นกับคณะไทย-เดนมาร์ก ที่ บ้านเก่า จ.กาญจนบุรี ใน พ.ศ. 2504,2505 ท่านมีโอกาสได้เห็นเครื่องมือเครื่องใช้ขณะร่วมขุดค้น และเห็นว่าเครื่องมือเครื่องใช้เหล่านั้นทำให้เข้าใจวัฒนธรรมของบุคคลที่เป็นเจ้าของได้เป็นอย่างดี และท่านยังได้พานักศึกษาเข้าไปร่วมขุดค้นแหล่งโบราณคดีในกาญจนบุรีอีกในเวลาต่อมา และได้เก็บรวบรวมเศษเครื่องมือเครื่องใช้ที่ชำรุดหรือที่ชาวบ้านบริจาค นำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน จนในที่สุดนำวัตถุที่ขุดพบมาจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ โดยไม่ได้ตั้งใจจะจัดแสดงแบบสวยงามเพื่อดึงดูดผู้คนแบบพิพิธภัณฑ์ทั่วไป หากแต่เพื่อให้เป็นที่ศึกษาของนักศึกษาแพทย์ นักศึกษาโบราณคดี และผู้ที่สนใจ

แรกทีเดียวพิพิธภัณฑ์เรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์สุด แสงวิเชียร ใช้เรือนไม้ที่เป็นที่ประชุมชมรมพุทธศาสตร์เป็นที่จัดแสดง และมีการโยกย้ายสถานที่กันอีกหลายครั้ง จนในที่สุดใช้บริเวณชั้นล่างของตึกกายวิภาคศาสตร์เป็นที่จัดแสดงจนถึงปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเปิดและทอดพระเนตรในวันที่ 24 กันยายน 2515 

เรื่องราวหลัก ๆ ที่จัดแสดงคือ วิวัฒนาการของมนุษย์ และเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเล่าเรื่องผ่านทั้งภาพวาด ภาพถ่าย ส่วนต่าง ๆ ของโครงกระดูกมนุษย์ ตัวอย่างเครื่องมือ เครื่องใช้ ที่ขุดพบ หุ่นจำลอง เป็นต้น ในส่วนการจัดแสดงเกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์ จัดแสดงชิ้นหล่อฟันของลิงใหญ่ที่ใกล้เคียงมนุษย์ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจวิวัฒนาการของฟัน หุ่นจำลองครอบครัวมนุษย์ออสโตรปิธิคัส (Austropithecus) วิวัฒนาการของมันสมองและการใช้หินมากะเทาะทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ระยะแรก กระโหลกและภาพถ่ายของมนุษย์ปัจจุบันที่แบ่งตามสีผิว ได้แก่ คนผิวขาว ผิวดำ และผิวเหลือง

อาจกล่าวได้ว่าที่นี้เป็นที่แห่งเดียวในประเทศไทยที่มีเครื่องมือหินครบถ้วนทุกสมัย โดยจัดแสดงแบ่งตามยุค ได้แก่ ยุคหินเก่า หินกลาง หินใหม่ โลหะ หลังสมัยโลหะ และย่างเข้าสมัยทวารวดี เพื่อต้องการให้ผู้ชมศึกษาและเห็นถึงการสืบต่อของวัฒนธรรมในการทำเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ และภาชนะดินเผา นอกจากนี้ยังจัดแสดงโลงผีแมนจากถ้ำเรือ ต.บ้านเก่า กาญจนบุรี หุ่นจำลองแสดงการทำเครื่องมือ เครื่องใช้ ในสมัยหินใหม่ในประเทศไทย และผลงานวิจัย และข้อเขียนของท่านศ.นพ. สุด แสงวิเชียร

เรื่องราวที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ค่อนข้างเป็นศาสตร์เฉพาะทาง ป้ายอธิบายมีศัพท์เทคนิคอยู่ไม่น้อย การเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดในพิพิธภัณฑ์คงไม่ใช่เรื่องง่าย หากแต่มีข้อสงสัยหรือมีประเด็นที่สนใจ เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ยินดีที่จะตอบคำถามให้ความกระจ่างแก่ทุกท่าน

ข้อมูลจาก:

การสำรวจภาคสนาม วันที่ 17 พฤษภาคม 2549

สุด แสงวิเชียร. ประวัติพิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, 2515.

ชื่อผู้แต่ง:
-