ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) เป็นศูนย์ข้อมูลความรู้ทางด้านมานุษยวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ วัฒนธรรม และความรู้ท้องถิ่นของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำหน้าที่เก็บรวบรวมบันทึกความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ สนับสนุนการสร้างความรู้ใหม่ทางด้านมานุษยวิทยาและสาขาที่เกี่ยวข้องสู่สารธารณะ นอกจากนี้ยังให้บริการความรู้ผ่านฐานข้อมูลออนไลน์ในประเด็นต่าง ๆ เช่น จารึก เอกสารโบราณ พิพิธภัณฑ์เป็นต้น ภายในอาคารมีพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการให้บริการกับสาธารณะ ได้แก่ ห้องนิทรรศการสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่ทำในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการออนไลน์นำเสนอเรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับมานุษยวิทยา สังคม และมรดกวัฒนธรรม อาทิ ชาติพันธุ์วิทยาทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของอุษาคเนย์ (แบบสุ่มเลือก) 10 คนทำพิพิธภัณฑ์ บันทึกประสบการณ์และการทำงาน คน-ไซเบอร์-ดิจิทัล

ที่อยู่:
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร 20 ถ.บรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์:
0-2880-9429
วันและเวลาทำการ:
8.00-17.00 น. ทุกวัน หยุดวันนักขัตฤกษ์ (ต้องการผู้นำชม แจ้งล่วงหน้า 1 เดือน)
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
database@sac.or.th
ปีที่ก่อตั้ง:
2534
ของเด่น:
ห้องพระราชประวัติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ห้องจัดแสดงเครื่องปั้นดินเผาในประเทศไทย, งานจดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
จัดการโดย:

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่ทำในประเทศไทย

ชื่อผู้แต่ง: ศรัณย์ ทองปาน | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: วารสารเมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ระดมคิด-ฟื้นฟู พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น

ชื่อผู้แต่ง: นงนวล รัตนประทีป | ปีที่พิมพ์: 22-02-2552

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

         ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เป็นศูนย์ข้อมูลความรู้ทางด้านมานุษยวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ วัฒนธรรม และความรู้ท้องถิ่นของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำหน้าที่เก็บรวบรวมบันทึกความรู้ในรูปแบบต่างๆ สนับสนุนการสร้างความรู้ใหม่ทางด้านมานุษยวิทยาและสาขาที่เกี่ยวข้องสู่สารธารณะ และเผยแพร่ผลงานการค้นคว้าให้แก่ประชาชนทั่วไป

          มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ริเริ่มโครงการก่อตั้งศูนย์ขึ้นใน พ.ศ. 2532 เพื่อเฉลิมฉลองวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเจริญพระชนมายุ 36 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงวางศิลาฤกษ์อาคารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2534 จึงถือวันดังกล่าวเป็นวันก่อตั้ง และได้เสด็จฯ ทรงเปิดศูนย์ฯ อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2542 และต่อมาใน พ.ศ. 2543 ได้เปลี่ยนฐานะเป็นองค์การมหาชน ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐรูปแบบใหม่ ในกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
 
แหล่งเรียนรู้ในศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ประกอบไปด้วย

·         ห้องพระราชประวัติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ตั้งอยู่ที่ชั้น 2  จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เผยแพร่พระอัจฉริยภาพ และพระราชกรณียกิจด้านมานุษยวิทยาของพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็น “เจ้าฟ้านักมานุษยวิทยา” ห้องพระราชประวัติฯ ได้ปรับปรุงนิทรรศการใหม่ ในปี พ.ศ.2558 ภายในจัดส่วนการแสดงเป็น 5 ส่วน ได้แก่

1. พระราชจริยวัตรของนักการศึกษา ต้นทางเจ้าฟ้านักมานุษยวิทยา” จัดแสดงพระฉายาลักษณ์ด้วยเทคนิคสื่อผสม เพื่อแสดงให้เห็นถึงพระราชจริยวัตรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

2. “ห้องทรงงานคือหมู่บ้านและพสกนิกร” เล่าเรื่องหัวใจในการทำงานด้านมานุษยวิทยาของพระองค์คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

3. “ตามรอยเสด็จ “เส้นทางไท” ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” จัดแสดงพระฉายาลักษณ์ และวัตถุสิ่งทางวัฒนธรรม นำบางส่วนของพระราชนิพนธ์มาเล่าเรื่อง ที่สะท้อนให้เห็นถึง “รากไท” สายใยวัฒนธรรมร่วมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

4. “มานุษยวิทยาในมรรคาเจ้าฟ้าสิรินธร” ด้วยพระราชปณิธานและพระราชจริยวัตรของพระองค์ที่ทรงให้ความสำคัญกับงานด้านมานุษยวิทยา สังคม วัฒนธรรม และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ โบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะ จึงทรงมีพระราชปรารถว่า ประเทศไทยควรมีศูนย์ข้อมูลด้านนี้ เพื่อให้บริการแก่นักวิชาการและผู้สนใจทั่วไป จึงก่อกำเนิดเป็น “ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร” ขึ้น มีหน้าที่จัดเก็บข้อมูลทางสังคมวัฒนธรรมด้านต่างๆ ในรูปแบบฐานข้อมูลออนไลน์

5. “ร้อยตระการ ร้อยแสง แห่งศาสตร์ศิลป์”  เป็นส่วนจัดแสดงผลงานส่วนพระองค์ทั้งพระราชนิพนธ์ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ ผลงานศิลปะส่วนพระองค์
คลิกชมห้องพระราชประวัติออนไลน์

·         พิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่ทำในประเทศไทย

         ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 จัดแสดงโบราณวัตถุที่ทำด้วยดินเผาที่ค้นพบในประเทศไทย เนื่องจากเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญในการศึกษาแหล่งโบราณคดีและเมืองโบราณในประเทศไทย เพื่อให้ทราบถึงวิถีชีวิตและพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนในอดีต รวมทั้งเข้าใจถึงพัฒนาการของเครื่องปั้นดินเผา ที่ปรับเปลี่ยนไปตามรูปแบบวัฒนธรรมและเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น พร้อมตัวอย่างการศึกษาเปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ และเทคนิคการผลิต เช่น ภาชนะดินเผา ตุ๊กตาดินเผา พระพิมพ์ดินเผา

คลิกชมนิทรรศการห้องเครื่องปั้นดินเผาในประเทศไทยออนไลน์

·         นิทรรศการพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมในประเทศไทย

          เดิมตั้งอยู่บริเวณชั้น ปัจจุบันพื้นที่ปิดให้บริการ และจัดทำเป็นนิทรรศการออนไลน์แทน โดยนิทรรศการออนไลน์แสดงเรื่องราวยุคก่อนประวัติศาสตร์ ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ตำนานต้นกำเนิด พัฒนาการของตัวอักษร และแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย

คลิกชมนิทรรศการพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมในประเทศไทยออนไลน์

·         นิทรรศการชาติพันธุ์วิทยาทางโบราณคดี

          เดิมตั้งอยู่บริเวณชั้น 8 ปัจจุบันพื้นที่ปิดให้บริการ และจัดทำเป็นนิทรรศการออนไลน์แทน โดยนิทรรศการออนไลน์นำเสนอภาพจำลองวิถีชีวิต สังคม และวัฒนธรรมของชุมชนโบราณในอดีต จากการศึกษาโบราณวัตถุและวัตถุทางวัฒนธรรม นิทรรศการแบ่งการนำเสนอเป็น 3 หัวข้อ ได้แก่
1. ภาชนะดินเผาในพิธีกรรมฝังศพที่บ่งบอกความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์
2. เทคโนโลยีพื้นฐานก่อนการเกิดเป็นรัฐ
3. การตั้งถิ่นฐานและการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม
คลิกชมนิทรรศการชาติพันธุ์วิทยาทางโบราณคดีออนไลน์

·          ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

         เป็นห้องสมุดเฉพาะทางมานุษยวิทยาและสาขาที่เกี่ยวข้อง ตั้งอยู่ชั้น 7 ให้บริการทั้งหนังสือภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ทางมานุษยวิทยา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) และสื่อสารสนเทศต่างๆ อาทิ ภาพยนตร์ชาติพันธุ์ สารคดีทางมานุษยวิทยา เป็นต้น

          นอกจากนี้ยังให้บริการความรู้ผ่านฐานข้อมูลออนไลน์ในประเด็นต่างๆ อาทิ จารึก  เอกสารโบราณ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น แหล่งโบราณคดี ฯลฯ  คลิกเข้าชมฐานข้อมูลออนไลน์

และมีกิจกรรมาทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะอีกมากมาย อาทิ งานประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา เสวนาวิชาการ อบรมเชิงปฏิบัติการ


ข้อมูลจาก:
จุฑามาศ ลิ้มรัตนพันธ์. (2559) “ห้องพระราชประวัติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” จดหมายข่าวศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), เมษายน – มิถุนายน: 32-33.
แผ่นพับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)
แผ่นพับห้องพระราชประวัติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
แผ่นพับพิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่ทำในประเทศไทย

 

ชื่อผู้แต่ง:
วริสรา แสงอัมพรไชย